6 เทคนิคอัพธุรกิจอาหารให้กำไรพุ่งปรี๊ด!
แนวโน้มของอุตสาหกรรมอาหารในประเทศไทยปี 2561 นั้นคาดการณ์ว่าจะมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น 5.3-10.3% เมื่อเทียบกับปี 2560 โดยมีมูลค่าการส่งออกอยู่ในช่วง 1.07-1.12 ล้านล้านบาท โดยอาเซียนยังคงเป็นตลาดส่งออกที่สำคัญของไทย รองลงมาคือตลาดญี่ปุ่น อเมริกา จีน และแอฟริกา
แน่นอนว่าสินค้าอาหารที่เป็นไฮไลท์ในการส่งออกยังเป็นผลไม้สด ตามด้วยเครื่องดื่มชูกำลัง ผลิตภัณฑ์เบเกอรี่ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ต่างๆ การลงทุนในธุรกิจอาหารนั้นใช้เงินทุนในการเริ่มต้นที่มากพอควรรวมถึงต้องมี Know how ในการทำธุรกิจที่ดีมากพอ รวมถึงยังต้องรู้จักการศึกษาตลาดเพื่อให้ก้าวทันความต้องการที่แท้จริง ซึ่ง www.ThaiSMEsCenter.com มี6เทคนิคน่าสนใจของผู้ประกอบการที่ควรศึกษาแนวทางเอาไว้จะได้ทำกำไรในธุรกิจนี้ได้เพิ่มสูงปรี๊ดยิ่งขึ้น
1.อย่ายึดติดกับสินค้าอาหารแบบเดิม
สินค้าอาหารยุคเก่าเน้นที่วัตถุดิบอย่างพวกข้าว ไก่ กุ้ง ทูน่า ปลากระป๋อง ที่มีการอัดกระป๋องจำหน่ายแต่ในโลกยุคใหม่สินค้าเหล่าความต้องการยังพอมีแต่อุตสาหกรรมก็ควรจับเอากลุ่มใหม่ที่มาแรงไม่แพ้กันเช่นอาหารสำหรับผู้ป่วยและผู้สูงอายุ รวมถึงผลิตภัณฑอาหารเสริมสุขภาพ ซึ่งในบ้านเรามีวัตถุดิบที่ดีสามารถผลิตสิ่งเหล่านี้ให้เป็นที่ต้องการในตลาดโลกได้
2.ก้าวตามตลาดส่งออกให้ทัน
เมื่อก่อนตลาดใหญ่ของเราอาจเป็นอเมริกาหรือยุโรปแต่ปัจจุบันในอาเซียนอย่างจีน ญี่ปุ่นก็มีกำลังซื้อที่น่าสนใจ การจะไปยึดติดอยู่กับตลาดเดิมโดยไม่หาตลาดแห่งใหม่รองรับถือเป็นความผิดพลาดที่ร้ายแรง นอกจากนี้ผู้ประกอบการธุรกิจอาหารควรเพิ่มนวัตกรรมในการผลิตให้มากขึ้น จากตัวเลขอุตสาหกรรมอาหารเมืองไทยที่มีอยู่ประมาณ 110,000 ราย เป็นรายใหญ่มีแค่ประมาณ 600 รายที่เหลือคือบรรดา SME ดังนั้นการส่งเสริมศักยภาพตัวเองในการผลิตให้ดียิ่งขึ้นก็เป็นหนทางการสร้างกำไรที่ดีอีกทางหนึ่งเช่นกัน
3.ตามเทรนด์สินค้าให้ทัน
ทุกวันนี้เทรนด์ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของอาหารหรือตัวบรรจุภัณฑ์มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว อย่างเช่น การใช้นาโนเทคโนโลยีเข้ามาทำเป็นตัวแพ็กเกจจิ้งที่สามารถเปลี่ยนสีได้เมื่อใกล้วันหมดอายุ ซึ่งเป็นผลดีต่อผู้บริโภค นอกจากนี้รูปร่างของตัวบรรจุภัณฑ์ต้องมีความคิดสร้างสรรค์ แปลกใหม่และแตกต่างเพื่อดึงดูดความสนใจของผู้บริโภค
4.สินค้าต้องบอกเล่าเรื่องราวได้
การที่ทำให้สินค้ามีStory คือการเพิ่มมูลค่าที่เห็นผลชัดเจน การติดฉลากจึงไม่ควรเป็นฉลากธรรมดาที่มีแค่วันผลิต ส่วนผสมหรือวันหมดอายุ สิ่งที่ควรเพิ่มเข้าไปในฉลากคือข้อมูลเบื้องลึกของผลิตภัณฑ์เช่น ต้องบอกแหล่งที่มาของวัตถุดิบ ว่าทำจากอะไร ใครปลูก มีประวัติทำมาแล้วกี่ปี พอมาสกัดเป็นสินค้าแล้วมีอะไรเพิ่มขึ้น ใช้แล้วจะเกิดประโยชน์ต่อคนกินอย่างไร ที่เห็นบางแบรนด์ทำกันคือการสแกนฉลากแล้วข้อมูลต่างๆ ก็จะปรากฏบนโทรศัพท์ทันที เป็นต้น
5.รู้จักการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีลดต้นทุนการผลิต
ยุคนี้มีเทคโนโลยีมากมายที่เข้ามาทำงานแทนการจ้างงานได้ ไม่ได้ปฏิเสธว่าแรงงานมนุษย์ไม่ดีแต่บางอย่างก็สามารถใช้เทคโนโลยีเข้ามาลดต้นทุนการผลิตได้ เช่น การใช้บาร์โค้ดเข้ามาช่วยในการเช็คสต็อกสินค้าที่โกดังแทนการคีย์ข้อมูล เพราะเพียงแค่ยิงเลเซอร์ลงบนบาร์โค้ดข้อมูลก็จะปรากฏบนคอมพิวเตอร์ เป็นการช่วยประหยัดเวลาและลดต้นทุนในการจ้างบุคลากรได้ด้วย
6.ลดความเสี่ยงด้วยการใช้นวัตกรรมใหม่ๆ
ภาพจาก https://goo.gl/UYKuhm
ความเสี่ยงที่ว่าคือต้นทุนอย่างหนึ่งที่ทำให้ผู้ประกอบการตั้งจ่ายเงินโดยไม่จำเป็นเช่นการได้รับอุบัติเหตุของคนงานที่นายจ้างต้องเสียค่ารักษาพยาบาล เสียเวลาในการหาลูกจ้างใหม่ๆ ซึ่งปัจจุบันมีเทคโนโลยีอย่างแขนกลหรือหุ่นยนต์ที่เราสามาถเอามาเสริมทำงานที่มีความเสี่ยงได้ ซึ่งได้ผลดีกว่าการใช้แรงงานคนรวมถึงไม่ต้องเสียต้นทุนในการรักษาพยาบาลเมื่อเกิดอุบัติเหตุและไม่ทำให้กระบวนการผลิตต้องสะดุดถือเป็นการเซฟต้นทุนที่เพิ่มกำไรได้อีกทางหนึ่งด้วย
อุตสาหกรรมอาหารในประเทศไทยยังเป็นธุรกิจที่ทำรายได้เข้าประเทศได้มากประมาณกว่าปีละ 800,000 ล้านบาท แต่ผู้ลงทุนในธุรกิจนี้ก็ต้องมีการก้าวตามเทรนด์ของการลงทุนให้ดี ก้าวตามกระแสความต้องการสินค้าที่ดี ที่สำคัญต้องไม่หยุดพัฒนาตัวเองจะช่วยทำให้ธุรกิจของเราเติบโตได้ดียิ่งขึ้น
SMEs Tips
- อย่ายึดติดกับสินค้าอาหารแบบเดิม
- ก้าวตามตลาดส่งออกให้ทัน
- ตามเทรนด์สินค้าให้ทัน
- สินค้าต้องบอกเล่าเรื่องราวได้
- รู้จักการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีลดต้นทุนการผลิต
- ลดความเสี่ยงด้วยการใช้นวัตกรรมใหม่ๆ
สำหรับท่านใดที่ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจเรามีรวบรวมบทความมากมาย ติดตามได้ที่ goo.gl/Io5k2S