7 วิธีทำให้ลูกค้าชำระเงินตรงเวลา

สิ่งที่น่ากลัวที่สุดสำหรับผู้ประกอบการรายเล็กๆ เจ้าของกิจการร้านค้า ก็คือ “การขาดเงินหมุนเวียนในมือ” หรือกระแสเงินสด หากคุณทำธุรกิจขายปลีกประเภทได้เงินก่อน แล้วส่งสินค้าทีหลัง ก็คงพอจะเบาใจไปได้ระดับหนึ่ง

แต่หากเป็นธุรกิจที่ต้องให้เครดิตลูกค้าแล้ว ความเสี่ยงก็จะมีเพิ่มขึ้นทีเดียว โดยเฉพาะลูกค้าไม่ชำระเงินเข้ามา หรือชำระช้าเกินกำหนด เพราะกระแสเงินสดในองค์กร ถือเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดของการอยู่รอดสำหรับเจ้าของธุรกิจรายย่อยเลยทีเดียว

วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com ขอนำเสนอ 7 วิธีง่ายๆ ที่จะทำให้ลูกค้า หรือลูกหนี้ ชำระเงินให้กับคุณตรงเวลา เพื่อให้ผู้ประกอบการ เจ้ากิจการ พ่อค้าแม่ค้า นำไปเป็นแนวทางในการบริหารธุรกิจ หรือกิจการให้อยู่รอด เติบโตคับ

เจ้าของกิจการร้านค้า

1.มอบยื่นส่วนลดให้ถ้าจ่ายเงินตรงเวลา

กระตุ้นให้ลูกค้าชำระค่าสินค้าบริการเร็วขึ้นด้วยการเสนอส่วนลดราคาให้ โดยมีเงื่อนไขว่าต้องชำระเงินก่อนเวลาที่กำหนดเท่านั้น อาจใช้การเขียนข้อความให้โดดเด่น สะดุดตา หรือไฮไลท์ข้อความเงื่อนไขส่วนลดเหล่านี้ ลงไปในสัญญาหรือใบแจ้งหนี้ด้วย เพื่อให้ลูกค้ามองเห็นได้เด่นชัด

โดยปกติแล้วลูกค้าส่วนมากมีแนวโน้มที่จะคว้าโอกาสเหล่านี้ เพราะผลประโยชน์ตกเป็นของฝั่งลูกค้าเองอย่างเห็นได้ชัด บางทีการยอมเสียเงินส่วนน้อยเป็นค่าส่วนลดให้กับลูกค้า เพื่อได้เงินก้อนมาเพื่อไปหมุนเวียน หรือนำไปลงทุนอย่างอื่นอาจทำให้เราได้ผลประโยชน์มากกว่าที่คิด

2.เพิ่มช่องทางการชำระเงินให้หลากหลาย

สมมุติว่าเงื่อนไขคุณ รับแต่เงินสด หรือเช็ค บางทีอาจทำให้ลูกค้ายุ่งยากในการจ่ายเงิน การเพิ่มช่องทางการจ่ายเงิน มีส่วนช่วยให้ลูกค้าโอนได้ง่ายขึ้น เช่น โอนทางออนไลน์ เครดิตการ์ด ทางมือถือ พวกแอพพลิเคชั่นต่างๆ ตลอดจนมีบัญชีธนาคารหลายๆ ธนาคารหน่อยก็ดี จะเพิ่มความสะดวกสบายให้ลูกค้า

mo5

3.ต่อรองถ่วงเวลางานให้เสร็จช้าลง

นี่เป็นข้อที่สามารถทำได้ยากในสถานการณ์จริง แต่เมื่อไรที่เราพบว่างานที่ลูกค้าสั่งหรือกระบวนการขายได้ดำเนินมาถึงครึ่งทาง แต่ลูกค้าชำระหนี้ได้ช้าหรือไม่ตรงตามที่ตกลงไว้ เราก็ควรหยุดสิ่งที่เราทำอยู่ก่อนชั่วคราว พร้อมกับยืนกรานว่าต้องได้รับเงินตามที่ตกลงกันไว้ก่อนเราจึงจะดำเนินการต่อจนเสร็จสิ้น

วิธีนี้จะช่วยเพิ่มความกดดันและทำให้เราถือไพ่เหนือกว่าอย่างเห็นได้ชัด แต่ถึงแม้ว่าวิธีถ่วงเวลางานนี้จะเป็นวิธีการแก้ปัญหาที่เด็ดขาดและมีประสิทธิภาพ แต่การต่อรองด้วยผลประโยชน์ของลูกค้าก็ถือว่าเป็นเรื่องละเอียดอ่อน

ถ้าหากต่อรองไม่ดีก็อาจทำให้เสียความรู้สึกและลามไปถึงขั้นเสียความสัมพันธ์กับลูกค้าที่สั่งสมกันมาเลยก็ได้ ดังนั้นก่อนจะตัดสินใจใช้วิธีนี้ก็ควรลองใช้วิธีอื่นดูก่อน ถ้าหากวิธีอื่นใช้ไม่ได้ผลและลูกค้าแสดงอาการว่าจะเอาเปรียบเราอย่างเห็นได้ชัด วิธีการจัดการขั้นเด็ดขาดเช่นนี้ก็อาจจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด

4.ทวงน้อยๆ แต่ทวงบ่อยๆ

เมื่อไรก็ตามที่เราออกใบแจ้งหนี้โดยมียอดรวมเป็นจำนวนเงินมากๆ จะสังเกตได้ว่าหนี้ก้อนนั้นมักจะชำระกลับมาช้ากว่าปกติ ลูกค้าบางรายมักจะจ่ายเงินคืนนานกว่า 30 วันเมื่อต้องชำระหนี้เป็นแสน แต่ถ้าเราแบ่งแจ้งหนี้ทีละ 20,000 – 30,000 บาท มักจะได้รับเงินคืนใกล้เคียงกับเวลาที่กำหนดกว่ามากๆ

จึงเป็นหน้าที่ของเราที่ต้องวิเคราะห์และหาจำนวนเงินที่แน่นอนว่า เราต้องกำหนดใบแจ้งหนี้ให้กับลูกค้าแต่ละรายสักเท่าไรที่จะทำให้ลูกค้าเหล่านั้นคืนเงินได้ตรงเวลาที่สุด และใช้วิธีแบ่งจ่ายในจำนวนเงินเท่านั้นเป็นงวดๆ แทน

mo4

5.พูดคุยกับลูกค้าเรื่องการชำระหนี้

การพูดคุยกับลูกค้าเพื่อปรับความเข้าใจเรื่องรายละเอียดในงาน รวมถึงเพื่อรักษาความสัมพันธ์เป็นเรื่องที่สำคัญ แต่บางครั้งเราก็กลับมองข้ามการพูดคุยไปอย่างน่าเสียดายเมื่อเป็นเรื่องของการทวงหนี้

ลองเริ่มต้นสนทนากับลูกค้าเกี่ยวกับระบบเจ้าหนี้-ลูกหนี้ตั้งแต่เริ่มต้นทำธุรกิจด้วยกัน ว่าถ้าซื้อขายกับเราจะมีการกำหนดเงื่อนไขต่างๆ อย่างไรบ้าง ไม่ว่าจะเป็นวันที่ชำระอัตราดอกเบี้ยเมื่อชำระหนี้ช้ากว่ากำหนด หรือส่วนลดเมื่อลูกค้าจ่ายก่อน

ทั้งนี้คุณอาจพูดตรงๆ กับลูกค้าว่า ในการทำธุรกิจเราก็มีเจ้าหนี้ที่ต้องชำระเหมือนกัน ถ้าหากลูกค้าชำระเงินจากเราช้าแล้วจะมีผลกระทบอะไรต่อการทำงานบ้าง ซึ่งลูกค้าที่ดีส่วนมากก็จะเข้าใจและพร้อมปฏิบัติตามเงื่อนไขที่เรากำหนดไว้แต่แรกเพื่อความสัมพันธ์ทางธุรกิจที่ดี

6.ใช้ระบบการวางเงินมัดจำ

ในบางกรณีลูกค้าบางกลุ่มที่คุณทำงานให้ไปแล้วกว่า 50% แต่ยอดเงินที่ควรจะต้องชำระตามกำหนดก็ยังคงไร้วี่แวว ถ้าเป็นอย่างนี้ คงจะต้องชะลองานผลิตของลูกค้ารายนี้ไปก่อน และก็แจ้งกลับทางลูกค้าไปเลยว่าจะต้องจ่ายล่วงหน้า หรือ จ่ายเงินส่วนที่เหลือมาก่อน ไม่อย่างนั้นก็คงจะผลิตให้ต่อไม่ได้ วิธีนี้จะเป็นตัวช่วยกดดันให้ลูกค้าเร่งการชำระเงินมาให้คุณ

แต่ในอีกแง่หนึ่งที่งัดเอาเรื่องถ่วงเวลาผลิตสินค้าก็ออกจะแรงไปบ้าง การใช้วิธีทวงเงินรูปแบบนี้ อาจส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ทางการค้าได้ คุณควรเก็บไว้เป็นทางเลือกสุดท้ายเมื่อวิธีการอย่างอื่นใช้ไม่ได้ผลแล้ว

mo3

7.พยายามเข้าถึงผู้มีอำนาจจ่ายเงิน

ถ้าหากคุณเจอกรณีลูกค้ารายที่ไม่ได้ชำระเงิน แต่ว่าส่งสินค้าไปให้แล้ว หรือทำงานให้เสร็จแล้ว พอตามเรื่องไปที่คนสั่งซื้อ คนสั่งซื้อ แต่ต้องผ่านเรื่องไปยังผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ คุณอาจต้องตามเรื่องไปยังผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ

ถ้าฝ่ายจัดซื้อบอกว่าส่งเรื่องยอดค้าชำระไปอยู่ที่ผู้จัดการฝ่ายบัญชีแล้ว ต่อไปคุณต้องตามไปที่ผู้จัดการฝ่ายบัญชี ลูกค้าหลายๆ บริษัท อาจมีขั้นตอนยุ่งยากหน่อย เพราะต้องให้เจ้านายเซ็นอนุมัติ แต่คุณก็ต้องพยายามโทรทวงถามบ่อยๆ อาจจะได้เงินเร็วขึ้น

ทั้งหมดเป็นวิธีการทำให้ลูกค้าชำระเงินตรงเวลา เรียกได้ว่าเป็นการทวงหนี้ก็ว่าได้ เพราะการได้เงินมาหมุนเวียนในกิจการของคุณ จะช่วยให้ธุรกิจอยู่รอดได้ ผู้ประกอบการธุรกิจ เจ้าของกิจการสามารถนำวิธีการเหล่านี้ไปปรับใช้ได้นะครับ

อ่านบทความ SMEs goo.gl/vM1jdW


Tips

  1. มอบยื่นส่วนลดให้ถ้าจ่ายเงินตรงเวลา
  2. เพิ่มช่องทางการชำระเงินให้หลากหลาย
  3. ต่อรองถ่วงเวลางานให้เสร็จช้าลง
  4. ทวงน้อยๆ แต่ทวงบ่อยๆ
  5. พูดคุยกับลูกค้าเรื่องการชำระหนี้
  6. ใช้ระบบการวางเงินมัดจำ
  7. พยายามเข้าถึงผู้มีอำนาจจ่ายเงิน

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช