6 ขั้นตอนสร้างแฟรนไชส์ให้มีมาตรฐานสากล

ต้องยอมรับว่า ปัจจุบันระบบธุรกิจแฟรนไชส์ของไทย กำลังได้รับความนิยมกันอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะหน่วยงานอย่างกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ได้พยายามที่จะเร่งผลักดันให้ผู้ประกอบการ มีความสามารถต่อยอดธุรกิจ เพื่อ พัฒนาระบบแฟรนไชส์ให้มีมาตรฐาน และสามารถแข่งขันกับแบรนด์แฟรนไชส์ต่างชาติได้อย่างแข็งแกร่ง

แต่ทั้งนี้ผู้ประกอบการไทยเอง ก็ต้องเร่งปรับปรุงและสร้างระบบธุรกิจแฟรนไชส์ของตัวเองด้วย รวมถึงมีแผนการดำเนินการที่ดี เพื่อให้ธุรกิจสามารถก้าวเดินได้ทั้งการรุกและรับกับแบรนด์ต่างชาติได้

ยิ่งข่าวการระเบิดของร้านซักอบแห้ง บริเวณถนนอินทามาระ 36 เขตดินแดง แสดงให้เห็นถึงความไม่มีมาตรฐานของแฟรนไชส์จากประเทศจีนเป็นอย่างยิ่ง

วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com มีกลวิธีการสร้างระบบธุรกิจแฟรนไชส์ให้มีมาตรฐาน เพื่อเป็นเกราะคุ้มกันปกป้องแฟรนไชส์ซี และป้องกันความล้มเหลวให้กับแฟรนไชส์ซอร์ มาฝากท่านผู้ประกอบการที่สนใจทำแฟรนไชส์ครับ

1.สร้างแบรนด์และวางระบบจัดการร้านสาขาให้มีมาตรฐาน

ต้องยอมรับว่า

ก่อนที่สร้างธุรกิจสู่ระบบแฟรนไชส์ ธุรกิจที่คุณทำอยู่นั้นต้องเป็นที่ชื่นชอบและได้รับความนิยมจากลูกค้าเป็นอย่างมาก จนมีผู้คนพูดถึงแบรนด์และหาสถานที่ซื้อสินค้าและบริการของคุณ

ซึ่งจากตรงนี้เชื่อว่าแบรนด์สินค้าของคุณ น่าจะเป็นที่รู้จักของผู้คนไม่มากก็น้อย เหลือเพียงแต่ว่าคุณอาจจะทำการตลาด เพื่อสร้างแบรนด์ให้คนรู้จักเพิ่มขึ้นหรือไม่เท่านั้น

เมื่อลูกค้ามายืนต่อคิวเป็นแถวๆ นั่นก็แสดงให้เห็นอีกว่าสินค้าคุณมีมาตรฐาน คุณเอาใส่ รักษารสชาติไม่ให้เปลี่ยนแปลง หลังจากนั้นถ้าคุณขยายสาขาเพิ่ม รักษามาตรฐานสินค้า อาจต้องสร้างระบบการจัดการร้านให้มีมาตรฐานขึ้นอีก

เพื่อใช้เป็นต้นแบบให้กับร้านสาขาที่จะขยายต่อไปในอนาคต ทั้งระบบการวางสินค้า ระบบการผลิตสินค้า จัดตกแต่งร้าน สร้างบรรยากาศในร้าน ระบบบัญชี สต็อกสินค้า ระบบการจัดซื้อวัตถุดิบ เป็นต้น

2.ศึกษาทำความเข้าใจระบบแฟรนไชส์ให้ถ่องแท้

j5

หลังจากที่คุณมีสาขาธุรกิจมากพอสมควรแล้ว มีระบบการบริหารจัดการสาขาที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน ลูกค้าเข้าร้านไหนจะได้สินค้าและบริการรูปแบบเดียวกันหมด

จนมีคนสนใจซื้อแฟรนไชส์จากคุณ ถ้าคุณยังไม่รู้เรื่องระบบแฟรนไชส์ ก็อย่ารีบร้อนด่วนสรุปขายแฟรนไชส์ไป ต้องศึกษาทำความเข้าใจระบบแฟรนไชส์ให้รู้อย่างลึกซึ้งเสียก่อน

มิเช่นนั้นอาจเจ๊งทั้ง 2 ฝ่ายก็ได้ เพราะจริงๆ แล้วเรื่องของมาตรฐานแฟรนไชส์เกิดขึ้นจากตัวแฟรนไชส์ซอร์เอง ถ้าแฟรนไชส์ซอร์ไม่รู้เรื่องระบบแฟรนไชส์อย่างแท้จริง ก็ไม่สามารถที่จะทำแฟรนไชส์ให้มีมาตรฐานได้

3.แฟรนไชส์ซอร์ต้องรักในแบรนด์ตัวเอง

k2

ถือว่าสำคัญอยู่ไม่น้อย หากคุณคิดจะทำแฟรนไชส์ให้มีมาตรฐาน เพราะหากคุณรักในแบรนด์สินค้าและบริการที่ตัวเองสร้างขึ้นมาแล้ว จะทำให้สามารถคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่มีมาตรฐาน เข้ามาสู่ระบบแฟรนไชส์ของคุณได้อย่างมีคุณภาพ

แฟรนไชส์ซีก็จะรักและหวงแหนในแบรนด์คุณด้วย หรือถ้าหากคุณไม่สนใจแบรนด์คุณเลยว่า เขาจะนำไปทำอะไรบ้าง แฟรนไชส์ซีที่คุณคัดเลือกเข้ามา เชื่อเลยว่าไม่มีมาตรฐานแน่นอน เพราะคุณหวังเงินค่าแฟรนไชส์อย่างเดียว

4.มีกระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซี

k6

การทำธุรกิจแฟรนไชส์ไม่เหมือนกับการลงทุนในหุ้นทั่วๆ ไป ที่เอาเงินมาซื้อก็จบกันไป แฟรนไชส์ซีนอกจากจะลงทุนด้วยเงินแล้ว ยังต้องลงทุนด้วยแรงกาย แรงใจ และความทุ่มเทในการบริหารจัดการร้านให้ประสบความสำเร็จ มีความรู้ความเข้าใจระบบแฟรนไชส์เป็นอย่างดี อีกทั้งยังต้องไว้วางใจแฟรไชส์ซอร์ด้วย

ดังนั้น แฟรนไชส์ซีที่คุณเลือกเข้ามาต้องมีมาตรฐานด้วย อย่าเลือกเอาคนที่มีเงินลงทุนอย่างเดียว แต่ไม่มีความรู้เรื่องระบบแฟรนไชส์ดีพอ ถ้าคุณคัดเลือกเอาแฟรนไชส์ซีเพียงเพราะเงินอย่างเดียว รับรองหายนะจะมาเยือนคุณทันที เพราะฉะนั้นระบบแฟรนไชส์จำเป็นต้องมีมาตรฐานทั้งแฟรนไชส์ซอร์และแฟรนไชส์ซีด้วย

5.สร้างมาตรฐานให้แฟรนไชส์ซี

k7

อย่างที่ได้กล่าวไปแล้ว มาตรฐานแฟรนไชส์ที่จะเกิดขึ้นไม่ได้อยู่ที่เจ้าของแฟรนไชส์อย่างเดียว แต่ยังรวมถึงผู้ซื้อแฟรนไชส์จากคุณไปด้วย หลังจากที่คุณตัดสินใจขายแฟรนไชส์ไปแล้ว

คุณจะต้องมีระบบการอบรม การบริหารจัดการร้าน การทำบัญชี การสั่งซื้อสินค้าและวัตถุดิบ การให้บริการ รวมถึงระบบการปฏิบัติการต่างๆ ตามแบบร้านต้นแบบให้กับแฟรนไชส์ซีด้วย เพื่อสร้างมาตรฐานแฟรนไชส์ให้เป็นไปในทิศทางและรูปแบบเดียวกัน

6.การขอรับการรับรองมาตรฐานแฟรนไชส์ จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า

k9

เมื่อกระบวนการแฟรนไชส์ทุกอย่างที่คุณสร้างขึ้นมา ได้มีรูปแบบและมาตรฐานเดียวกันแล้ว คุณอาจจะต้องยื่นเรื่องต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ให้ส่งเจ้าหน้าที่ทำการประเมินระบบธุรกิจแฟรนไชส์ของคุณ

เพื่อขอรับการรับรองมาตรฐานแฟรนไชส์ ซึ่งจะส่งผลให้ธุรกิจแฟรนไชส์ของคุณมีความน่าเชื่อมากขึ้น อาจจะนำไปสู่การขยายสาขาไปต่างประเทศก็ได้ แต่ทั้งนี้ จริงๆ แล้ว ธุรกิจแฟรนไชส์จะมีมาตรฐานหรือไม่นั้น ไม่ได้อยู่ที่ตราอย่างเดียว แต่ขึ้นอยู่ที่ผู้ประกอบการด้วยเช่นเดียว

ขั้นตอนและกระบวนการตรวจประเมินมาตรฐานแฟรนไชส์แบบคร่าวๆ

สำหรับหลักเกณฑ์การประเมินมาตรฐานแฟรนไชส์ ที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์จัดทำขึ้น มีขั้นตอนดังนี้

k8

1.การประเมินตนเอง (Self Assessment Franchise Test)

คะแนนเต็มเท่ากับ 450 คะแนน จะต้องผ่านเกณฑ์มาตรฐานที่ 320 คะแนน โดยมีคำถามได้แก่ ข้อมูลแฟนไชส์, ความเชี่ยวชาญในธุรกิจ, การสร้างภาพพจน์องค์กร, อัตราการทำกำไรของธุรกิจ, ชื่อเสียงและแบรนด์,

ภาวการณ์แข่งขันธุรกิจ, การจัดกลุ่มเป้าหมาย, ลักษณะเฉพาะของธุรกิจ, การบริหารจัดการองค์กรและการให้บริการ, งบประมาณของธุรกิจ และรูปแบบการจัดร้านค้า

k10

2.ประเมินโดยนักวินิจฉัย (Total Quality Franchise Management)

คะแนนเต็มเท่ากับ 1,000 คะแนน คุณจะต้องผ่านเกณฑ์มาตรฐานที่ 668 คะแนน ซึ่งนักวินิจฉัยจะเข้าไปตรวจสอบ ณ สถานประกอบการ และสัมภาษณ์ทีมบริหารแฟรนไชส์นั้น ใน 7 หัวข้อหลักดังนี้

  1. การนำองค์กร
  2. การพัฒนากลยุทธ์
  3. การมุ่งเน้นที่ลูกค้าและตลาด
  4. การวัดวิเคราะห์ การจัดการความรู้
  5. การมุ่งเน้นทรัพยากรบุคคล
  6. การจัดการกระบวนความรู้
  7. ผลลัพธ์ทางธุรกิจ

k11

3.ประเมินโดยคณะกรรมการคัดเลือกแฟรนไชส์ไทยมาตรฐานคุณภาพ

เมื่อธุรกิจได้ผ่านการประเมินจากคะแนน SAFT และ TQFM จะมีคณะกรรมการตรวจสอบและพิจารณาเป็นขั้นตอนสุดท้าย ก่อนออกใบประกาศรับรองมาตรฐานคุณภาพแฟรนไชส์จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์

เห็นได้ว่ามาตรฐานระบบธุรกิจแฟรนไชส์จะเกิดขึ้นได้ กระบวนการแรกอยู่ที่แฟรนไชส์ซอร์ หรือเจ้าของธุรกิจเอง ที่ต้องทำให้ธุรกิจของตัวเองมีมาตรฐานให้ได้ ก่อนที่จะขยายสาขาและขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น

โดยคุณต้องมีความตั้งใจ เอาใจใส่ รักในแบรนด์ สิ่งเหล่านี้จะทำให้ระบบธุรกิจแฟรนไชส์ของคุณมีมาตรฐานเอง ก่อนที่จะขอการรับรองมาตรฐานแฟรนไชส์จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เพื่อสร้างความเชื่อถือให้กับแฟรนไชส์คุณ

สำหรับใครที่อยากรู้ว่า ธุรกิจแฟรนไชส์ที่คุณทำอยู่นั้น ได้มาตรฐานหรือไม่ เชิญมาลองทดสอบทำแบบประเมินมาตรฐานแฟรนไชส์ได้ที่

แบบประเมินมาตรฐานแฟรนไชส์ goo.gl/Goiepf
อ่านบทความอื่นๆ จากไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ www.thaifranchisecenter.com
เลือกซื้อแฟรนไชส์ไทยขายดี เริ่มต้นธุรกิจ goo.gl/9GKqbL


Franchise Tips

  1. สร้างแบรนด์และวางระบบจัดการร้านสาขาให้มีมาตรฐาน
  2. ศึกษาทำความเข้าใจระบบแฟรนไชส์ให้ถ่องแท้
  3. แฟรนไชส์ซอร์ต้องรักในแบรนด์ตัวเอง
  4. มีกระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซี
  5. สร้างมาตรฐานให้แฟรนไชส์ซี
  6. การขอรับการรับรองมาตรฐานแฟรนไชส์ จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า

01565898888

ท่านใดสนใจอยากให้สร้างระบบแฟรนไชส์ แจ้งความประสงค์ได้ที่
โทร : 02-1019187, Line : @thaifranchise

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช