6 อันดับแฟรนไชส์อาหารฟาสต์ฟู้ดส์ ที่มีสาขามากสุดในโลก

ร้านอาหารที่ได้รับความนิยมจากผู้บริโภคทั่วโลกในช่วงเวลาเร่งรีบ ก็คือ ร้านฟาสต์ฟู้ด ส่วนใหญ่เป็นร้านที่ถูกก่อตั้งขึ้นในสหรัฐอเมริกา ก่อนขยายสาขาแบบแฟรนไชส์ไปประเทศต่างๆ ทั่วโลก หลายๆ แบรนด์มีหลายหมื่นสาขา จนกระทั่งเกิดการระบาดโควิด ทำให้แบรนด์ฟาสต์ฟู้ดชื่อดังต่างๆ ต้องปรับกลยุทธ์ และปิดกิจการบางสาขา วันนี้มาดู อันดับแฟรนไชส์อาหารฟาสต์ฟู้ดส์ ชื่อดังที่หลายๆ คนคุ้นเคย และเคยใช้บริการกันเป็นประจำ มีแบรนด์ใดบ้างที่มีสาขามากที่สุดในโลก

1. McDonald’s (40,801 สาขา)

อันดับแฟรนไชส์อาหารฟาสต์ฟู้ดส์

ภาพจาก https://bit.ly/3XLpx4x

แมคโดนัลด์ถูกก่อตั้งขึ้นโดย 2 พี่น้อง ดิ๊กและแมค เมื่อปี 2491 ร้านแรกเป็นแบบไดร์ฟทรู ในเมืองเล็กๆ รัฐแคลิฟอร์เนีย ต่อมาได้ขายกิจการให้กับ มร.เรย์ คล็อค ส่งผลให้แมคโดนัลด์เติบโตและขยายสาขาได้อย่างรวดเร็ว เพราะมร.เรย์ คล็อค ได้นำเอาระบบแฟรนไชส์มาใช้ดำเนินธุรกิจแมคโดนัลด์ เปิดสาขาแฟรนไชส์แรกที่รัฐอิลลินอยส์ในปี 2498 ถือได้ว่าแมคโดนัลด์เป็นต้นแบบของระบบแฟรนไชส์ทั่วโลก ปัจจุบันแมคโดนัลด์มี 40,801 สาขาใน 100 ประเทศทั่วโลก

สำหรับในไทย แมคโดนัลด์เปิดให้บริการสาขาแรกที่โซโก้ (เกษรอัมรินทร์) เมื่อปี 2528 โดยนายเดช บุลสุข โดยไทยถือเป็นประเทศที่ 35 ของแมคโดนัลด์ในการเข้าไปเปิดตลาด ปัจจุบันมีสาขากว่า 228 แห่งทั่วประเทศ

2. Subway (36,514 สาขา)

อันดับแฟรนไชส์อาหารฟาสต์ฟู้ดส์

ภาพจาก https://bit.ly/3zmQyB9

ซับเวย์เคยเป็นแฟรนไชส์ฟาสต์ฟู้ดที่มีจำนวนสาขามากที่สุดในโลก แต่วันนี้ถูกแมคโดนัลด์แซงไปแล้ว ส่วนหนึ่งมาจากการปรับโครงสร้างธุรกิจทำให้ซับเวย์ต้องปิดสาขาไปบางส่วน โดยซับเวย์ถูกก่อตั้งขึ้นในปี 2508 โดยสองเพื่อนซี้อย่าง Fred DeLuca และ Peter Buck เริ่มแรกเปิดเป็นร้านร้านแซนด์วิชที่ใช้ชื่อว่า “Pete’s Super Submarines” ต่อมาทางร้านเปลี่ยนชื่อเป็น Subway เพื่อให้จดจำได้ง่าย ก่อนขยายสาขาไปประเทศต่างๆ ทั่วโลก

ส่วนในไทย ซับเวย์เข้ามาเปิดตลาดเมื่อปี 2546 โดยบริษัท อะเบาท์ แพสชั่น กรุ๊ป จำกัด แต่ไม่ได้รับความนิยมมากนัก เพราะคนไทยรู้สึกว่าเป็นของราคาแพง ปัจจุบันมี 142 สาขา ก่อนจะขายธุรกิจให้กับบริษัท โกลัค จำกัด ในเครือบริษัท พีทีจี เอ็นเนอยี จำกัด (มหาชน) ตั้งเป้าขยายร้านซับเวย์ 500 สาขาในระยะเวลา 10 ปี

3. KFC (28,475 สาขา)

อันดับแฟรนไชส์อาหารฟาสต์ฟู้ดส์

ภาพจาก https://bit.ly/3L8c3bA

ร้านไก่ทอดเคเอฟซีเปิดสาแรกเมื่อปี 2482 โดยผู้พันแซนเดอร์ ร้านตั้งอยู่ปั้มน้ำมัน เมืองคอร์บิน รัฐเคนทักกี ก่อนขยายสาขาแบบแฟรนไชส์ในปี 2495 ต่อมาได้ขยายสาขาไปทั่วสหรัฐอเมริกา ก่อนขยายสาขาไปประเทศต่างๆ ทั่วโลก จนมีสาขามากถึง 28,475 สาขาในปัจจุบัน

ส่วนในไทย เคเอฟซีเคยเปิดตัวในช่วงปี 2513 ถนนสีลม และปากซอยวัฒนา แต่ปิดตัวหลังสงครามเวียดนามสิ้นสุดลง ต่อมากลุ่มเซ็นทรัลซื้อคืนไปบริหาร เปิดสาขาแรกที่เซ็นทรัลลาดพร้าวในปี 2527 ปัจจุบันเคเอฟซีบริหารโดยแฟรนไชส์ซี 3 ราย คือ 1.บริษัท เดอะ คิวเอสอาร์ ออฟ เอเชีย จำกัด หรือ QSA ในเครือไทยเบฟ 2.บริษัท เซ็นทรัล เรสตอรองส์ กรุ๊ป จำกัด หรือ CRG และ 3.บริษัท เรสเทอรองตส์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด หรือ RD ทั้ง 3 รายบริหารเคเอฟซีในไทยทั้งหมด 953 สาขา

4. Burger King (19,739 สาขา)

อันดับแฟรนไชส์อาหารฟาสต์ฟู้ดส์

ภาพจาก https://bit.ly/3xBuRgh

เบอร์เกอร์คิง คู่แข่งสำคัญของแมคโดนัลด์ในอเมริกา ก่อตั้งปี 2497 ในรัฐไมอามี่ ฟลอริด้า โดยเจมส์ แมคเรมอน และเดวิด เอ็ดเวอร์ตัน ทั้งสองคนเป็นนักศึกษามหาลัย Cornell อยากหารายได้หลังเลิกเรียน ตัดสินใจซื้อแฟรนไชส์ Insta-Burger King ร้านเบอร์เกอร์ของ Matthew Burns และ Keith Kramer คู่ป้าหลาน เป็นร้านเตาย่างขนมปังเบอร์เกอร์กับเนื้อ เปิดดำเนินกิจการมาแล้ว 1 ปี ก่อนจะเปลี่ยนชื่อเป็นเบอร์เกอร์คิงใน 4 ปีต่อมา และขยายสาขาไปประเทศต่างๆ ทั่วโลก

ส่วนในไทย เบอร์เกอร์คิงถูกนำเข้ามาเปิดตลาดเมื่อปี 2543 โดยบริษัทไมเนอร์ ฟู้ด ปัจจุบันขยายสาขาไปแล้วกว่า 125 สาขาใน 3 ประเทศ

5. Pizza Hut (17,996 สาขา)

ภาพจาก https://bit.ly/3Ld3OLb

พิซซ่าฮัทก่อตั้งขึ้นในปี 2501 โดยสองพี่น้องแฟรงค์และเดนคาร์นี ในเมืองวิชิทอ รัฐแคนซัส ต่อมาปี 2502 พิซซ่าฮัทขยายสาขาแบบแฟรนไชส์ เปิดสาขาแรกอยู่ที่เมืองโทพีกา รัฐแคนซัส ก่อนขยายสาขาแฟรนไชส์ไปทั่วสหรัฐอเมริกา ต่อมาในปี 2511 พิซซ่าฮัทขยายสาขาไปต่างประเทศที่แคนาดา ก่อนขยายสาขาไปทั่วโลกในปี 2520

ส่วนในไทยพิซซ่าฮัทเปิดสาขาแรกที่พัทยาในปี 2523 โดยการนำเข้ามาของคุณ William E. Heinecke ผู้ก่อตั้ง บริษัท ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล พิซซ่าฮัทสาขาแรกได้การตอบรับเป็นอย่างดี เพราะมีทหารอเมริกันเข้ามาอาศัยจำนวนมาก เนื่องจากอยู่ในช่วงสงครามเวียดนาม ต่อมา Tricon Global Restaurants เจ้าของสิทธิ์แฟรนไชส์พิซซ่าฮัท เห็นว่าธุรกิจร้านพิซซ่าฮัทในประเทศไทยกำลังขายดี Tricon จึงต้องการเอาพิซซ่าฮัทไปบริหารเอง

ต่อมาเกิดการฟ้องร้องกัน สุดท้ายผู้ชนะ คือ Tricon Global Restaurants เป็นผู้บริหารร้านพิซซ่าฮัทในประเทศไทย หลังจากนั้นคุณ William จึงสร้างแบรนด์พิซซ่าขึ้นมาเอง ชื่อว่า “เดอะ พิซซ่า คอมปะนี” เปิดตัวครั้งแรกในปี 2544

6. Dunkin’ (13,372 สาขา)

อันดับแฟรนไชส์อาหารฟาสต์ฟู้ดส์

ภาพจาก https://bit.ly/4bliWAY

แฟรนไชส์กาแฟ โดนัท เบเกอรี่ ชื่อดังของอเมริกา ก่อตั้งปี 2493 โดย William Rosenberg ชาวอเมริกันเชื้อสายยุโรปตะวันออก เปิดขายแฟรนไชส์สาขาแรกในปี 2498 ที่เมือง Quincy รัฐ Massachusetts ร้านขยายสาขาได้อย่างรวดเร็ว จนกระทั่งในปี 2506 มีจำนวนกว่า 100 สาขา

ตอนแรกใช้ชื่อ Dunkin’ Donuts ก่อนตัดเหลือเพียง Dunkin’ เมื่อช่วง 3-4 ที่ผ่านมา เพราะต้องการเป็นร้านขายมากกว่าโดนัท ต่อมาในปี 2516 เริ่มขยายสาขาสู่ต่างประเทศ โดยสาขาที่ญี่ปุ่นเป็นสาขาแห่งแรกนอกสหรัฐฯ ส่วนในไทย ดังกิ้นเปิดสาขาแรกที่สยามสแควร์ วันที่ 19 ต.ค. 2524 ผู้นำเข้า คือ นายอาจิต รากาฟ ปัจจุบันมีมากกว่า 339 สาขาทั่วประเทศ

นั่นคือ 6 แฟรนไชส์ร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดที่มีสาขามากที่สุดในโลก โดยทั้ง 6 แบรนด์ฟาสต์ฟู้ด มีจุดเริ่มต้นมาจากสหรัฐอเมริกา ก่อนที่จะขยายสาขาในรูปแบบแฟรนไชส์ออกไปประเทศต่างๆ ทั่วโลก ทำให้ธุรกิจเติบโตได้รวดเร็ว

ข้อมูลจาก https://bit.ly/3znQrp5

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์

1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์

  • กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
  • ชื่อกิจการ (Brand)
  • การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
  • การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
  • การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
  • การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
  • การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
  • การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
  • การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์

2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ

  • ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
  • ระบบการเงิน การบัญชี
  • งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
  • รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
  • ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ

3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
  • แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
  • สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
  • เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
  • มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
  • มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
  • ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี

4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์

  • กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
  • การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
  • สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
  • เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ

5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายแฟรนไชส์
  • ระบบการเงิน
  • ค่าธรรมเนียมต่างๆ
  • ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
  • การจดทะเบียนแฟรนไชส์
  • เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
  • ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
  • การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
  • แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
  • การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
  • การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า

6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น

7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
  • พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
  • ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
  • การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
  • เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
  • จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์

8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์

  • การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
  • กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
  • การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  • การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
  • การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
  • กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
  • กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี

สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช