6 ด้านมืดในอาชีพ “นักขาย” ที่หลายคนไม่รู้!

เป็น นักขาย (Sales) รายได้ดีไหม? คือคำถามที่มีหลากหลายคำตอบขึ้นอยู่กับว่า “คุณรักและชอบในอาชีพนี้หรือเปล่า” ใครที่อคติก็ตอบแบบแย่ๆ แต่ถ้าคนที่ประสบความสำเร็จจากอาชีพนี้ก็บอกว่า “มันคือดีมากๆ” ซึ่งคุณสมบัติของ ตำแหน่งงาน Sales หรือ งานขาย

ต้องมีไหวพริบดี ต้องมีทักษะในการพูดเจรจาโน้มน้าวให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการของบริษัทที่เราเสนอ นักขายที่ดีมีทักษะสูงมักจะมีรายได้สูง แต่ด้วยความที่ต้องเน้นเอาใจลูกค้า เน้นการขาย ก็ทำให้อาชีพนี้มีด้านมืดที่นักขายหลายคนอาจไม่เคยรู้มาก่อน

1.ทำงานภายใต้แรงกดดัน

นักขาย

อาชีพนี้ต้องเน้นการ “ทำยอดขาย” ยิ่งในบริษัทมีเซลล์หลายคน การแข่งขันยิ่งสูง ทุกคนหวังแต่เรื่อง “ยอดขาย” เป็นหลัก ทีมขายมักจะมีเป้าที่ต้องทำให้ได้ในแต่ละช่วงเวลา ถ้าหากยอดขายไม่ได้ตามเป้านั่นและคือความเครียดของทีมเซลล์ชนิดที่อาจถูกประเมินว่าไร้ประสิทธิภาพกันเลยทีเดียว

2.รายได้ขึ้นอยู่กับค่าคอมมิชชั่น

นักขาย

ก็เป็นเรื่องที่นักขายหลายคนรู้และยอมรับในเรื่องนี้อาจไม่ใช่ด้านมืดที่ชัดเจนแต่ความที่ต้องเน้นค่าคอมมิชชั่นเพื่อให้ได้เงินมากขึ้นในแต่ละเดือนเพื่อให้นำมาใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ก็ยิ่งเป็นตัวกระตุ้นให้การขายยิ่งต้องดุเดือดเอาจริงเอาจังเพราะหากเดือนไหนขายได้น้อยหรือขายไม่ได้ลำพังแค่เงินเดือนน้อยนิดไม่พอใช้แน่

3.เจอลูกค้าจอมตุกติก

นักขาย

บางครั้งการติดต่อเพื่อนำเสนอสินค้าให้ลูกค้า เจอคนดีก็ดีไปแต่บางทีไปเจอลูกค้าจอมตุกติกที่มักชอบเอาเปรียบบริษัทตัวเอง และก็เสนอให้เราร่วมขบวนการโกงด้วยวิธีต่างๆ เพื่อให้ส่วนต่างจากการซื้อขายเป็นเงินเข้ากระเป๋าตัวเอง ซึ่งพนักงานขายอาจต้องตัดสินใจว่าอยากขายเพื่อให้ได้ลูกค้าหรือจะไม่ขายเพราะคำนึงถึงผลลัพธ์ที่ตามมาในอนาคต

4.เจอลูกค้าหลากหลายอารมณ์

นักขาย

เป็นสิ่งที่นักขายทุกคนต้องเจอ บางคนคุยดีก็ดีไป บางคนคุยไม่ดีแถมพูดจาดูถูกเหยียดหยาม ใส่อารมณ์ โวยวาย ฯลฯ นักขายที่ได้รองรับอารมณ์ลูกค้ามาทุกรูปแบบถ้าบริหารจัดการอารมณ์ตัวเองไม่ดีพอ จะมีความเครียดสะสมสูง ยังไม่นับรวมเรื่องการถูกปฏิเสธที่ต้องมีแน่ๆ สิ่งเหล่านี้คือเรื่องที่นักขายต้องเตรียมใจรับไว้ให้ดี

5.เวลาทำงานไม่แน่นอน

นักขาย

ถ้าเราเป็นพนักงานทั่วไปเลิกงานก็เลิกกัน แต่นักขายไม่ใช่อย่างนั้น เพราะนี่คืองานที่ต้องติดต่อลูกค้า ดังนั้นเลือกเวลาในการติดต่อไม่ได้บางคนต้องคุยหลังเลิกงาน บางคนต้องให้ติดต่อช่วงเสาร์-อาทิตย์ บางทีนอนแล้วลูกค้าก็ยังโทรมาตอนดึก เป็นต้น เรียกว่ามือถือของนักขายต้องสแตนบายอยู่ตลอดเวลา

6. อาชีพที่ไม่มั่นคง

นักขาย

อย่าคิดว่านักขายจะยืนหนึ่งได้ตลอดไปต้องไม่ลืมว่าคลื่นลูกใหม่มักมาแรงเสมอ ถ้าเราไม่ดีพอ ยอดขายไม่ดีจริง บริษัทก็มักจะเขี่ยเราทิ้งได้ง่ายๆ ที่เขาบอกว่านักขายเป็นเหมือนหมาล่าเนื้อก็ดูจะไม่ผิด ตราบใดที่เรามีประโยชน์เขาก็เลี้ยงไว้ ถ้าหมดประโยชน์ก็ทิ้งเราแบบไม่ใยดีได้เช่นกัน

แต่ถึงกระนั้นในอาชีพนักขายมีอยู่ 2 อย่างที่น่าสนใจและต่อยอดให้เราไปทำธุรกิจของตัวเองได้ในอนาคตอย่าง

1.Connection

เป็นความได้เปรียบสุดๆ ของนักขายที่มีโอกาสได้พบเจอคนหลากหลาย ทั้งผู้ประกอบการ เจ้าของกิจการ นั่นคือขุมทรัพย์อันดีและยิ่งมีความสัมพันธ์ที่ดี เป็นที่รู้จักของคนเหล่านี้มานาน มีการแลกเปลี่ยนนามบัตร เคยปรึกษากันทางธุรกิจ มันคือบันไดก้าวแรกที่จะพาเราไปสู่จุดที่สูงขึ้น การเป็นนักขายอาจต้องแพลนอนาคตว่าตัวเองจะพอใจอยู่กับอาชีพนี้หรืออยากมีธุรกิจของตัวเองในอนาคต การใช้ประโยชน์จากเรื่องนี้จึงถือว่าได้เปรียบอาชีพอื่นมาก

2.ได้ทักษะการทำงานที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ของคน

การมี Connection ว่าเยี่ยมแล้วแต่สิ่งที่ดียิ่งกว่าคือนักขายจะได้ประสบการณ์เรียนรู้วิธีการพบปะ ทักทาย การใช้ภาษากาย การวางตัว การใช้คำสนทนา การแก้ไขปัญหาเบื้องต้นในการเจรจา สิ่งเหล่านี้เป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับเจ้าของกิจการที่ควรมี การได้เป็นนักขายยิ่งอยู่นานยิ่งได้เรียนรู้สิ่งเหล่านี้ได้มาก

เราเชื่อว่าทุกอาชีพบนโลกมักมี 2 ด้านเสมอ ทั้งข้อดีและข้อเสียเป็นสิ่งที่เราต้องได้เจอ ขึ้นอยู่กับว่าเราจะเลือกบริหารจัดการสิ่งเหล่านี้ได้อย่างไร ไม่ว่าคุณจะทำอาชีพอะไรแต่ถ้ามีแผนสำหรับอนาคตว่าต่อจากนี้อีก 5 ปี 10 ปี ฉันจะไปอยู่จุดไหน จะทำให้เราเริ่มเก็บเกี่ยวประสบการณ์ และรวบรวมสิ่งที่เกี่ยวข้องเพื่อสานฝันให้ไปถึงเป้าหมายที่เราวางไว้

แล้วคุณล่ะเลือกได้หรือยังว่าอนาคตอยากทำอะไรต่อไป???

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจติดตามได้ที่ https://bit.ly/335phDi
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด