5 เทคนิคเปิดร้าน “ขายดี” ในยุค “คนไทยมีรายได้น้อย”
สินค้าราคาแพงคือเสียงสะท้อนของคนในสังคมไทย ปัญหานี้ไม่กระทบแค่คนซื้อแต่คนขายเองก็เจอปัญหาไม่ต่างกัน ต้นทุนวัตถุดิบที่แพงขึ้นทำให้ผู้ประกอบการหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ต้องปรับขึ้นราคาสินค้าเพื่อไม่ให้ขาดทุน เมื่อราคาสินค้าสูงสวนทางรายได้ของคนส่วนใหญ่ กำลังในการซื้อจึงลดลงอย่างเลี่ยงไม่ได้ เป็นปัญหาที่เรียกว่ากลืนไม่เข้าคายไม่ออกทั้งลูกค้าและผู้ประกอบการ
ด้วยเหตุนี้ www.ThaiSMEsCenter.com พยายามหาทางออกให้ผู้ประกอบการสามารถขายได้มากขึ้นในขณะที่คนซื้อรู้สึกคุ้มค่ากับสินค้าที่ได้รับ ซึ่งเทคนิคทั้ง 5 ที่เราจะพูดถึงต่อไปนี้สามารถนำมาปรับใช้ในการทำธุรกิจได้อย่างดี
1.สินค้าต้องเน้นความ “พรีเมี่ยม” มากขึ้น
แม้คำว่า “พรีเมี่ยม” จะดูสวนทางกับวิกฤติค่าครองชีพที่หลายคนไม่อยากจ่ายแพง ผู้ประกอบการเองก็ไม่อยากแบกต้นทุนในการพัฒนาสินค้าให้พรีเมี่ยม แต่ความพรีเมี่ยมไม่จำเป็นต้องหมายถึงความสวยงาม หรือวัสดุที่ราคาแพง แต่ใส่ไอเดียลงไปในสินค้าก็เรียกว่าพรีเมี่ยมได้เช่นกัน
เช่น สกินแคร์จากโสมป่าเกาหลี แพลงก์ตอนทะเล หรือโอมากาเสะที่ใช้วัตถุดิบหายาก หรือการออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่ทำให้ดูแตกต่างจากคู่แข่ง ก็ถือเป็นสินค้าพรีเมี่ยมที่ทำให้คนอยากซื้อได้มากขึ้นแม้จะมีราคาสูงขึ้นก็ตาม
2.สร้างอัตลักษณ์ให้กับสินค้า
คำว่าอัตลักษณ์คือภาพจำที่เมื่อพูดถึงชื่อแบรนด์แล้วคนนึกถึงได้ทันที ยกตัวอย่างสบู่นกแก้ว พูดถึงชื่อนี้คนนึกถึงห่อสบู่สีเขียว สบู่ก้อนเขียวๆ กลิ่นหอมๆ ติดทนนาน ถือเป็นการตลาดที่รักษาความเป็นอัตลักษณ์ตัวเองได้อย่างคงที่ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปสักกี่ปีคนก็ยังจำภาพลักษณ์นี้ไม่เปลี่ยนแปลง แม้สินค้าจะขึ้นราคาบ้าง
แต่เมื่อลูกค้ามั่นใจถึงคุณภาพสินค้าก็จะไม่คิดเปลี่ยนใจไปซื้อสินค้าแบรนด์อื่น หรือแม้แต่แบรนด์เครื่องใช้ไฟฟ้าที่โดดเด่นด้วยดีไซน์อย่างแบรนด์ SMEG และแบรนด์ Dyson ที่เป็นกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าระดับท็อปเหมือนกันแต่ทั้งคู่มีดีไซน์ที่เฉพาะตัว ชนิดที่มองทีเดียวก็ดูออก ว่าเป็นแบรนด์อะไรดังนั้น ดีไซน์ที่โดดเด่น และเป็นที่จดจำ ก็สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับแบรนด์ได้มาก
3.เน้นการให้บริการที่คุ้มค่าเกินราคา
ปัจจุบันการแข่งขันในทางธุรกิจสูงมาก สินค้าต้องพุ่งเข้าหาลูกค้าและการบริการก็คือหนึ่งในคีเวิร์ดสำคัญที่จะทำให้ลูกค้าตัดสินใจได้ง่ายขึ้น สินค้าใดก็ตามที่ให้บริการลูกค้าได้คุ้มค่าเกินราคา มักจะทำให้ลูกค้าเกิดความประทับใจและรู้สึกว่าแม้จะมีราคาสูงขึ้นบ้าง
แต่เมื่อแลกกับความพอใจก็ยินดีที่จะจ่าย สวนทางกับสินค้าบางอย่างที่ราคาถูกกว่าแต่ต้องมากลุ้มใจกับบริการที่แย่ๆ คนส่วนใหญ่จะเลือกจ่ายแพงให้กับบริการที่ดีกว่า และในยุคนี้เป็นสังคมออนไลน์แท้จริง สินค้าไหนบริการดีก็มักมีการรีวิว พูดถึงในโลกออนไลน์ ยิ่งมีการแชร์ออกไปเป็นวงกว้างนั้นหมายถึงการโฆษณาทางอ้อมให้กับสินค้าที่จะเพิ่มโอกาสในการขายได้มากขึ้นด้วย
4.ใส่ข้อมูลและฟังก์ชั่นการใช้งานที่ลูกค้ารู้สึกคุ้มค่า
สินค้าในยุคนี้แทบทุกอย่างต้องปรับขึ้นราคาตามต้นทุนวัตถุดิบที่มากขึ้น ลูกค้าเองรู้สึกว่าไม่คุ้มค่าถ้าต้องจ่ายแพงแต่ได้สินค้าแบบเดิม วิธีแก้ปัญหาคือสินค้าต้องแนะนำให้ลูกค้าได้มองเห็นภาพชัดเจนว่าสินค้านี้ดีกว่าอย่างไร ทำอะไรได้มากกว่าที่ลูกค้าต้องการ จะทำให้การตัดสินใจนั้นง่ายขึ้น
เช่น ร้านขายเทียนหอม ที่ไม่ควรเน้นการขายเพียงอย่างเดียวแต่ควรแนบการ์ดอธิบาย ว่าควรจุดเทียนที่ตำแหน่งไหนของห้อง พร้อมเหตุผล ควรดับเทียนอย่างไร เพื่อไม่ให้มีเขม่าควัน รวมถึงวิธีการเก็บรักษาที่ถูกต้อง ซึ่งวิธีนี้สามารถนำไปปรับใช้กับธุรกิจอื่นได้ด้วย
5.บรรจุภัณฑ์ต้องเน้นสะดวก สบาย
บรรจุภัณฑ์ที่ออกแบบมาใช้งานได้ยาก เช่น ฝาขวดเปิดยาก แกะซองลำบาก ฯลฯ ประเด็นเหล่านี้ผู้ประกอบการส่วนใหญ่มักมองข้าม แต่ก็ถือเป็นเรื่องสำคัญที่มีผลในการสร้างยอดขายได้อย่างมาก อย่างในญี่ปุ่นมีการคิดค้นนวัตกรรมที่ทำให้โยเกิร์ตไม่ติดฝาถ้วยได้
ซึ่งในปัจจุบันหลาย ๆ แบรนด์ก็หันมาใช้นวัตกรรมนี้ซึ่ง Meiji ที่คนไทยรู้จักกันดี ก็ใช้นวัตกรรมนี้เช่นกัน หรือขวดซอสมะเขือเทศที่เคยมีปัญหาเลอะเทอะปากขวด เทแล้วซอสกระฉูดเลอะเสื้อผ้าทำให้ทางบริษัทต้องพัฒนาปากขวดแบบที่สามารถบีบออกมาเป็นเส้นเล็ก ๆ แล้วเมื่อหยุดบีบ ก็จะไม่มีซอสหกเปรอะเปื้อนเหมือนเก่า เป็นต้น
แน่นอนว่าการพัฒนาบรรจุภัณฑ์เหล่านี้อาจมีการเพิ่มต้นทุนและทำให้สินค้ามีราคาสูงแต่เมื่อแลกกับความพอใจและหากมีแบรนด์คู่แข่งที่ยังไม่ปรับตัวให้ดีขึ้นก็จะยิ่งทำให้แบรนด์สินค้าเราดูโดดเด่น เป็นสินค้าที่แม้จะแพงกว่าแต่คนก็อยากจะซื้อ
อย่างไรก็ดีในการบริหารจัดการต้นทุนเพื่อพัฒนาสินค้าให้เข้าถึงผู้บริโภคและสร้างยอดขายที่แท้จริง ผู้ประกอบการควรเลือกพัฒนาในจุดที่สามารถนำไปแข่งขันในตลาดธุรกิจได้จริง และการพัฒนาต้องสร้างความแปลกใหม่ให้ลูกค้ารู้สึกถึงความโดดเด่นที่แตกต่าง และอาจไม่ใช่แค่การพัฒนาสินค้าเท่านั้น แต่รวมถึงการพัฒนาช่องทางการตลาด เทคนิคส่งเสริมการขายต่างๆ ที่ต้องทำให้สอดคล้องได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วย
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจติดตามได้ที่ https://bit.ly/335phDi
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter
ขอบคุณข้อมูล https://bit.ly/3NbbcGd , https://bit.ly/3wqbPF8 , https://bit.ly/3wm0fKS
อ้างอิงจาก คลิกที่นี่
8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์
1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์
- กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
- ชื่อกิจการ (Brand)
- การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
- การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
- การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
- การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
- การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
- การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
- การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์
2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ
- ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
- ระบบการเงิน การบัญชี
- งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
- รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
- ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
- กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ
3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์
- ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
- แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
- สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
- เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
- มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
- มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
- ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
- แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี
4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์
- กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
- การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
- สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
- การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
- เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ
5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายแฟรนไชส์
- ระบบการเงิน
- ค่าธรรมเนียมต่างๆ
- ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
- การจดทะเบียนแฟรนไชส์
- เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
- ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
- การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
- แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
- การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
- การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า
6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น
7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
- พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
- ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
- การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
- เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
- จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์
8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์
- การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
- กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
- กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
- การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
- การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
- การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
- กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
- กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)