6 เทคนิค กับ 1 “คู่มือ” สร้างมาตรฐานแฟรนไชส์เทียบเท่าสากล

แฟรนไชส์ แม้จะเป็นทางลัดสำหรับเจ้าของธุรกิจที่ต้องการขยายธุรกิจให้เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ใช้เงินลงทุนไม่มากนัก แต่การบริหารธุรกิจแฟรนไชส์ให้ประสบความสำเร็จแบบยั่งยืน จำเป็นต้องมีองค์ประกอบสำคัญหลายประการ

ดังนั้น แนวทางการพัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ให้มีมาตรฐานสากล จึงเป็นอีกแนวทางในการสร้างความน่าเชื่อถือให้กับนักลงทุน ผู้บริโภค รวมถึงสร้างการเจริญเติบโตให้ธุรกิจแฟรนไชส์อย่างยั่งยืน

วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะแนะนำ 6 เทคนิค กับ 1 “คู่มือ” การสร้างธุรกิจแฟรนไชส์ให้มีคุณภาพมาตรฐาน ก่อนจะขายแฟรนไชส์ สำหรับเจ้าของธุรกิจที่อยากขยายธุรกิจในรูปแบบแฟรนไชส์ครับ

1.กำหนดวิสัยทัศน์และเป้าหมายแฟรนไชส์

6 เทคนิค กับ

วิสัยทัศน์และเป้าหมายการทำธุรกิจของเจ้าของแฟรนไชส์ต้องมีความชัดเจน และไม่เก็บเป้าหมายไว้ที่ตนเอง ต้องถ่ายทอดและสื่อสารให้กับบุคลากรและแฟรนไชส์ซีให้เดินไปในทิศทางเดียวกัน ประสบการณ์เรียนรู้ของเจ้าของแฟรนไชส์มียาวนาน มีการเรียนรู้ปัญหา อุปสรรค ความล้มเหลว การแก้ไข ตลอดจนแนวทางที่ทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จได้อย่างยั่งยืน

2.สร้างกระบวนการถ่ายทอดองค์ความรู้

20

เจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์ให้ความสำคัญกับเครื่องมือการถ่ายทอดองค์ความรู้ในการดำเนินธุรกิจให้เป็นมาตรฐานเดียวกันในทุกสาขาแฟรนไชส์ เช่น ทำคู่มือการปฏิบัติการแฟรนไชส์ ระบบบริหารจัดการหน้าร้าน (Point of Sale : POS) สัญญาแฟรนไชส์ เป็นต้น มีระบบการติดตามควบคุมมาตรฐานการปฏิบัติงานของทุกสาขาแฟรนไชส์ให้เป็นไปในมาตรฐานเดียวกัน

0a

บริการ #รับร่างสัญญาแฟรนไชส์ (Franchise Agreement) คลิก https://bit.ly/3laByLS

0i
บริการ #รับสร้างระบบแฟรนไชส์ (System Franchise) คลิก https://bit.ly/3BUda7Z

0f

บริการ #รับจดเครื่องหมายการค้า (Trade mark) คลิก https://bit.ly/3jXGMeO

3.สร้างระบบการบริหารจัดการร้าน

19

ตั้งแต่การเปิด-ปิดร้าน การทำงานของพนักงาน ชุดพนักงาน การบริการลูกค้า การจัดวางสินค้าและบริการ การสั่งซื้อวัตถุหรือสินค้า การขาย การเงิน-บัญชี ต้องมีการกำหนดตัวชี้วัดที่ชัดเจน ครอบคลุมแต่ละกระบวนการบริหารจัดการและการปฏิบัติงาน มีวิธีการติดตามการดำเนินงานในแต่ละกระบวนการทำงาน พร้อมเก็บบันทึกข้อมูลอย่างถูกต้อง เพื่อทบทวนและวิเคราะห์ผลอย่างเป็นระบบ พร้อมส่งต่อผลที่ได้รับสู่ผู้ปฏิบัติและแฟรนไชส์ซี

4.สร้างกระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซี

17

เจ้าของธุรกิจที่อยากทำแฟรนไชส์ต้องใส่ใจในกระบวนการคัดสรรบุคลากร และแฟรนไชส์ซีที่มีคุณสมบัติเหมาะสมคู่ควรกับธุรกิจแฟรนไชส์ โดยยึดหลักการเติบโตเรียนรู้ไปด้วยกัน พึงระวังอย่าคัดเลือกแฟรนไชส์ซีเข้ามาเพราะมีเงินลงทุน แต่คัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่มีวิสัยทัศน์และมีเป้าหมายการทำธุรกิจ รวมถึงมีจิตวิญญาณในการเป็นเจ้าของธุรกิจอย่างแท้จริง

5.สร้างมาตรฐานด้วย “คู่มือ” แฟรนไชส์

16

คู่มือการทำงานของธุรกิจแฟรนไชส์เปรียบเสมือนแผนที่บอกเส้นทางการทำงาน ระบุจุดเริ่มต้น รายละเอียด ไปจนถึงจุดสิ้นสุดของกระบวนการทำงาน สำหรับคู่มือแฟรนไชส์คู่ยังเปรียบได้กับสินค้าและบริการ เพราะเป็นแหล่งรวมองค์ความรู้ต่างๆ ประสบการณ์ หรือเทคนิคการบริหารงานของแฟรนไชส์นั้นๆ เรียกได้ว่าเป็นคัมภีร์ หรือเป็นทรัพย์สินของธุรกิจ

6.สร้างเอกลักษณ์ให้กับธุรกิจแฟรนไชส์

18

ธุรกิจแฟรนไชส์ที่ประสบความสำเร็จต้องสร้างความแตกต่างที่เป็นเอกลักษณ์ ตอบโจทย์ความต้องการเชิงลึกของลูกค้าเป้าหมาย มีวิธีการนำเสนอที่มีเสน่ห์ มีการสร้างตัวตนของธุรกิจ มีการกำหนดกลยุทธ์แฟรนไชส์ที่ชัดเจนบนพื้นฐานข้อมูลที่ถูกต้อง โดยเฉพาะการกำหนดวิธีการให้สิทธิ ค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ ตลอดจนพื้นที่ให้สิทธิและระยะเวลาการให้สิทธิ

7.สร้างมาตรฐานของสินค้าและบริการ

22

เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับการทำธุรกิจแฟรนไชส์ เพราะการมีแฟรนไชส์ซีหลายสาขา หากจะรักษาคุณภาพมาตรฐานสินค้าและบริการให้คงอยู่ดังเดิมคงเป็นเรื่องยาก และทำให้หลายๆ แฟรนไชส์ไปไม่ถึงฝั่งฝันมาแล้ว แต่ยังมีสิ่งที่จะช่วยให้เจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์สามารถควบคุมคุณภาพและมาตรฐานสินค้าและบริการได้ นั่นคือ “คู่มือแฟรนไชส์” เพราะจะทำให้แฟรนไชส์ซีแต่ละสาขานำไปปฏิบัติในแนวทางเดียวกันได้อย่างถูกต้องและเป็นมาตรฐานเดียวกันทุกสาขา

0f

บริการ #รับจดเครื่องหมายการค้า (Trade mark) คลิก https://bit.ly/3jXGMeO

นั่นคือ 6 เทคนิค กับ 1 คู่มือแฟรนไชส์ สำหรับสร้างธุรกิจแฟรนไชส์ให้มีคุณภาพมาตรฐาน ก่อนจะทำการขายแฟรนไชส์

Franchise Tips

  1. กำหนดวิสัยทัศน์และเป้าหมายแฟรนไชส์
  2. สร้างกระบวนการถ่ายทอดองค์ความรู้
  3. สร้างระบบการบริหารจัดการร้าน
  4. สร้างกระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซี
  5. สร้างมาตรฐานด้วย “คู่มือ” แฟรนไชส์
  6. สร้างเอกลักษณ์ให้กับธุรกิจแฟรนไชส์
  7. สร้างมาตรฐานของสินค้าและบริการ

อ้างอิงจาก https://bit.ly/2X5rnzN

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

 

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช