5 เรื่องต้องรู้จากเทคนิค “สินค้า 0%”
5 เรื่องต้องรู้จากเทคนิค “สินค้า 0%” ใครที่เป็นขาช็อปถ้าเห็นคำว่า “Sale “ หรือ “0%” ส่วนใหญ่จะอดใจไม่ไหวต้องมีหยิบสักชิ้นสองชิ้นด้วยเชื่อว่าเป็นราคาสุดคุ้มที่หาได้ยาก หลายคนเชื่อว่าการตั้งโปรโมชั่นสินค้า 0% คือการคืนกำไรให้ลูกค้า และเจ้าของอยากขายสินค้าให้ได้มากๆ
ในความเป็นจริงที่ www.ThaiSMEsCenter.com อยากให้ทุกคนได้ทราบคือเรื่องจริงที่มากกว่าสิ่งที่เรารู้เพราะกลยุทธ์ 0% ที่ว่านี้เป็นกับดักทางการตลาดอย่างหนึ่งที่เอามาล่อตาล่อใจ เราอาจคิดว่าก็ไม่เห็นเป็นไรเราได้ของถูกมาก็พอ แต่ในความเป็นจริงมีลับลมคมในยิ่งกว่านั้น
1.การร่วมมือกันระหว่างร้านค้าและสถาบันการเงินที่เราไม่รู้ตัว
ภาพจาก https://goo.gl/t4mgR1
โดยเฉพาะในห้างสรรพสินค้าและร้านค้าใหญ่ๆมักจะจัดโปรสินค้าผ่อน 0% ซึ่งสินค้าส่วนใหญ่จะเป็นสินค้าแบบที่ผู้ซื้อต้องจ่ายดอกเบี้ย คำว่า 0%คือการที่สถาบันการเงินจะเป็นคนออกสินเชื่อค่าสินค้านั้นไปก่อน และนำดอกเบี้ยที่ได้จากบัตรเครดิตมาแบ่งกันกับห้างสรรพสินค้าหรือร้านค้าที่ร่วมรายการ
2.เป็นการดึงดูดให้เราอยากใช้บัตรเครดิตมากขึ้น
ภาพจาก https://goo.gl/DqzMr7
บัตรเครดิตก็คือเงินสดในอนาคต ส่วนใหญ่สินค้า 0% คือสินค้าที่มีระยะการผ่อนประมาณ 6-12 เดือน ถ้าเจอโปรโมชั่น 0% ย่อมดึงดูดใจให้เราอยากใช้บัตรเครดิต แน่นอนว่าบัตรเครดิตใบเดียวกันนี้จะสามารถใช้ผ่อนสินค้า 0% ได้อีกหลายอย่าง หากไม่ยับยั้งชั่งใจไว้บ้างนี่คือกับดักทางการเงินที่ร้ายกาจ ส่งผลให้เราเป็นหนี้บัตรเครดิตในวงเงินที่สูงจนเกินจะจ่ายไหว
3.การตลาดแบบปลาเล็กล่อปลาใหญ่
ภาพจาก https://goo.gl/f4aKNN
สิ่งที่เป็นการตลาดแบบปลาเล็กล่อปลาใหญ่คือเอาโปรโมชั่นน่าสนใจออกมาดึงดูดลูกค้าที่จะต้องมีคนสนใจเมื่อรวมๆกันหลายคนก็เหมือนปลาใหญ่ที่กินเหยื่อ ยกตัวอย่างดอกเบี้ย 0% ของสินค้าบางอย่างที่กำหนดระยะเวลาเช่น 3 เดือน 6 เดือน ส่วนนี้ทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าสามารถผ่อนชำระด้วยเงินที่เท่ากันต่อเดือนและไม่ต้องจ่ายดอกเบี้ย
แต่แท้ที่จริงเป็นแค่ช่วงแรกเท่านั้นเพราะหลังจากนี้หากยังผ่อนชำระไม่หมดเราก็ต้องมาจ่ายดอกเบี้ยในเดือนที่ไม่ได้อยู่ในเงื่อนไขเวลา เหมือนกับการดาวน์ 0% ในการซื้อรถยนต์ หรือได้ระยะเวลาผ่อนรถที่นานขึ้น ซึ่งการมีระยะเวลาในการผ่อนที่ยาวนานขึ้น เราก็ต้องจ่ายดอกเบี้ยมากขึ้น ยิ่งนานดอกเบี้ยยิ่งสูงขึ้นด้วย
4.ราคาสินค้าได้เพิ่มไปในตัวเรียบร้อยแล้ว
ภาพจาก https://goo.gl/oHw6Fm
มักเป็นกลยุทธ์ของร้านค้าหรือห้างสรรพสินค้าที่มีโบรชัวร์สินค้าของตัวเอง เพื่อให้ลูกค้ามาเปิดดูราคาและตัดสินใจเลือกจากข้อมูลภายในโบรชัวร์นั้นๆ เพราะลูกค้าส่วนใหญ่มักไม่ค่อยเปรียบเทียบราคาจากท้องตลาด หรือคิดว่าราคาต่างกันไม่มาก
จึงหลงติดกับ 0% เช่น สินค้าราคาตลาด 5,000 บาท แต่ในโบรชัวร์ติดป้ายราคา 5,900 บาท แต่ผ่อน 0% เมื่อคิดเป็นรายเดือนของเงินผ่อนก็ยอดเงินไม่สูงมาก แต่คิดรวบยอดจริงๆ แล้วราคาแพงกว่าไม่ได้ถูกอย่างที่คิด
5.มีทางเลือกในการปล่อยเงินกู้และบัตรกดเงินสด
ภาพจาก https://goo.gl/ZgGST8
ที่เห็นส่วนใหญ่เมื่อมีการจ่ายบัตรเครดิตและมีหนี้สะสมเพิ่มมากขึ้นหลายที่ คำแนะนำอย่างหนึ่งที่เห็นคือจะบอกให้เรา รวบยอดหนี้เหล่านั้นเป็นก้อนเดียวด้วยการใช้เงินกู้ หรือบัตรกดเงินสด มองในภาพรวมก็คือเป็นเรื่องดีที่อาจไม่ต้องจ่ายหนี้หลายแห่งแต่รวมหนี้ไว้ที่เดียวและจ่ายหนี้ก้อนเดียว ซึ่งธุรกิจบัตรเครดิตทั้งหลายก็มีการเตรียมส่วนนี้เอาไว้รองรับเป็นเหมือนวัฏจักรวนเวียนกันไป ดูเหมือนว่าจะช่วยได้แต่สุดท้ายคนเราก็ยังต้องเป็นหนี้บัตรเครดิตอยู่ดี
การมีบัตรเครดิตไม่ใช่สิ่งที่ผิด แต่ทั้งนี้ควรเลือกใช้ให้ถูกต้องคำนึงเสมอว่าการใช้บัตรแต่ละครั้งก็คือการเป็นหนี้เพิ่มขึ้น หนี้เหล่านี้เป็นหนี้สะสม เราใช้จ่ายง่าย คิดว่าสามารถผ่อนจ่ายได้ แต่ในความเป็นจริงในแต่ละเดือนอาจมีเหตุฉุกเฉินให้เราต้องใช้เงินที่เพิ่มขึ้น ซึ่งหากรายได้เราไม่ดีพอไม่มีการบริหารจัดการการเงินที่ดี การมีบัตรเครดิตก็เหมือนดาบสองคม นอกจากช่วยให้เราซื้อง่ายจ่ายคล่อง ยังช่วยให้เราเป็นหนี้หัวโตได้ง่ายขึ้นด้วย
SMEs Tips
- การร่วมมือกันระหว่างร้านค้าและสถาบันการเงินที่เราไม่รู้ตัว
- เป็นการดึงดูดให้เราอยากใช้บัตรเครดิตมากขึ้น
- การตลาดแบบปลาเล็กล่อปลาใหญ่
- ราคาสินค้าได้เพิ่มไปในตัวเรียบร้อยแล้ว
- มีทางเลือกในการปล่อยเงินกู้และบัตรกดเงินสด
สำหรับท่านใดที่ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจเรามีรวบรวมบทความมากมาย ติดตามได้ที่ goo.gl/Io5k2S