6 ธุรกิจเสือนอนกิน โกยเงินครึ่งหลังปี 65

ใครที่กำลังมามองหาอาชีพ หรือธุรกิจในช่วงครึ่งหลังของปี 2565 แต่ไม่รู้ว่าจะทำธุรกิจอะไรดี โดยที่ไม่ต้องทุ่มเททั้งแรงหายแรงใจไปกับธุรกิจนั้นๆ แต่สามารถสร้างรายได้กลับมาอย่างต่อเนื่อง วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะแนะนำแนวทางในการลงทุนทำ 6 ธุรกิจเสือนอนกิน ไม่ต้องเหนื่อย ไม่ต้องออกแรง ในช่วงครึ่งหลังปี 2565 ให้ทราบ

1.เปิดร้านสะดวกซัก

6 ธุรกิจเสือนอนกิน

ภาพจาก แฟรนไชส์ อัลไลแอนซ์ ลอนดรี้

ตัวแรกเลยสำหรับธุรกิจเสือนอนกิน ลงทุนครั้งเดียวสร้างรายได้ยาวๆ เพียงแค่มีเงินทุน และพื้นที่สำหรับตั้งเครื่องซักผ้า ทำควบคู่กับงานประจำได้สบายๆ ซึ่งปัจจุบันมีให้เลือกหลากหลายแบรนด์ ทั้งแฟรนไชส์ และไม่แฟรนไชส์ แต่สำหรับแฟรนไชส์จะได้รับการช่วยเหลือและสนับสนุนจากเจ้าของแบรนด์แฟรนไชส์ทุกๆ ขั้นตอน ไม่ว่าจะเป็นการติดตั้ง และซ่อมบำรุง

เช่น แฟรนไชส์สะดวกซัก “อัลไลแอนซ์ ลอนดี้” ผู้นำด้านการผลิตเครื่องซักผ้าและอบผ้าจากสหรัฐฯ หรือ “ดอกเตอร์ ไทเกอร์ ลอนดรี้” แฟรนไชส์สะดวกซัก 24 ชั่วโมง เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการให้คำปรึกษา วางแผน วางระบบ สำหรับผู้ที่ต้องการมีธุรกิจร้านสะดวกซัก 24 ชั่วโมง ที่ต้องการสร้างรายได้ โดยไม่รบกวนงานประจำ

6 ธุรกิจเสือนอนกิน

ภาพจาก https://bit.ly/3Qm4pLZ

#อัลไลแอนซ์ ลอนดรี้ คลิก https://bit.ly/3txdGHz

#ดอกเตอร์ ไทเกอร์ ลอนดรี้ คลิก https://bit.ly/3zAZOzI

2.ตู้หยอดเหรียญ

6 ธุรกิจเสือนอนกิน

ตู้อัตโนมัติ หรือตู้จำหน่ายสินค้าอัตโนมัติ เป็นธุรกิจเสือนอนกินที่น่าจะมาแรงในครึ่งปีหลัง สามารถสร้างรายได้ให้ผู้ลงทุนได้เรื่อยๆ ลงทุนครั้งเดียว ไม่ต้องใส่ใจหรืออยู่เฝ้าร้านเหมือนกับทำธุรกิจเปิดร้านทั่วๆ ไป ปัจจุบันมีตู้อัตโนมัติให้เลือกลงทุนมากมาย หลายแบบ อาทิ ตู้กดกาแฟเต่าบิน, ตู้เติมเงินอัตโนมัติ “บุญเติม”, ตู้ขายของอัตโนมัติ Sun Vending และอื่นๆ

3.ให้เช่าทรัพย์สิน

6 ธุรกิจเสือนอนกิน

ภาพจาก https://pixabay.com

อีกหนึ่งธุรกิจเสือนอนกินที่ลงทุนสร้างขึ้นมาครั้งเดียว สามารถทำเงินได้ในระยะยาว ไม่ว่าจะเป็นการสร้างตลาดนัด ที่จอดรถ ปล่อยห้องหรือบ้านให้เช่า รวมถึงการให้เช่าพื้นที่ว่างเปล่าในการทำธุรกิจ เพราะในช่วงครึ่งปีหลังเชื่อว่าเศรษฐกิจน่าจะกลับดีขึ้น ทำให้คนขยับขยายกิจการมากขึ้น หรือหาพื้นที่ค้าขายเพื่อสร้างรายได้เสริมในยุคข้าวยากหมากแพง

#อยากเช่าพื้นที่ ทำเลดี คลิก https://bit.ly/3mFQsuL

4.พรีออเดอร์

6 ธุรกิจเสือนอนกิน

ภาพจาก https://pixabay.com

พรีออเดอร์ เป็นการสั่งซื้อสินค้าที่ไม่ได้มีอยู่ในสต็อก เช็กจำนวน สำหรับสั่งผลิต หรือนำเข้าสินค้า ผู้ขายสินค้าพรีออเดอร์จะเปิดให้ลูกค้าสั่งซื้อสินค้าและชำระเงินก่อน แล้วผู้ขายจึงจะสั่งซื้อหรือสั่งผลิตสินค้านั้นๆ ตามจำนวนชิ้นที่ได้รับออเดอร์มา โดยปกติแล้วจะไม่สั่งสินค้าเกินจำนวน ถือเป็นการขายสินค้าที่ผู้ขายไม่ต้องลงทุนลงเงินซื้อสินค้ามาก่อน และไม่ต้องห่วงว่าจะมีสินค้าเหลือค้างสต็อกหากขายไม่หมด เพราะเป็นการสั่งผลิตหรือสั่งซื้อตามที่ลูกค้าสั่งมา

5.ลงทุนในหุ้น

6 ธุรกิจเสือนอนกิน

ภาพจาก https://pixabay.com

อีกหนึ่งเสือนอนกินที่น่าจะได้รับความนิยมในช่วงครึ่งหลังปี 2565 เพราะเศรษฐกิจเริ่มดีขึ้นจากการเปิดประเทศ อีกทั้งโควิด-19 เริ่มจะบาดน้อยลง ธุรกิจต่างๆ ได้รับอานิสงค์ จึงทำให้การลงทุนในหุ้นธุรกิจที่มาแรงในตลาดหลักทรัพย์ น่าจะได้รับความนิยมมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจด้านพลังงาน ท่องเที่ยว ฯลฯ แต่ผู้ลงทุนต้องศึกษาหาความรู้หรือควรมีที่ปรึกษาที่เชี่ยวชาญก่อนตัดสินใจลงทุน

6.ปล่อยเงินกู้

50

ภาพจาก https://pixabay.com

ธุรกิจเสือนอนกินอย่างการปล่อยเงินกู้ หรือสินเชื่อ สามารถสร้างรายได้ในระยะยาวให้กับผู้ลงทุนได้จริง แต่ต้องทำให้ถูกกฎหมาย ไม่เอาเปรียบผู้มาขอกู้ คิดดอกเบี้ยตามกฎหมาย เป็นธุรกิจที่ไม่ต้องออกแรง เพียงแค่มีเงินปล่อยกู้ให้กับคนอื่น ก็คอยรับดอกเบี้ยทุกเดือน

นั่นคือ 6 ธุรกิจเสือนอนกิน ที่คาดว่าจะมาแรง น่าลงทุนในช่วงครึ่งหลักของปี 2565

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3tBfGyh

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise


8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์

1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์

  • กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
  • ชื่อกิจการ (Brand)
  • การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
  • การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
  • การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
  • การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
  • การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
  • การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
  • การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์

2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ

  • ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
  • ระบบการเงิน การบัญชี
  • งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
  • รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
  • ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ

3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
  • แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
  • สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
  • เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
  • มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
  • มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
  • ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี

4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์

  • กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
  • การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
  • สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
  • เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ

5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายแฟรนไชส์
  • ระบบการเงิน
  • ค่าธรรมเนียมต่างๆ
  • ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
  • การจดทะเบียนแฟรนไชส์
  • เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
  • ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
  • การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
  • แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
  • การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
  • การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า

6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น

7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
  • พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
  • ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
  • การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
  • เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
  • จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์

8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์

  • การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
  • กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
  • การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  • การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
  • การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
  • กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
  • กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี

สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช