6 ธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ โดยเจ้าของไม่ได้เป็นผู้ก่อตั้ง

โดยทั่วไป ธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ เรามักคิดว่าเจ้าของธุรกิจหรือคนดูแลในปัจจุบันเป็นผู้บุกเบิก จัดตั้งขึ้นมาเองกับมือ แต่หารู้ไม่ว่ามีหลายๆ ธุรกิจที่ประสบความสำเร็จโดยคนที่ไม่ได้ก่อตั้ง มาดูตัวอย่างธุรกิจที่เจ้าของไม่ได้เป็นผู้ก่อตั้งกันครับ

ภาพจาก https://shorturl.at/kyADX

ยกตัวอย่างแรก “เอ็มเค สุกี้” เจ้าของปัจจุบัน คือ คุณฤทธิ์ ธีระโกเมน ไม่ได้เป็นผู้ก่อตั้งธุรกิจ แต่เป็น คุณป้าทองคำ เมฆโต แม่ยายคุณฤทธิ์ ซื้อกิจการต่อจากคุณมาคอง คิงยี ชาวฮ่องกง ที่ย้ายครอบครัวไปอยู่ที่เมืองบอสตัน สหรัฐอเมริกา

ตอนแรก เอ็มเค สุกี้ เป็นร้านอาหารไทยขนาดเล็ก ย่านสยามสแควร์ คูหาเล็กๆ เท่านั้นเอง คุณฤทธิ์และแม่ยายของเขา มองเห็นโอกาสของธุรกิจ เลยตัดสินใจเข้ามาปั้นธุรกิจร้านสุกี้แห่งนี้ให้เติบโต จนพาเอ็มเคเข้าไปจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ได้เป็นผลสำเร็จ จนมีมูลค่าธุรกิจกว่า 45,000 ล้านบาทในปัจจุบัน มีสาขาไทยกว่า 500 สาขา

ภาพจาก https://shorturl.at/grtC8

มาดูอีกธุรกิจชื่อดังอย่าง “โออิชิ” ผู้ก่อตั้งคือ คุณตัน ภาสกรนที เริ่มต้นจากร้านอาหารญี่ปุ่นเปิดตัวในปี 2542 แปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนในปี 2547 ปัจจุบันผู้ถือหุ้นใหญ่และเป็นเจ้าของดูแลธุรกิจ คือ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน)

ภาพจาก https://shorturl.at/arwR1

แบรนด์กาแฟยักษ์ใหญ่ของโลก “สตาร์บัคส์” เป็นอีกธุรกิจที่เจ้าของไม่ได้ก่อตั้ง Howard Schultz เจ้าของสตาร์บัคส์ มีนิสัยชอบซื้อกิจการคนอื่น ก่อนจะซื้อถึงกับต้องเข้าไปเป็นพนักงานในบริษัท ก่อนจะซื้อสตาร์บัคส์ เขาได้ออกไปเปิดร้านกาแฟของตัวเองก่อน ชื่อว่า Il Giornale คุณ Schultz ได้นำร้านกาแฟของตังเอง Il Giornale

ควบรวมกับสตาร์บัคส์ที่ซื้อมาเข้าด้วยกัน โดยเงินทุนส่วนหนึ่งมาจากความช่วยเหลือของคุณ William Gates พ่อของคุณ Bill Gates ปัจจุบันแบรนด์ร้านกาแฟสตาร์บัคส์ กลายเป็นแฟรนไชส์ร้านกาแฟอันดับ 1 ของโลก มีมูลค่าบริษัทกว่า 4,100,000 ล้านบาท ในประเทศไทยเจ้าของปัจจุบันเปลี่ยนมือเป็นเครือไทยเบฟเวอเรจ

ภาพจาก https://shorturl.at/ksUY8

มาดูนักธุรกิจชื่อดังของโลกอย่าง “อีลอน มัสก์” กันบ้าง เขาก็ไม่ได้เป็นผู้ก่อตั้ง Tesla แต่เขามองเห็นโอกาสการเติบโตของธุรกิจรถยนต์ไฟฟ้า จึงเข้าไปลงทุนและบริหาร จนบริษัทเติบโตแบบก้าวกระโดด กลายเป็นบริษัทรถยนต์ไฟฟ้ามูลค่าหลายหมื่นล้านบาท

อีกหนึ่งธุรกิจ คือ แมคโดนัลด์ เจ้าของที่คนทั่วโลกรู้จัก คือ Ray Kroc มีอาชีพขายเครื่องทำมิลก์เชกให้กับแมคโดนัลด์ ทำงานยาวนานหลายปีราวๆ 15 ปี เขามองว่าแมคโดนัลด์มีศักยภาพเติบโตไปอีกยาวไกล

ภาพจาก https://shorturl.at/chko7

ก่อนจะซื้อกิจการแมคโดนัลด์ Ray Kroc เข้าไปศึกษาและเรียนรู้ธุรกิจพบว่า แมคโดนัลด์ มีวิธีการบริหารงานที่แตกต่างจากเชนร้านฟาสต์ฟู้ดอื่นๆ สามารถเสิร์ฟอาหารให้ลูกค้าได้เร็ว 30 วินาที เขาตัดสินใจขอสิทธิ์การขายแฟรนไชส์ ร่างสัญญาจนขยายสาขาทั่วสหรัฐอเมริกาได้สำเร็จ ต่อมาเขาขัดแย้งกับผู้ก่อตั้ง 2 พี่น้องแมคโดนัลด์

กระทั่งในปี 1961 Ray Kroc สามารถซื้อแมคโดนัลด์สาขาแรกต่อจาก 2 พี่น้องผู้ก่อตั้งได้สำเร็จ สร้างการเติบโตอย่างรวดเร็วให้ธุรกิจ จนกลายเป็นแบรนด์แฟรนไชส์ฟาสต์ฟู้ดใหญ่สุดในโลก มีสาขามากกว่า 39,699 สาขาทั่วโลก

จะเห็นได้ว่าในการทำธุรกิจแม้เราจะไม่ได้เป็นผู้ก่อตั้ง หรือคิดค้นมันขึ้นมากับมือ แต่เราสามารถที่จะนำพาหรือต่อยอดธุรกิจนั้นๆ ให้ไปสู่จดหมายและประสบความสำเร็จได้ด้วยมือเราเอง เหมือนกับธุรกิจข้างต้นอย่าง เอ็มเค สุกี้ แมคโดนัลด์ สตาร์บัคส์ โออิชิ Tesla

ภาพจาก https://shorturl.at/jvPR3

หรือแม้แต่ร้านอาหารอีสานชื่อดัง “ตำมั่ว” ที่คุณเบส-ศิรุวัฒน์ ชัชวาลย์ เป็นผู้ก่อตั้ง แต่ในปัจจุบันอยู่ภายใต้การดูแลของบริษัท เซ็น คอร์ปอเรชั่น กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เปิดขายแฟรนไชส์แล้วกว่า 100 สาขาทั่วประเทศ

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจติดตามได้ที่ https://bit.ly/335phDi
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช