6 วิธีมีกำไรจากสินค้านำเข้า อยากรวยต้องรู้ไว้!
การทำธุรกิจนำเข้า เป็นการลงทุนที่น่าสนใจแต่งานนี้คงไม่ใช่เรื่องง่ายแม้ปัจจุบันจะมีช่องทางออนไลน์ที่เปิดตัวธุรกิจแนวนี้ได้ง่ายขึ้นแต่พูดถึงมูลค่าการซื้อสินค้านำเข้าจากต่างประเทศแล้วจำหน่ายหากต้องการมูลค่าสูงๆ ต้องทำเป็นกิจการที่มีขนาดใหญ่พอสมควรรวมถึงต้องมีเงินทุนและประสบการณ์ที่มากพอสมควร
www.ThaiSMEsCenter.com เห็นว่านี่คือช่องทางที่แม้จะลงทุนมากแต่ก็มีโอกาสเติบโตได้อย่างดีหากเรารู้หลักและแนวทางการทำธุรกิจที่ชัดเจนก็จะทำให้เราเริ่มต้นการลงทุนในธุรกิจนี้ได้ง่ายขึ้นเราจึงมี 6 วิธีทำกำไรจากสินค้านำเข้าที่ใครคิดอยากทำเริ่มเรียนรู้เบื้องต้นไว้ต่อยอดใช้จริงในการลงมือทำได้แน่นอน
1.ต้องรู้จักองค์ประกอบของการทำธุรกิจ
ภาพจาก goo.gl/SOAe7m
ธุรกิจนำเข้าแม้จะดูเป็นเรื่องน่าสนใจและเป็นการลงทุนที่ดูจะมีผลกำไรดีไม่น้อยแต่ก็ใช่ว่าคนที่นึกอยากทำแล้วจะประสบความสำเร็จได้ทั้งหมด ขั้นแรกเราต้องรู้จักองค์ประกอบของธุรกิจนี้ ทั้งในภาคการตลาดว่าเราต้องการขายอะไร
และใครคือลูกค้า ราคาสินค้าบวกกับค่าการตลาดควรตั้งราคาเท่าไหร่ วิธีการทำตลาดให้ลูกค้ารู้จักสินค้าต้องทำอย่างไร และการหาซื้อสินค้าที่ว่านั้นต้องมีวิธีการนำเข้าอย่างไรให้ได้ต้นทุนที่ถูกที่สุด
เมื่อเอาองค์ประกอบเหล่านี้มารวมกันก็ดูจะเป็นเรื่องที่ต้องใช้พาร์ทเนอร์และประสบการณ์ที่มากพอสมควรกับการค้าขายแบบออนไลน์ที่เราเห็นกันนั้นแม้จะเป็นการนำเข้าเหมือนกันแต่สัดส่วนมูลค่าก็ต่างกันสิ้นเชิงกับรูปแบบธุรกิจที่ทำงานด้านนี้อย่างเต็มตัว
ด้วยเหตุนี้หากใครที่ไม่มีประสบการณ์อาจลองฝึกดูกับบริษัทที่ทำงานเกี่ยวกับการนำเข้าถ้าใครได้เริ่มต้นจากจุดนั้นก็จะมีข้อได้เปรียบมากแต่ถ้าไม่ได้เริ่มจากตรงนั้นก็ต้องศึกษาหาข้อมูลและเริ่มลงมือทำทีละขั้นตอนอย่างค่อยเป็นค่อยไปก็มีโอกาสเติบโตได้เช่นกัน
2.กำหนดลูกค้าให้ได้
การนำเข้าสินค้าก็ต้องระบุเป้าหมายของคนที่ต้องการซื้อว่าคือใครซึ่งจะนำมาสู่การสั่งซื้อสินค้าให้ถูกต้องเหมาะสมได้ เช่น เสื้อผ้า เครื่องประดับ เฟอร์นิเจอร์ เครื่องใช้ไฟฟ้า ฯลฯ พวกนี้คือสินค้าที่สามารถเปิดเป็นหน้าร้านได้
มีแหล่งตลาดรองรับที่แน่นอนแต่สิ่งสำคัญคือการระบุฐานลูกค้าที่ชัดเจนเพื่อการสั่งนำเข้าจะได้มีความเหมาะสมกับความต้องการมากขึ้น แม้แต่เฟอร์นิเจอร์นำเข้าก็มีหลายระดับ เก้าอี้ตัวละพันก็มี เก้าอี้ตัวละแสนก็มี เฟอร์นิเจอร์ที่ IKEA ก็ต่างจากเฟอร์นิเจอร์ แบรนด์ คนที่ไปซื้อของก็คนละกลุ่ม และวิธีทำการสื่อสารการตลาดก็คนละแบบ แบบแรกเน้นโปรโมชั่น แบบที่สองเน้น Story ของสินค้าเป็นต้น
3.เข้าใจราคาการตลาดที่เกี่ยวเนื่องกับต้นทุน
ภาพจาก facebook.com/LeKise.Lighting
การสำรวจราคาตลาดเพื่อหามูลค่าโดยเฉลี่ยที่เขาขายกันอยู่ในตลาดกลุ่มนั้นๆ การรู้ราคาตลาดจะต่อยอดไปสู่การสรรหาแหล่งสินค้าและวิธีการนำเข้ามาภายใต้ต้นทุนที่สัมพันธ์กับราคาปลีกที่คุณจะขายและได้อัตรากำไรเป็นที่น่าพอใจ
การขายดีไม่ได้ขึ้นอยู่กับราคาขายเพียงอย่างเดียวเพราะบางกลุ่มลูกค้าไม่ใช่กลุ่มที่เน้นเรื่องราคาแต่เป็นเน้นที่คุณภาพของสินค้าหรือ หรือเรียกว่าคนที่ติดแบรนด์ เพียงแต่เมื่อเราเลือกกลุ่มลูกค้า เลือกสินค้า และศึกษาโครงสร้างราคาปลีกเพื่อที่จะได้ขายสินค้าในราคาที่ไม่โต่งจนเกินไปจากค่าเฉลี่ยของตลาดที่มีอยู่
4.เรียนรู้วิธีการขาย
หลายคนบอกว่าสินค้านำเข้าขายง่ายที่สุดก็คือขายออนไลน์ ทั้งนี้ความแตกต่างของการขายออนไลน์กับการขายแบบเปิดหน้าร้านก็มีความต่างโดยเฉพาะในเรื่องมูลค่าการซื้อขาย โลกออนไลน์นั้นแม้จะเติบโตได้เร็วแต่ก็เป็นการขายในเชิงปริมาณที่เน้นกลุ่มสำคัญคือนักศึกษาจบใหม่หรือว่าคนที่เพิ่งเริ่มมีงานทำ
แต่ถ้าเป็นกลุ่มลูกค้าที่กำลังการซื้อสูงในระดับแสนต้องเป็นคนที่มีประสบการณ์ในการทำงานและนิยมสินค้าที่เกี่ยวกับแบรนด์ ซึ่งการขายก็ต้องคำนึงถึงวิธีการค้าที่ต้องเอาทั้งสองอย่างมาผสมผสานกันให้ดี
ยกตัวอย่างธุรกิจผ้าพันคอแบรนด์ โซอี้ เจ้าของพัฒนาสินค้าและสร้างแบรนด์เอง มีการนำเข้าไปขายในห้างสรรพสินค้าชั้นนำเพื่อเกิดเป็นภาพสินค้ายกระดับภาพลักษณ์ของแบรนด์
แต่ยอดขายสำคัญมากจากการขายออนไลน์และการขายลูกค้าองค์กร หรือ Direct Client ที่สั่งทำและสั่งซื้อเป็นปริมาณมากการมีภาพลักษณ์เป็นสินค้าขึ้นห้างก็สามารถสร้างอารมณ์ให้คนซื้อรู้สึกประทับใจกับสินค้าแม้ว่าการขายส่วนใหญ่จะได้มาจากแบบออนไลน์ก็ตาม
5.รู้จักเลือกแหล่งของสินค้าที่เหมาะสม
ภาพจาก goo.gl/ICZRsf
แม้แหล่งซื้อยอดนิยมที่เรารู้กันดีในปัจจุบันคือประเทศจีน แต่ทว่าสินค้านำเข้าที่แท้จริงก็มีมาจากหลากหลายประเทศ โดยสินค้าบางชนิดก็มีความโดดเด่นในแต่ละประเทศเช่นพรมทอมือ ในอินเดีย เฟอร์นิเจอหรูต้องอิตาลี ขนมจากอเมริกา ของชำร่วยจากญี่ปุ่น เป็นต้น ทีนี่เรื่องว่าจะซื้อสินค้าจากไหนก็ต้องอยู่ที่ว่าเราต้องการจะขายอะไรและใครคือลูกค้าด้วย
เทคนิคหนึ่งที่สำคัญหากเราต้องการนำเข้าสินค้าแบบทั่วไปในราคาถูกๆ เช่น เข็มขัด กระเป๋า รองเท้า เสื้อผ้า ไม่ได้เน้นแบรนด์และภาพลักษณ์ ก็อาจใช้บริการของ Alibaba ได้ แต่ถ้าต้องการนำเข้าขนมแปลกๆ รสชาติดี และหน้าตาไฮโซๆ ก็อาจจะมองไปทางฝั่งอเมริกา เช่นเดียวกับเฟอร์นิเจอร์และ accessory คุณภาพสูงและมียี่ห้อก็หาจากอเมริกาและยุโรป ฯลฯ
ทั้งนี้ทั้งผู้ผลิตที่เป็นเจ้าของแบรนด์สินค้าอาจมาตั้งโรงงานผลิตในจีนหรือเวียดนาม ดังนั้นคุณอาจติดต่อกับทางฝั่งอเมริกาในเฉพาะแค่การเปิด Deal ธุรกิจ แต่กระบวนการทำงานอาจติดต่อประสานงานนำเข้าจากเอเชียเป็นต้น
6.เข้าใจในกระบวนการนำเข้าสินค้าที่เหมาะสม
ภาพจาก goo.gl/DqPgk5
นำเข้าอย่างไรนั้นคือเริ่มจากส่งออกจากไหน และปริมาณเท่าไร เทคนิคทางธุรกิจที่นิยมใช้ก้นคือบริษัทเจ้าของแบรนด์อยู่ที่อเมริกา แต่โรงงานผลิตอาจอยู่ในประเทศจีน โมเดลนี้เป็นที่นิยมมากขึ้นเพราะค่าแรงในอเมริการวมไปถึงยุโรปมีราคาแพง เจ้าของแบรนด์จึงหันมา Outsource การผลิตในเอเชีย โดยอาจแค่จ้างผลิตภายใต้การควบคุมคุณภาพของต้นสังกัด หรือต้นสังกัดมาตั้งโรงงานผลิตในจีนไปเลย
ถ้าเป็นเช่นนี้ เราก็ต้องนำเข้าจากประเทศที่เป็นศูนย์การผลิต ความแตกต่างระหว่างการนำเข้าจากอเมริกาและเอเชียคือ ค่า Freight และ Transit time หรือระยะเวลาเดินทาง ค่า Sea freight ส่งจากอเมริกาเป็นตู้คอนเทนเนอร์ใหญ่อาจแพงกว่าส่งจากเอเชียเกือบสิบเท่าตัว และระยะเวลาเดินทางก็ช้ากว่าส่งจากเอเชียเป็นเดือน
เช่นการส่ง Sea freight จากอเมริกาเดินทาง 2 เดือน จากจีนเดินทาง 2 สัปดาห์เศษๆ หรือจากเวียดนามมาไทยแค่ 3 วันเป็นต้น แต่ถ้าหากนำเข้าทาง Air freight ก็จะเร็วมาก จากอเมริกามาไทยเดินทาง 2 วันเพราะมีการเปลี่ยนเครื่องที่สิงคโปร์ แต่ระยะเวลาการทำงานรวมๆ ตั้งแต่จัดไฟล์ทจนไฟล์ลงท่าอากาศยานไทยรวมๆ ประมาณ 7 วันครับ
แต่ค่า Air freight จะแพงกว่า Sea freight มากก็ต้องคำนวณเรื่องราคาขายและวิธีการทำตลาดให้รัดกุมที่สุด นอกจากนั้นยังมีเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับค่าภาษีนำเข้า กล่าวคือหากวัตถุดิบที่ใช้ผลิตสินค้าทำในเอเชียภายใต้พื้นที่ Free trade zone ก็อาจได้งดเว้นภาษีนำเข้าเป็นศูนย์เปอร์เซ็น ซึ่งถือได้ว่าเป็นการลดต้นทุนได้มหาศาลทีเดียว
7.รู้จักปัจจัยที่มีผลต่อการกำหนดราคาจำหน่าย
ภาพจาก goo.gl/xcnvyN
การทำกำไรให้ธุรกิจจริงๆแล้ว ตัวทำต้นทุนสูงไม่ได้อยู่ที่ราคาสินค้า แต่อยู่ที่ค่าใช้จ่ายในการนำเข้า ราคาส่งของตัวสินค้ามันมีขีดจำกัดในการต่อรอง ถ้าถูกมากเกินไป Supplier ก็ไม่อยากขายสินค้าให้ และต่อให้เราต่อราคาได้ถูกลงไปอีก 3-5% ก็ไม่ได้ทำให้ต้นทุนนำเข้าหรือ Landed cost โดยรวมของลดลงไปมากยิ่งถ้าเป็นการนำเข้าจากอเมริกาด้วยสินค้าที่ไม่เต็มตู้คอนเทนเนอร์
ก็ยังต้องเสียภาษีนำเข้าเต็มพิกัดไม่มีสิทธิงดเว้นใดๆทั้งสิ้น หรือหากเราตัดสินใจนำเข้าสินค้ามาทางเครื่องบิน และเป็นสินค้าฟุ่มเฟือยที่มีภาษีนำเข้าแล้วยังเจอกับภาษีสรรพสามิตและภาษีมหาดไทยเข้าไปด้วยแล้ว ค่า Freight +ค่าภาษีรวมกันมีอาจมีมูลค่าสูงกว่าตัวสินค้าด้วยเช่นกัน
ฉะนั้นต้นทุนนำเข้าเท่าไร สำคัญที่นำเข้าจากไหนและบริหารจัดการนำเข้าดีแค่ไหน เปรียบเทียบค่า Freight สัก3-4บริษัท เปรียบเทียบราคานำเข้าทางเรือและทางอากาศ ประเมินปริมาณสินค้าที่จะนำเข้า หากนำเข้าไม่เต็มตู้ลองดูว่า ระหว่างเรือแบบ LCL (Less than container load) เท่าไร และหากนำมาแบบ Air freight เท่าไรเป็นต้น โดยค่าภาษีจะคำนวณจาก ค่าสินค้าบวกค่า Freight ถ้าค่า Freight แพง ค่าภาษีก็จะยิ่งแพงตามไปด้วย
โดยภาพรวมแล้วจะเห็นว่าธุรกิจนำเข้าสินค้านั้นไม่ใช่เรื่องที่ง่ายๆ ยิ่งทำเป็นธุรกิจใหญ่รายละเอียดปลีกย่อยยิ่งเยอะ แม้จะเป็นช่องทางการขายที่มีส่วนต่างของราคาค่อนข้างมากแต่ก็เกิดจากการคำนวณที่เหมาะสมและการเลือกวิธีบริหารจัดการที่ถูกต้อง
หากเรายังไม่มีประสบการณ์ด้านนี้ดีพอให้เริ่มต้นจากการทำแบบสินค้าเล็กๆน้อย ๆ เพื่อสะสมความรู้และประสบการณ์เพื่อในอนาคตอาจจะได้มีความรู้ที่มากขึ้นและขยายกิจการให้สั่งสินค้านำเข้าสำคัญๆมาจำหน่ายได้
สำหรับท่านใดที่ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจเรามีรวบรวมบทความมากมายไว้ให้ทุกท่านพิจารณากันตามความเหมาะสม ดูรายละเอียด goo.gl/Io5k2S