5 แนวทาง “เจ้าของแฟรนไชส์” เรียกคืน “โลโก้” โดยไม่ต้องฟ้องร้อง!!
ผู้เชี่ยวชาญแฟรนไชส์หลายๆ คนบอกว่า ระบบแฟรนไชส์เปรียบเสมือน “สามี-ภรรยา” กัน ช่วงสมัยเป็นโสดต่างมีวิธีคัดเลือกคู่ของตัวเองด้วยสารพัดวิธี แต่พออยู่กันไปนานๆ เกิดระหองระแหง ไม่ไว้ใจกัน เลิกรากัน อาจเป็นเพราะคนหนึ่งไปมีคนอื่น หรืออีกคนหนึ่งไม่ปฏิบัติตามกฎของครอบครัว
หากมองย้อนกลับมาที่ธุรกิจแฟรนไชส์กันบ้าง ก็มีส่วนคล้ายคลึงกัน หากแฟรนไชส์ซอร์คัดเลือกคู่ (แฟรนไชส์ซี) มาดีแล้ว ส่งเสริมธุรกิจกันไปเรื่อยๆ แต่วันหนึ่งแฟรนไชส์เกิดทำผิดสัญญา หรือนอกใจแฟรนไชส์ซอร์ ซึ่งแฟรนไชส์ซอร์สามารถยกเลิกสัญญา และเรียกคือเครื่องหมายการค้า รวมถึงอุปกรณ์ต่างๆ ในการดำเนินธุรกิจได้
วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะนำเสนอ 5 แนวทาง ที่แฟรนไชส์ซอร์สามารถเรียกคืน “เครื่องหมายการค้า หรือ โลโก้” จากแฟรนไชส์ซี หากคู่กรณีทำผิดเงื่อนไขและข้อปฏิบัติที่ระบุไว้ในสัญญาแฟรนไชส์ โดยอาจไม่ต้องฟ้องร้อง!!
1.ไม่ปฏิบัติตามกฎการดำเนินธุรกิจ
ภาพจาก https://pixabay.com/
เช่น ห้ามซื้อวัตถุดิบเอง, ห้ามเพิ่มเมนู ห้ามเปลี่ยนแปลงราคา, ห้ามวางสินค้าอื่นที่ไม่ใช่ตราสินค้า, ห้ามปรับเปลี่ยนและเผยแพร่สูตร, ห้ามตกแต่งเพิ่มเติม, ห้ามโยกสาขา หรือเปิดสาขาเพิ่ม และอื่นๆ ที่ได้ระบุไว้ในสัญญาแฟรนไชส์
2.สถานะของแฟรนไชส์ซีเปลี่ยนไป
ภาพจาก https://pixabay.com/
เช่น ล้มละลาย เสียชีวิต หรือไม่สามารถประกอบธุรกิจเองได้ ซึ่งในสัญญาเจ้าของแฟรนไชส์ควรจะระบุในสัญญาเอาไว้ด้วยว่า มีกรณีใดบ้างที่บอกเลิกสัญญาต่อกันได้ เช่น เสียชีวิต มีคดีผิดกฎหมาย หรือ กรณีผิดสัญญาร้ายแรง
3.ผลการดำเนินธุรกิจไม่เป็นไปตามเป้า
ภาพจาก https://pixabay.com/
หากระบุเงื่อนไขไว้ในสัญญาแฟนไชส์ โดยที่เจ้าของแฟรนไชส์ให้การช่วยเหลือและสนับสนุนในทุกๆ เรื่อง แต่ยอดขายไม่กระเตื้อง และไม่เป็นไปตามเป้าหมาย ขาดทุน ขณะที่สาขาแฟรนไชส์อื่นๆ แล้วกลับมียอดขายเพิ่ม และมีกำไรเพิ่มขึ้น แสดงแฟรนไชส์รายนี้ไม่ตั้งใจ หากปล่อยให้ดำเนินธุรกิจต่อไปอาจส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของแบรนด์ในอนาคตได้
4.ไม่จ่ายค่าสิทธิ และ ไม่ส่งรายงานธุรกิจ
ภาพจาก bit.ly/3CRYwPY
หากมีการระบุในสัญญาแฟรนไชส์ เรื่องการจ่ายค่าสิทธิรายเดือน (Royalty fee) รวมถึงการรายงานผลการดำเนินงานในแต่ละเดือนให้แฟรนไชส์ซอร์ แต่หากแฟรนไชส์ซีไม่ปฏิบัติตาม หรือปกปิดข้อเท็จจริง อันนำไปสู่ผลกระทบต่อยอดขาย ภาพลักษณ์ของแบรนด์ เมื่อแฟรนไชส์ซอร์ตักเตือนเป็นวาจาหรือหนังสือแล้ว ไม่ปฏิบัติตามหรือละเลย ก็ยกเลิกสัญญาได้
5.ไม่ปฏิบัติมาตรฐานความปลอดภัย
ภาพจาก https://pixabay.com/
แม้แฟรนไชส์ซอร์จะไม่ได้ระบุไว้ในสัญญาแฟรนไชส์ แต่ถ้าหากแฟรนไชส์ซีมีการบริหารจัดการร้าน ที่ไม่เป็นมาตรฐานความปลอดภัยในช่วงการระบาดวิด-19 และอื่นๆ หากแฟรนไชส์ซอร์ส่งหนังสือเตือนให้แฟรนไชส์ซีปฏิบัติตาม หรือพูคุยตกลงกันทางโทรศัพท์หลายๆ ครั้ง แต่ถ้าแฟรนไชส์ซีไม่ปฏิบัติตาม แฟรนไชส์ซอร์สามารถยกเลิกสัญญาได้
นั่นคือ 5 แนวทาง ที่เจ้าของแฟรนไชส์สามารถยกเลิกสัญญากับผู้ซื้อแฟรนไชส์ รวมถึงให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์ส่งคืนอุปกรณ์และเครื่องหมายการค้า (โลโก้) กลับคืนให้เจ้าของแฟรนไชส์ได้ โดยไม่ต้องฟ้องร้อง แต่ทั้งนี้ทั้ง 2 ฝ่ายต้องตกลงกันก่อน ก็เหมือนกับสามี-ภรรยา ว่าจะจากกันด้วยดี แบ่งมรดกกันดีๆ โดยไม่ต้องขึ้นโรงขึ้นศาลครับ
Franchise Tips
- ไม่ปฏิบัติตามกฎการดำเนินธุรกิจ
- สถานะของแฟรนไชส์ซีเปลี่ยนไป
- ผลการดำเนินธุรกิจไม่เป็นไปตามเป้า
- ไม่จ่ายค่าสิทธิ และ ไม่ส่งรายงานธุรกิจ
- ไม่ปฏิบัติมาตรฐานความปลอดภัย
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
อ้างอิงจาก https://bit.ly/3B1idmG
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)