6 เทคนิค ขึ้นราคาสินค้า พูดจากับลูกค้าอย่างไรให้น่าฟัง!
ค่าครองชีพที่แพงขึ้นพ่อค้าแม่ค้าก็จำเป็นต้อง ขึ้นราคาสินค้า เพื่อไม่ให้ต้องแบกภาระต้นทุนที่สูงเกินไป แต่ปัญหาที่ตามมาคือลูกค้าส่วนใหญ่ไม่เข้าใจ หลายคนอารมณ์เสียเมื่อสินค้ามีราคาสูงขึ้น ทำให้มีผลต่อยอดขายที่อาจลดลง
ซึ่งในความเป็นจริง www.ThaiSMEsCenter.com เชื่อว่าลูกค้าส่วนใหญ่ก็เข้าใจสถานการณ์ที่เกิดขึ้น เพียงแต่ในมุมของลูกค้าก็อยากประหยัดเงิน เพราะค่าใช้จ่ายสูงเช่นกัน ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุดคือพ่อค้าแม่ค้าต้องรู้จักเทคนิคในการพูดโน้มน้าวให้ลูกค้าคล้อยตาม ภาษาที่ควรใช้จึงควรสุภาพแต่แฝงด้วยเหตุผล จะช่วยให้ลูกค้าใจเย็นลงและตัดสินใจซื้อสินค้าของเราได้
ก่อนคุยกับลูกค้า ควรเป็นผู้ฟังที่ดีให้ได้ก่อน
ก่อนเริ่มต้นซื้อขาย พ่อค้าแม่ค้าควรเริ่มจากการเป็นผู้ฟังที่ดีก่อน การนำเสนอสินค้าใดๆ หากมีราคาสูงแน่นอนว่าประโยคแรกที่จะได้ยินคือ “ทำไมแพงจัง!” จากนั้นก็จะตามมาด้วยการพูดต่างๆ นานาๆ ซึ่งตรงนี้พ่อค้าแม่ค้าต้องเปิดใจยอมรับและฟังลูกค้า ห้ามเบื่อห้ามรำคาญ และห้ามโมโหเด็ดขาด บางครั้งลูกค้าก็เพียงอยากจะระบายความอึดอัดที่อยู่ในใจ คนขายที่ดีก็ควรเป็นผู้ฟังที่ดี อย่าพูดแทรก หรือเถียงโดยไม่มีเหตุผล
ที่สำคัญหากตั้งใจฟัง อาจจับความรู้สึกของลูกค้าที่แท้จริงได้จากบางประโยคที่เขาพูดออกมา และตรงนั้นจะกลายมาเป็นการเปิดทางให้เราสามารถอธิบายเพื่อเปิดใจลูกค้าได้ในภายหลัง ในมุมของลูกค้าเองหากคนขายฟังอย่างตั้งใจ มีรอยยิ้ม หน้าตาไม่บูดบึ้ง หรือบางทีสนทนาโต้ตอบคุยกันอย่างถูกคอ อาจจบด้วยการขายสินค้าของเราได้ตามที่ต้องการ ถือเป็นวิธีปิดการขายอีกรูปแบบหนึ่งที่น่าสนใจเช่นกัน นอกจากนี้ยังมีวิธีพูดอื่นที่น่าสนใจอีกได้แก่
1.คุยกับลูกค้าแบบสุภาพแต่ไม่มากจนเกินไป
คำว่าพูดจาสุุภาพแต่ไม่มากเกินไป หมายถึงให้เราพูดนอบน้อมแบบพอดี ไม่ใช่การทำท่า “ได้ครับๆ” หรือพูดประโยคเหล่านี้มากเกินไป เช่น “ขออภัยครับ” , “ขออนุญาตครับ” เป็นต้น แม้ประโยคเหล่านี้จะสุภาพ นอบน้อม
แต่ถ้ามากเกินไปจะทำให้เราเสียอำนาจในการขาย ลูกค้าจะรู้สึกว่า จะพูดยังไงกับเราก็ได้ ทำให้เราเองก็ไม่มีแต้มต่อที่จะทำให้ลูกค้ารู้สึกเชื่อมั่น ทางที่ดีคือ พูดจากสุภาพแบบพอดีๆ ให้ลูกค้ารู้สึกเกรงใจ มั่นใจ เห็นพลังในการขายของเราที่แท้จริง ทำให้สินค้าดูมีมูลค่าน่าสนใจมากขึ้นด้วย
2.พูดให้ลูกค้าเข้าใจว่า “ลูกค้าได้ประโยชน์อะไรบ้าง”
การที่สินค้าราคาแพง ในมุมของลูกค้าย่อมรู้สึกว่าต้องเสียเงินมากขึ้น ทำให้มองว่าอาจจะได้ไม่คุ้มเสีย ดังนั้นวิธีการพูดต้องทำให้ลูกค้ารู้สึกถึงประโยชน์ของสินค้า ความคุ้มค่าที่จะได้รับ พูดให้ลูกค้ารู้สึกว่าทำไมเขาถึงจำเป็นต้องตัดสินใจซื้อสินค้าชนิดนี้
อาจมีการยกตัวอย่างเปรียบเทียบว่าสินค้าตัวนี้ดีหรือแตกต่างจากสินค้าที่ราคาต่ำกว่านี้อย่างไร หรือหากลูกค้าจ่ายเงินในราคานี้จะได้รับการดูแล และการบริการที่ดีอย่างไรบ้าง เป็นต้น เมื่อลูกค้ารู้สึกว่าเงินที่จ่ายเพิ่มขึ้น สิ่งที่ได้มาคือคุณประโยชน์ต่างๆ ก็อาจทำให้ตัดสินใจซื้อสินค้าได้
3.พูดถามเหตุผลในการตัดสินใจซื้อ “ว่าเกี่ยวกับราคาหรือไม่”
ลูกค้าบางคนมีความพอใจสินค้า แต่ติดว่าราคาแพงเกินไป ทำไมไม่ลดราคาลงมาหน่อย นี่ถ้าลดราคาให้หน่อยเราจะซื้อเลยนะ อะไรเหล่านี้ สิ่งที่ดีที่สุดของพ่อค้าแม่ค้าเมื่อเจอแบบนี้ให้ถามลูกค้าไปตรงๆ เลยว่า “ที่ลังเลเพราะราคาแพงเกินไปใช่ไหม” ลูกค้าส่วนใหญ่ต้องตอบว่าใช่ จากนั้นให้เราพูดอธิบายถึงเหตุผลว่าทำไมสินค้าตัวนี้ถึงต้องปรับ ขึ้นราคาสินค้า
อาจจะยกตัวอย่างที่อื่นมาเปรียบเทียบเพื่อให้ลูกค้าเห็นภาพว่าการขึ้นราคามันคือความจำเป็น และการที่ลูกค้าจ่ายเพิ่มขึ้นจะทำให้ลูกค้าได้ประโยชน์อะไรบ้างและเงินที่ลูกค้าจ่ายมาจะทำให้ธุรกิจของเราอยู่รอดและเดินหน้าต่อเนื่องอย่างไรได้บ้าง เป็นอีกหนึ่งเทคนิคในการสนทนาที่เรียกว่าเป็นการเปิดใจคุยกันก็ได้
4.ตั้งคำถามปลายเปิด ให้ลูกค้าแสดงความเห็นได้มากที่สุด
การสนทนาเพื่อปิดการขายที่ดี เราต้องไม่ไล่ต้อนลูกค้าจนรู้สึกอึดอัด ไม่ยัดเยียดการขายมากเกินไป การขายที่ต้องทำให้ลูกค้ารู้สึกสบายใจที่ได้พูดได้อธิบาย ดังนั้นคำถามปลายเปิดจึงสำคัญมาก เช่นเราถามลูกค้าว่า “สินค้าตัวนี้ยังมีอะไรที่ลูกค้าไม่พอใจ”
หรือ “ถ้าตัดสินใจซื้อสินค้าตัวนี้ลูกค้าจะมีผลกระทบอะไรบ้าง” เป็นต้น คำตอบของลูกค้าที่ได้เราต้องนำมาใช้เพื่อเสนอทางออกให้กับลูกค้า เมื่อปัญหาได้รับการแก้ไข ก็จะนำไปสู่การตัดสินใจซื้อสินค้าได้แม้ว่าจะมีราคาสูงขึ้นก็ตาม
5.นำเสนอถึงความทันสมัยของสินค้า
เช่น “สินค้าใหม่เพิ่งเข้ามาวันนี้เลยนะคะ นะครับ” “ตัวนี้กำลังฮิตเลยนะ เหมือนกับที่นางเอกเรื่องนั้น เรื่องนี้ ใส่ในละครเลยค่ะ/ครับ” หรืออาจเป็น ยกบริษัทใหญ่ๆ ก็มาซื้อสินค้าตัวนี้ไปใช้ ตรงนี้ถือเป็นประโยคสุดฮิตที่ได้ยินบ่อยจากพ่อค้าแม่ขาย ใช้ในการกระตุ้นความอยากของลูกค้าให้ตัดสินใจซื้อได้ง่ายขึ้น
ประโยคเหล่านี้สร้างยอดขายให้ร้านค้าได้เป็นจำนวนมาก แม้สินค้าจะมีราคาสูง เพราะลูกค้าส่วนใหญ่ชื่นชอบสินค้าที่มีความทันสมัย เนื่องจากสินค้าบางประเภทมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้า เครื่องใช้ต่างๆ คำพูดที่กล่าวถึงความทันสมัยเหล่านี้ จึงเป็นตัวกระตุ้นความอยากให้ลูกค้าซื้อของในร้านได้เป็นอย่างดีด้วย
6.ทักทายและชมจุดเด่นของลูกค้า
ตามหลักจิตวิทยาแล้วคนส่วนใหญ่ต้องการให้ทุกคนยอมรับ การขายที่ดีต้องรู้จักสังเกตเช่นการขายเครื่องสำอางเป็นตัวอย่างที่ดีที่สุด การชมว่าลูกค้าหน้าสวย หน้าใส หรือการขายอาหารเสริมแล้วชมว่าลูกค้าหุ่นดี ไม่มีไขมัน
สิ่งเหล่านี้ต่อยอดไปสู่การนำเสนอขายสินค้าได้ อย่างไรก็ดีสินค้าของเราเองก็ต้องดีและมีคุณภาพด้วยเช่นกัน ให้ลูกค้าที่ซื้อไปแล้วเกิดความประทับใจนำไปบอกต่อ จะเป็นการประชาสัมพันธ์สินค้าโดยที่เราไม่ต้องโฆษณาแต่อย่างใด
อย่างไรก็ดีทักษะการขายในยุคค่าครองชีพแพง นอกจากวิธีการพูดจูงใจให้ลูกค้าอยากซื้อ ในส่วนของธุรกิจเองก็ต้องมีวิธีบริหารจัดการที่ดี ควบคุมต้นทุนตัวเองให้ไม่สูงเกินไป เพื่อไม่ให้ต้องแบกภาระต้นทุนที่มากเกินความจำเป็น จะได้ไม่ไปกระทบกับราคาขายสินค้าที่ต้องเพิ่มมากขึ้น และหากเป็นไปได้เมื่อต้นทุนวัตถุดิบต่างๆมีราคาลดลง สินค้าก็ควรปรับราคาให้ลดลงตามกลไกด้วยเช่นกัน
ขอบคุณข้อมูล https://bit.ly/2PDPb6M , https://bit.ly/3gq20iI , https://bit.ly/38AnXGA , https://bit.ly/2YInrSo
อ้างอิงจาก https://bit.ly/3HM2iwl
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์
1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์
- กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
- ชื่อกิจการ (Brand)
- การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
- การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
- การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
- การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
- การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
- การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
- การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์
2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ
- ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
- ระบบการเงิน การบัญชี
- งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
- รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
- ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
- กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ
3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์
- ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
- แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
- สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
- เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
- มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
- มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
- ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
- แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี
4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์
- กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
- การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
- สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
- การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
- เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ
5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายแฟรนไชส์
- ระบบการเงิน
- ค่าธรรมเนียมต่างๆ
- ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
- การจดทะเบียนแฟรนไชส์
- เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
- ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
- การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
- แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
- การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
- การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า
6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น
7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
- พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
- ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
- การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
- เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
- จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์
8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์
- การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
- กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
- กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
- การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
- การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
- การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
- กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
- กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)