6 เทคนิค เปลี่ยนแฟรนไชส์ธรรมดาให้ทำเงิน

เจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์ที่รู้สึกว่าธุรกิจของตัวเองขยายสาขาได้น้อย ทำเงินได้ยาก ไม่ค่อยมีคนสนใจติดต่อเข้ามาซื้อแฟรนไชส์มากนัก จนถึงขั้นบางสถานการณ์จำเป็นต้องลงทุนขยายสาขาด้วยตัวเอง ถ้าอยาก เปลี่ยนแฟรนไชส์ธรรมดา ของตัวเองให้เป็นแฟรนไชส์ขายดีและทำเงินอย่างต่อเนื่อง วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะแนะนำแนวทางให้ครับ

1.ปรับโมเดลธุรกิจแฟรนไชส์ใหม่

เปลี่ยนแฟรนไชส์ธรรมดา

ไม่ว่าจะเป็นการปรับรูปแบบของร้าน การตกแต่งร้าน โทนสี ขนาดพื้นที่ ทำเลพื้นที่ในการเปิดร้าน ฐานกลุ่มลูกค้า ช่องทางการจำหน่ายสินค้า เงินลงทุน การแต่งกาย และอื่นๆ ซึ่งโมเดลเหล่านี้จะต้องปรับเปลี่ยนใหม่เพื่อให้ภาพลักษณ์ดีขึ้น เข้าถึงกลุ่มลูกค้าและผู้ที่สนใจซื้อแฟรนไชส์ได้ง่ายมากขึ้น ยกตัวอย่างกรณี “เขียง” ได้ปรับโมเดลแฟรนไชส์ให้มีขนาดเล็กลง ใช้เงินลงทุนต่ำลง ทำให้ขยายสาขาได้รวดเร็วขึ้น และทำเงินเข้าบริษัทได้อย่างต่อเนื่อง

2.ยกระดับมาตรฐานแบรนด์สูงขึ้น

5

คุณภาพมาตรฐานของแบรนด์แฟรนไชส์มีส่วนสำคัญในการดึงดูดผู้ซื้อแฟรนไชส์ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องคุณภาพสินค้าและบริการ การแต่งกายพนักงาน การให้บริการของพนักงาน รสชาติอาหารหรือเครื่องดื่ม เวลาเปิด-ปิดร้าน ความสะอาดของร้าน บรรยากาศร้าน ทำเลที่ตั้งในการเปิดร้าน ตลอดจนรูปแบบโมเดลร้าน ซึ่งองค์ประกอบเหล่านี้จะต้องเป็นมาตรฐานเดียวกันทุกสาขา หรือถ้าเป็นแฟรนไชส์รถเข็นข้างทางลงทุนต่ำหลักหมื่น ก็อาจยกระดับมาตรฐานไปเป็นร้านแบบ Stand Alone ใหญ่ขึ้น ปรับโครงสร้างการลงทุนแฟรนไชส์ต่อร้านให้สูงหลักแสนหลักล้านบาท ก็จะสามารถสร้างรายได้เพิ่มขึ้น

3.วางระบบธุรกิจให้มีรายได้ชัดเจน

4

แฟรนไชส์จะขายดีและดึงดูดผู้ซื้อแฟรนไชส์ได้จะต้องมีจำนวนยอดขายและรายได้ที่ชัดเจน เช่น จำนวนยอดขายต่อวัน หรือต่อเดือน ซึ่งการที่จะทำให้รายได้ชัดเจนถึงเป้าที่ตั้งไว้ เจ้าของแบรนด์แฟรนไชส์จะต้องทำการวิเคราะห์ทำเลในการเปิดร้าน จำนวนประชากรในพื้นที่ กำลังซื้อของคนในพื้นที่ด้วย ยกตัวอย่างแฟรนไชส์คาเฟ่ อเมซอน คนที่ซื้อแฟรนไชส์จะต้องมีพื้นที่ขอจัดตั้งร้านต้องอยู่ในบริเวณที่มีคนผ่านไปมาไม่น้อยกว่า 3,000 คนต่อวัน ซึ่งจะขายได้ไม่ต่ำกว่า 250 แก้วต่อวัน

4.กำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายใหม่

3

เมื่อมีการปรับโมเดลร้านรูปแบบใหม่ ไม่ว่าจะร้านเล็กลง หรือร้านใหญ่ขึ้น เจ้าของแฟรนไชส์จะต้องกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจใหม่ จะจำกัดกลุ่มลูกค้าให้แคบลง หรือขยายกลุ่มลูกค้าให้กว้างมากขึ้น ตรงนี้จะต้องขึ้นอยู่กับสินค้าและบริการว่าจะตอบโจทย์กลุ่มลูกค้าได้แบบไหน ถ้าอยากให้ธุรกิจได้รับความนิยมและขายได้ดี ก็ต้องกำหนดฐานลูกค้าทุกเพศทุกวัย สามารถกินและใช้บริการได้หมด ถ้าจะให้ดีต้องสินค้าและบริการต้องอยู่ได้ในทุกตลาดผู้บริโภค

5.งบลงทุนแฟรนไชส์มีความคุ้มค่า

2

การตั้งงบการลงทุนธุรกิจแฟรนไชส์ไม่เกี่ยวกับว่า จะลงทุนสูง หรือลงทุนต่ำ แต่ต้องคำนึงความคุ้มค่าในการลงทุน เช่น 7-Eleven ใช้งบลงทุนประมาณ 2-3 ล้านบาท ระยะสัญญา 10 ปี การันตีรายได้ประมาณ 7-8 หมื่นบาท/วัน ถ้าเปรียบเทียบกับจำนวนในปัจจุบันมากกว่า 13,433 สาขาทั่วประเทศ ก็แสดงให้เห็นว่า 7-Eleven คุ้มค่าในการลงทุนระยะยาว เปิดร้านไปแล้วสามารถสร้างความมั่นคงให้กับตัวเองและครอบครัวได้

6.มีระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี

1

ไม่ว่าจะเป็นการฝึกอบรม การสร้างคู่มือการปฏิบัติงาน การช่วยเหลือในการจัดการก่อนเปิดร้าน และหลังเปิดร้าน การจัดส่งสินค้า-วัตถุดิบ รวมถึงการให้คำแนะนำและแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นให้กับผู้ซื้อแฟรนไชส์ระหว่างการดำเนินธุรกิจ

 

Franchise Tips

  1. ปรับโมเดลธุรกิจแฟรนไชส์ใหม่
  2. ยกระดับมาตรฐานแบรนด์สูงขึ้น
  3. วางระบบธุรกิจให้มีรายได้ชัดเจน
  4. กำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายใหม่
  5. งบลงทุนแฟรนไชส์มีความคุ้มค่า
  6. มีระบบการสนับสนุน

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3Ug2NoX

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise


8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์

1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์

  • กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
  • ชื่อกิจการ (Brand)
  • การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
  • การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
  • การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
  • การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
  • การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
  • การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
  • การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์

2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ

  • ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
  • ระบบการเงิน การบัญชี
  • งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
  • รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
  • ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ

3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
  • แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
  • สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
  • เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
  • มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
  • มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
  • ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี

4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์

  • กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
  • การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
  • สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
  • เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ

5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายแฟรนไชส์
  • ระบบการเงิน
  • ค่าธรรมเนียมต่างๆ
  • ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
  • การจดทะเบียนแฟรนไชส์
  • เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
  • ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
  • การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
  • แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
  • การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
  • การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า

6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น

7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
  • พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
  • ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
  • การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
  • เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
  • จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์

8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์

  • การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
  • กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
  • การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  • การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
  • การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
  • กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
  • กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี

สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

 

 

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช