5 เทคนิคสร้างแบรนด์ด้วย “ภาพจำ” ทำให้คนนึกถึง
อะไรคือ “ ภาพจำ ” เชื่อว่าหลายคนต้องย้อนถามด้วยประโยคนี้ ยกตัวอย่างง่ายๆ หากเราไปจีบสาวสักคนหมั่นส่งดอกไม้ให้เขาทุกวัน แม้ผู้หญิงจะไม่รู้ว่าดอกไม้นี่ของใครแต่คนรอบข้างรู้ดีว่านี่คือดอกไม้ของคุณ แต่มาวันหนึ่งคุณไม่ได้ส่งดอกไม้ไปให้ผู้หญิงคนนั้นแต่ดันมีดอกไม้มาวางที่โต๊ะเขาเหมือนเดิม
ซึ่งคนรอบข้างก็เข้าใจว่าคุณส่งดอกไม้มาเหมือนเดิม แต่กลายเป็นผู้ชายอีกคนที่ส่งดอกไม้มา และเขาก็เข้ามาเปิดตัวกับคนที่คุณชอบ ภาพจำของผู้หญิงคือผู้ชายคนนี้ส่งดอกไม้มาให้เธอทุกวันทั้งที่ความจริงมันเป็นคนละคนกันนี่แหละที่เรียกว่า “ภาพจำ”
www.ThaiSMEsCenter.com มองว่า “ภาพจำ” คือกลยุทธ์สำคัญอันหนึ่งในการตลาด สินค้าบางตัวสร้างคอนเทนต์ออกมาได้อย่างดี มีผู้คนชอบ ชื่นชม แต่พอถามว่าแบรนด์อะไร กลับจำไม่ได้ซะอย่างงั้น
คนที่ทำธุรกิจไม่ว่าจะแบรนด์ไหนสินค้าอะไรก็ตามไม่ว่าจะเป็นแค่ร้านริมทางหรือบริษัทยักษ์ใหญ่สิ่งสำคัญคือต้องรู้จักการการสร้างอัตลักษณ์องค์กร หรืออัตลักษณ์แบรนด์ สำคัญไม่แพ้กับการสร้างเนื้อหาให้ลูกค้ารู้จัก
ยกตัวอย่างโฆษณาชิ้นหนึ่งที่เชื่อว่าหลายคนคงเคยเห็น เปิดตัวมาที่ร้านขายของชำที่มีคนบ้ามานอนเกะกะหน้าร้านเจ้าของร้านก็พยายามไล่คนบ้าออกไปทุกวัน ทำซ้ำๆ แบบนี้ วันหนึ่งปรากฏว่าเจ้าของร้านไม่เจอคนบ้า ก็เริ่มสงสัยว่าเกิดอะไรขึ้น คำถามคือหลายคนจำโฆษณานี้ได้แต่น้อยคนที่ไม่ดูให้ลึกซึ้งจะบอกว่านี่คือโฆษณาไทยประกันชีวิต
ทั้งที่ความจริงเป็นโฆษณากล้องวงจรปิดยี่ห้อหนึ่ง คำถามคือทำไมคนไปจำว่าโฆษณาแนวนี้จะต้องเป็นของไทยประกันชีวิต ก็เพราะที่ผ่านมาไทยประกันชีวิตเองสร้างอัตลักษณ์ สร้างภาพจำด้วยโฆษณาแนวดราม่า น้ำตาตกแบบนี้เสมอ
จึงกลายเป็นภาพจำที่คนจำติดใจ เจอโฆษณาแบบบนี้ที่ไหนก็นึกไปถึงไทยประกันชีวิตก่อนทั้งที่ความจริงอาจไม่ใช่ด้วยซ้ำ คำถามอีกเช่นกันแล้วแบบนี้ในฐานะแบรนด์สินค้าจะต้องพยายามแบบไหนอย่างไรเพื่อสร้างภาพจำให้เกิดขึ้นได้บ้าง
1.ผลักดันให้แบรนด์เป็นอันดับหนึ่งในใจลูกค้า
หากต้องการยึดส่วนแบ่งทางการตลาด แบรนด์ของเราจะต้องเป็น Top of Mind หรือเบอร์หนึ่งในใจเท่านั้น!!! โดยอาจจะใช้ Content marketing เป็นตัวช่วยในการสร้างเนื้อหาที่มีคุณค่าแก่ผู้บริโภค
ช่วยให้เกิดภาพลักษณ์การจดจำที่ดีมากขึ้น ไม่ว่าจะออกมาเป็น รูป รส กลิ่น เสียง หรือแม้กระทั่งสัมผัสต่าง ๆ ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคนึกถึงเราเป็นอับดับต้นๆ ช่วยให้ผู้บริโภคเห็นแบรนด์แล้วเกิดภาพจำและนึกถึงเราได้ในทันที
2.แบรนด์ต้องมี DNA เป็นของตัวเองโดดเด่น ไม่เหมือนใคร
การสร้าง “ภาพจำ” ให้แก่แบรนด์และบ่งบอกถึงอัตลักษณ์ที่สื่อสารถึงแก่นแท้รวมถึง DNA ของแบรนด์ ให้มีความสร้างสรรค์ไม่เหมือนใคร เพื่อให้เกิดจุดยืนและการรับรู้ไปในทิศทางเดียวกัน
โดยการที่แบรนด์มีการพัฒนาจุดยืนให้ชัดเจนและโดดเด่น โดยใส่ความเป็นตัวตนให้มีความน่าสนใจลงไป และอาจจะใช้การบอกเล่าเรื่องราวของแบรนด์ให้เกิดเส้นเรื่องที่มีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น
3.แบรนด์ต้องสร้างความมั่นใจและน่าเชื่อถือให้ผู้บริโภค
ความน่าเชื่อถือเป็นอีกหนึ่งภาพจำที่ทำให้คนสนใจและเกิดความไว้วางใจในผลิตภัณฑ์และบริการของเรา อาจมีการสร้างคอนเทนต์ วิดีโอ หรือไวรัลให้มีอารมณ์ร่วมและสื่อไปถึงผู้บริโภค
เพื่อให้พวกเขาเห็นประโยชน์ของสินค้า และเชื่อมั่นในแบรนด์ว่าจะสามารถช่วยให้คุณภาพชีวิตของลูกค้าดีขึ้นเมื่อเลือกใช้ผลิตภัณฑ์จากแบรนด์ของเรา
4.มอบภาพจำให้ผู้บริโภคเกิดความประทับใจในครั้งแรก
ผู้บริโภคไม่ได้ซื้อสินค้าเพียงเพราะว่า คุณภาพดี แต่ยังต้องการเรื่องราวที่ทำให้ผู้บริโภครู้สึกประทับใจเมื่อเห็นแบรนด์ของเราในลำดับแรก ๆ จนเกิดความชอบและรู้สึกที่ดีกับแบรนด์
พร้อมที่จะซื้อสินค้าและบริการต่อไปเรื่อย ๆ จนกลายเป็น Brand Royalty หรือความผูกพันธ์ระหว่างแบรนด์และผู้บริโภคตามมา ซึ่งเรื่องนี้ถือเป็นเรื่องที่จะต้องให้ความสนใจเป็นอย่างมาก
5.วางแผน Digital Marketing ตอกย้ำความรู้สึกดีต่อแบรนด์
การทำการตลาดออนไลน์ถือเป็นเรื่องสำคัญควบคู่กันไปกับการสร้างแบรนด์ให้เกิด “ภาพจำ” ด้วยเช่นกัน อาจมีการวางแคมเปญออกสู่ตลาด ผ่านโซเชียลมีเดียต่าง ๆอย่าง “ถูกที่ ถูกเวลา” เพื่อกระตุ้นความอยากซื้อ จนเกิดการบอกต่อและกลายเป็นกระแสตอกย้ำในแบรนด์ และหลังจากนั้นผู้บริโภคจะมาซื้อสินค้าและบริการซ้ำในที่สุด
การสร้างภาพจำไม่ใช่กลยุทธ์การตลาดที่จะทำให้เกิดขึ้นได้ในทันที จำเป็นต้องใช้เวลาและสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างสินค้ากับลูกค้า ภาพจำนั้นมี 2 อย่างคือภาพจำด้านบวก กับภาพจำด้านลบ หากเราบริหารผิดพลาดภาพจำที่คนมองเห็นจะกลายเป็นภาพลบที่ไม่มีผลดีต่อธุรกิจ ภาพจำที่ดีจึงต้องเป็นภาพลักษณ์ที่ดีของธุรกิจด้วยเช่นกัน
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/2ZvO0u6