6 เทคนิคเซ้งกิจการไม่ให้สูญเงินเปล่า สร้างยอดขายปังๆ
ปัจจุบันการทำธุรกิจ ถ้าใครไม่อยากสร้างธุรกิจขึ้นมาใหม่ด้วยตัวเอง เพราะเสียเวลาลองผิดลองถูก ส่วนใหญ่ก็จะซื้อแฟรนไชส์ ซึ่งเป็นทางเลือกที่ได้รับความนิยมอย่างมาก แต่ก็มีอีกตัวเลือกหนึ่งที่ได้รับความนิยมเช่นกัน ก็คือ “เซ้งกิจการ”
สำหรับการเซ้งกิจการ ก็คือ การเปลี่ยนเจ้าของธุรกิจ เป็นการเปลี่ยนจากเจ้าของเดิมที่ทำกิจการอยู่แล้ว ซึ่งมีการเช่าพื้นที่ตั้งกิจการจากเจ้าของพื้นที่ ให้มาเป็นกรรมสิทธิ์การดำเนินกิจการ โดยเจ้าของใหม่ซึ่งได้มีการทำสัญญาเช่าใหม่
โดยสิ่งที่ผู้เซ้งจะได้รับในการเซ้งกิจการต่อจากเจ้าของเดิม นอกเหนือไปจากตัวธุรกิจ ก็คือ ทำเล องค์ความรู้ในการทำธุรกิจ วัสดุอุปกรณ์ใช้ในธุรกิจ หน้าร้าน ฐานลูกค้าเก่า รวมไปถึงกรรมสิทธิ์ในชื่อแบรนด์ ชื่อร้าน เป็นต้น
แล้วเทคนิคการเซ้งกิจการหรือร้านไม่ให้สูญเงินเปล่า ทำอย่างไร วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com มีข้อมูลจากแหล่งต่างๆ จะมานำเสนอให้ทราบครับ
1.กิจการมีสัญญาเช่าหรือไม่
ภาพจาก bit.ly/2lVlJh8
หากเป็นกิจการที่มีสัญญาเช่า หรือต้องเช่าพื้นที่ ควรจะมีสัญญาเช่าที่ชัดเจน และต้องสามารถเปลี่ยนชื่อผู้เช่าในสัญญาได้ หากธุรกิจที่คุณจะเซ้งเป็นเช่นนั้น คุณก็วางใจได้ว่าคุณจะไม่สูญเงินเปล่า
แต่หากเป็นธุรกิจที่ไม่มีสัญญาเช่า ถ้าคุณเจอกิจการแบบนี้ คุณตกอยู่ในความเสี่ยงตลอดเวลา เพราะถ้าเจ้าของพื้นที่ตรวจพบหรือเปลี่ยนนโยบายใหม่ คุณก็อาจะออกจากพื้นที่ได้ทุกเมื่อ ดังนั้น ต้องศึกษาสัญญาเช่าให้ดี
2.ค่าใช้จ่ายในสัญญาเช่า คุ้มหรือไม่คุ้ม
ภาพจาก bit.ly/2lD6B83
ระยะเวลาสัญญาเช่า ถือว่าสำคัญมาก คุณควรจะดูและคำนวณให้ละเอียด เพราะมันคือต้นทุนแรกสุด ที่คุณจะตัดสินว่าถ้าเซ้งแล้วจะคุ้มหรือไม่ โดยคุณควรจะนำเอาค่าเซ้งมารวมกับค่าเช่าต่อเดือน
เพื่อคำนวณ โดยนำจำนวนเดือนที่เหลือในสัญญาเช่าจากเจ้าของที่จริงมาคำนวณ แล้วคุณก็จะได้ต้นทุนหลักแต่ละเดือนว่า จะต้องเสียเท่าไร แต่อย่าลืมว่าต้นทุนคุณ ไม่ได้มีแค่เรื่องนี้อย่างเดียว ยังมีค่าอย่างอื่นอีก ถ้าต้นทุนแรกไม่คุ้มแล้ว คุณก็ไม่ควรเซ้งกิจการนั้นๆ
3.มีค่าเปลี่ยนชื่อในสัญญาเช่าหรือไม่
ภาพจาก bit.ly/2klKRNU
ถือเป็นต้นทุนอีกรายการเช่นกัน ควรจะเช็คเสียก่อนว่า หากต้องเปลี่ยนชื่อในสัญญาเช่า จะมีค่าใช้จ่ายหรือไม่ ถ้ามีค่าเปลี่ยนคิดราคาเท่าไร และใครเป็นคนรับผิดชอบระหว่างผู้ไปเซ้ง หรือผู้ให้เซ้งกิจการ
4.ตรวจวัสดุอุปกรณ์ในร้านที่จะได้จากการเซ้ง
ภาพจาก bit.ly/2lCge77
บางกรณีการเซ้งกิจการ อาจเป็นการเซ้งแบบรวมมูลค่าของอุปกรณ์ในร้านด้วย ก่อนจะเซ้งควรตรวจดูว่า อุปกรณ์จะได้รับราคาเท่าไร มีสภาพการใช้งานอย่างไร มีความจำเป็นสำหรับกิจการของคุณหรือไม่
ควรแยกแต่ละรายการอย่างละเอียดว่า อะไรใช้ได้ อะไรไม่ได้ใช้ และอะไรที่ขาด เพราะสิ่งเหล่านี้รวมอยู่ในต้นทุนเช่นกัน ยิ่งเซ้งกิจการพร้อมอุปกรณ์ในสภาพดี ถือว่าเป็นการลดต้นทุนการเริ่มธุรกิจของคุณได้อีกทาง แถมไม่เสียเวลาไปซื้อใหม่อีกด้วย
5.ค่าใช้จ่ายองค์ความรู้ในกิจการ
ภาพจาก bit.ly/2kxYt8y
การเซ้งกิจการ อาจจะรวมค่าความรู้ด้วย เช่น สูตรอาหาร สูตรน้ำ สูตรขนม หากคุณคิดว่าความรู้นั้นเป็นความรู้เฉพาะ หรือต้องใช้เวลาศึกษามันก็คุ้มค่าที่จะจ่าย แต่หากเป็นความรู้ที่คุณมีอยู่แล้ว หรือหาง่าย คุณอาจเลือกไม่เรียนเพื่อต่อรองราคาได้
6.ลงสำรวจร้านหรือสถานที่จริง
ภาพจาก bit.ly/2lC8q58
ถือว่าสำคัญหากคุณตัดสินใจเซ้งกิจการต่อ คุณต้องไปสำรวจพื้นที่ร้านหลายๆ ครั้ง เพราะมันคืออนาคตของกิจการ การลงพื้นที่จะทำให้คุณได้รู้ว่าสภาพกิจการเป็นอย่างไร บรรยากาศ สภาพแวดล้อมเป็นอย่างไร ลูกค้าเยอะไหม ยอดขายดีไหม และควรจะสุ่มดูหลายๆ ช่วงเวลาเพื่อดูช่วงคึกคักและช่วงคนเงียบ เพื่อประกอบการตัดสินใจและที่สำคัญอย่าไปให้เจ้าของรู้ตัว
หลายคนทราบอยู่แล้วว่า การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้สนใจลงทุนควรศึกษาก่อนตัดสินใจ การเซ้งกิจการก็เป็นการลงทุนอย่างหนึ่ง ที่ผู้ที่คิดจะเซ้ง ต้องศึกษาข้อมูลให้รอบคอบก่อนตัดสินใจ หากใจร้อน ไฟแรง ศึกษาไม่รอบคอบแล้วรีบเซ้ง คุณอาจจะไปคว้ากิจการที่เน่าและกำลังจะเจ๊งมารับช่วงต่อ ถ้าคุณไปเซ้งเอากิจการแบบนั้นมา อาจต้องเจ๊งตั้งแต่เริ่มต้นก็ได้
สำหรับผู้ประกอบการ เจ้าของร้านค้า ที่กำลังมองหาทำเลในการเปิดร้านทั่วไทย ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://bit.ly/2YZvM3a
คุณผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
อ่านบทความอื่นๆ จากไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ www.thaifranchisecenter.com/document
เลือกซื้อแฟรนไชส์ไทยขายดี เปิดร้าน www.thaifranchisecenter.com/directory/index.php
SMEs Tips
- กิจการมีสัญญาเช่าหรือไม่
- ค่าใช้จ่ายในสัญญาเช่า คุ้มหรือไม่คุ้ม
- มีค่าเปลี่ยนชื่อในสัญญาเช่าหรือไม่
- ตรวจวัสดุอุปกรณ์ในร้านที่จะได้จากการเซ้ง
- มีค่าใช้จ่ายองค์ความรู้ในกิจการ
- ลงสำรวจร้านหรือสถานที่จริง
อ้างอิงข้อมูล
แหล่งข้อมูลบทความจาก https://bit.ly/3qr9Uwr