6 แผน Check List ตั้งเป้าหมายธุรกิจแฟรนไชส์ โต 24 สาขาในปี 66

เจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์ที่วางแผนขยายสาขาในรูปแบบแฟรนไชส์ในปี 2566 หลังจากมีความรู้เรื่องแฟรนไชส์อย่างลึกซึ้ง ธุรกิจที่จะขายแฟรนไชส์ได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า สร้างผลกำไรโดยเฉลี่ยประมาณ 3-4 หมื่นบาทต่อเดือน หรือ 60-70% ของรายได้ สินค้าและบริการได้รับความนิยมจากผู้บริโภควงกว้างในทุกพื้นที่ และมีการซื้อซ้ำเป็นประจำ

ถ้าเจ้าของธุรกิจท่านใดอยากขยายแฟรนไชส์ให้เติบโต 24 สาขาในปี 2566 วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะวิเคราะห์และวางแผนการทำธุรกิจแฟรนไชส์ให้เติบโตในปี 2566 ให้ทราบ สำหรับเป็นแนวทางการดำเนินการ

1. วางโรดแมปขยายธุรกิจแฟรนไชส์ (1 เดือน หรือ 30 วัน)

Check List

ผู้ที่ขายแฟรนไชส์จะต้องมีแผนการอยู่ในใจว่าต้องการขยายธุรกิจแฟรนไชส์อย่างไร เช่น ปี 2566 ต้องการขยายสาขา 24 สาขา ซึ่งอาจจะทดลองเปิดร้านสาขาต้นแบบของตัวเองไปก่อน 2-3 สาขา ในทำเลที่แตกต่างกัน อยู่พื้นที่กลุ่มลูกค้าต่างกัน เพื่อเก็บข้อมูลวิจัยและเก็บทำเลไว้ให้กับแฟรนไชส์ซีในอนาคต การวางโรดแมปมีความสำคัญสำหรับกำหนดทิศทาง ว่าธุรกิจแฟรนไชส์จะเดินไปอย่างไร ต้องทำอะไรบ้าง มากน้อยอย่างไร เช่น การใช้งบการตลาด การเตรียมสรรหาทำเลพื้นที่ การจัดเตรียมบุคลากร การหาเงินทุน การทำการตลาดเพื่อขายแฟรนไชส์ เป็นต้น เพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายที่วางเอาไว้

  • วางแผนการดำเนินธุรกิจและขยายสาขา
  • สำรวจวิเคราะห์ทำเลและพฤติกรรมผู้บริโภค

2. สร้างระบบการบริการจัดการร้าน (1 เดือนครึ่ง หรือ 45 วัน)

Check List

ระบบแฟรนไชส์มืออาชีพต้องมาพร้อมกับการมีระบบบริหารจัดการที่ดี และครบวงจรให้กับผู้ซื้อแฟรนไชส์ เพื่อรักษาคุณภาพมาตรฐานของแบรนด์ และเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินกิจการให้กับผู้ซื้อแฟรนไชส์ โดยเจ้าของแฟรนไชส์จะต้องเตรียมความพร้อมในการซัพพอร์ตระบบและอุปกรณ์เครื่องมือต่างๆ ครบวงจร เช่น

  • ระบบการบริหารบัญชี POS
  • ระบบสั่งซื้อวัตถุดิบ และสินค้าต่างๆ ที่ใช้งานง่าย พร้อมทั้งมีการปรับปรุงพัฒนาให้ทันสมัยอยู่เสมอ เพื่อให้สะดวกรวดเร็วต่อการทำงาน
  • ระบบโลจิสติกส์จัดส่งสินค้า และวัตถุดิบต่างๆ ให้แฟรนไชส์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และรวดเร็ว
  • จัดเตรียมอุปกรณ์ต่างๆ
  • สร้างทีมงานออกแบบตกแต่งร้าน และเตรียมความพร้อมต่างๆ
  • จัดทำมือการปฏิบัติงานในร้านรูปแบบต่างๆ เข้าใจง่าย ใช้งานง่าย เพื่อทำให้การทำงานที่ร้าน และการดูแลร้านเป็นเรื่องง่าย และมีประสิทธิภาพ
  • ทำสัญญาแฟรนไชส์ ทำเอกสารและสื่อเพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์ การทำการตลาดสรรหาแฟรนไชส์ซี การคัดเลือกแฟรนไชส์ซี การสรรหาทำเลเปิดร้าน การสร้างร้าน และการอบรม
  • สร้างทีมงานเทรนนิ่ง เพื่อฝึกอบรม และให้ความรู้แฟรนไชส์สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างถูกสุขอนามัย ปลอดภัยทั้งต่อตัวเอง และลูกค้า รวมทั้งเพื่อให้แฟรนไชส์มีความมั่นใจในการเปิดร้าน
  • สร้างทีมคอยช่วยดูแลและให้คำแนะนำการดูแลอุปกรณ์ในร้านให้อยู่ในสภาพดีตลอดเวลา

3. การสร้างร้านต้นแบบแฟรนไชส์ (2 เดือน หรือ 60 วัน)

Check List

ก่อนขายแฟรนไชส์เจ้าของแฟรนไชส์ต้องสร้างร้านต้นแบบเพื่อเป็นโมเดลให้กับธุรกิจ รวมถึงเป็นการพิสูจน์ให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์เห็นว่าระบบธุรกิจแฟรนไชส์ที่สร้างขึ้นประสบความสำเร็จมากน้อยเพียงใด ทั้งยอดขายและกำไร รวมถึงปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างการดำเนินธุรกิจ ตลอดจนเป็นการช่วยให้แฟรนไชส์ซียินดีทำตาม เจ้าของแฟรนไชส์จะต้องสร้างเอกลักษณ์ของแบรนด์และร้านสาขา เซ็ทรูปแบบการบริการ ภาพลักษณ์ให้ชัดเจน ชุดพนักงาน สีของร้าน เป็นต้น

ร้านต้นแบบที่ดีจะต้องอยู่ในทำเลที่แตกต่างกันหรือไม่ การทดลองเปิดสาขาในทำเลต่างกันจะช่วยค้นหาทำเลที่ดีที่สุดกับร้านต้นแบบแฟรนไชส์ ดังนั้น ขอแนะนำให้เปิดสาขาตนเองอย่างน้อย 2-3 สาขาในทำเลที่แตกต่างกัน อยู่พื้นที่กลุ่มลูกค้าต่างกัน เพื่อเก็บข้อมูลวิจัยและเก็บทำเลไว้ให้กับแฟรนไชส์ซีในอนาคต

  • ออกแบบ/ก่อสร้าง
  • จัดการอุปกรณ์ต่างๆ
  • ติดตั้งระบบ POS
  • หาสินค้า-วัตถุดิบ
  • สมัคร/อบรมพนักงาน
  • เปิดร้าน/ขาย

4. จัดวางโครงสร้างทางการเงิน (ครึ่งเดือน หรือ 15 วัน)


ร้านต้นแบบจะนำมาใช้วางโครงสร้างทางการเงิน เช่น ถ้าการเปิดแฟรนไชส์ 1 สาขา จะมีรายละเอียดในการลงทุนอย่างไร มีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง จุดคุ้มทุนจะอยู่ลูกค้ากี่คน ยอดขายที่จะคุ้มค่าใช้จ่ายต่อเดือนอยู่ที่ตัวเลขประมาณเท่าไหร่ และเป้าหมายควรมีลูกค้าขั้นต่ำเท่าไหร่ โอกาสที่จะได้เงินลงทุนคืนประมาณกี่ปี และจะคุ้มไหมที่ผู้ซื้อแฟรนไชส์จะมาลงทุนทำธุรกิจนี้ ร้านต้นแบบจะทำให้ได้ภาพที่ชัดขึ้น และมีตัวเลขที่เข้าใกล้ความเป็นจริงที่จะเกิดขึ้น ซึ่งส่วนนี้จะมีความสำคัญต่อการกำหนด การเก็บค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ (Franchise Fee) และ ค่าสิทธิรายเดือน (Royalty Fee) ด้วย

  • การคำนวณค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์แรกเข้า Royalty Fee
  • การคำนวณค่าสิทธิรายเดือน Royalty Fee, Marketing Fee
  • ค่าก่อสร้าง / ออกแบบ / ตกแต่งร้าน
  • ค่าอุปกรณ์ต่างๆ
  • ค่าเช่าระบบ POS
  • ค่าฝึกอบรม
  • ค่าสำรวจทำเลพื้นที่เปิดร้าน

5. ทำการตลาดและนำเสนอขายแฟรนไชส์ (7 เดือน)

การทำตลาดแฟรนไชส์เป็นอีกหนึ่งช่องทางในการช่วยให้ผู้บริโภคและผู้สนใจซื้อแฟรนไชส์จดจำแบรนด์แฟรนไชส์ของเราได้เจ้าของแฟรนไชส์จำเป็นต้องสามารถทำตลาดได้หลากหลายช่องทางการสื่อสาร ทั้งออนไลน์ และออฟไลน์ เพื่อเป็นการส่งเสริมยอดขายทั้งของร้านตัวเอง และสาขาแฟรนไชส์ เจ้าของแฟรนไชส์ต้องวางแผนการตลาดอย่างต่อเนื่อง เมื่อขยายแฟรนไชส์ได้ก็สามารถเก็บค่าการตลาดส่วนกลางกับแฟรนไชส์ซีนำมาใช้สร้างแบรนด์ให้เป็นที่นิยมมากขึ้น

  • ออกบูธ
  • โรดโชว์
  • จัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย
  • ลงโฆษณา / ประชาสัมพันธ์
  • จัดสัมมนา
  • ไดเร็คเมล์
  • จัดทำเว็บไซต์ / ไลน์
  • นำเสนอขาย / เจรจาต่อรอง

6. การสนับสนุนและบริการเครือข่ายแฟรนไชส์ (7 เดือน)

มาถึงขั้นตอนนี้คาดว่าเจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์น่าจะขายแฟรนไชส์ได้แล้ว 10-20 สาขา มีทั้งจัดกิจกรรมเปิดร้านให้สาขาแฟรนไชส์ซี ฝึกอบรมพนักงานในร้านในขณะปฏิบัติงานในวันเปิดร้าน การบริหารสต็อก บัญชี จัดเรียงสินค้า ตลอดจนการบริการจัดส่งสินค้า-วัตถุดิบให้แต่ละสาขาแฟรนไชส์ซี รวมถึงให้คำแนะนำนำในการเพิ่มยอดขายแต่ละสาขา

ขั้นตอนนี้เจ้าของแฟรนไชส์จะต้องมีความพร้อมในเรื่องของทีมงานเทรนนิ่ง เพื่อฝึกอบรม และให้ความรู้แฟรนไชส์สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างถูกสุขอนามัย ปลอดภัยทั้งต่อตัวเอง และลูกค้า รวมทั้งเพื่อให้แฟรนไชส์มีความมั่นใจในการเปิดร้าน รวมถึงทีมงานคอยช่วยดูแลและให้คำแนะนำการดูแลอุปกรณ์ในร้านให้อยู่ในสภาพดีตลอดเวลา

  • จัดกิจกรรมส่งเสริมการขายเปิดร้าน
  • ช่วยและฝึกอบรมพนักงานในร้าน
  • จัดส่งสินค้า-วัตถุดิบ
  • คำแนะนำในการบริหารจัดการ / เพิ่มยอดขาย

จะเห็นว่าธุรกิจที่จะขายแฟรนไชส์ไม่จำเป็นจะต้องมีพร้อมทุกอย่าง แต่จำเป็นต้องมีแผนกลยุทธ์ หรือแผนธุรกิจ ทั้งในระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว เพื่อกำหนด Timeline ว่าช่วงเวลาไหนสร้างทีมงาน สร้างระบบให้สอดคล้องกับเป้าหมาย ซึ่งงบลงทุนที่ต้องจัดหามามีต้นทุนทางการเงิน ผู้ประกอบการต้องจัดทำงบประมาณทางการเงินเพื่อประเมินว่าการสร้างระบบแฟรนไชส์แล้ว จะต้องขายแฟรนไชส์กี่สาขาจะให้ผลตอบแทนที่พึงพอใจ ดีกว่าการเปิดสาขาตนเองหรือไม่

 

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจติดตามได้ที่ https://bit.ly/335phDi
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

 

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3iEUiGn


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช