5 เทคนิคปรับโครงสร้างธุรกิจให้แข็งแกร่ง!

ในยามที่บริษัทหรือ การลงทุนมีปัญหา ในฐานะผู้ลงทุนเองต้องมองหาหนทางรอด หรือการปรับตัวเพื่อให้อยู่รอดได้ดีที่สุดหนึ่งในวิธีที่นำมาใช้คือการปรับโครงสร้างธุรกิจซึ่งก็แตกต่างกันไปตามแต่สถานการณ์ของแต่ละธุรกิจในที่นี้

www.ThaiSMEsCenter.com มี5เทคนิคการปรับโครงสร้างแบบกว้างๆเอามาเป็นข้อมูลให้ได้รับทราบเผื่อจะเป็นแนวทางหนึ่งที่ใช้ได้ในยามที่ธุรกิจนั้นมีปัญหา

1.ปลุกพลังทีมงานให้ฮึดสู้อีกครั้ง

เทคนิคปรับโครงสร้างธุรกิจให้แข็งแกร่ง

ภาพจาก goo.gl/pEupxi

พนักงานเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดในการชี้วัดการอยู่รอดขององค์กร หน่วยงานไหนมีลูกน้องที่มีประสบการณ์ทำงานด้วยกันมานานดีกว่าองค์กรที่เปลี่ยนตัวพนักงานบ่อย

จนการทำงานมันปะติดปะต่อก็เป็นเหตุผลหนึ่งให้ธุรกิจสั่นคลอนได้ อีกทั้งการมีทีมงานที่เป็นเลิศในยามเกิดวิกฤติพนักงานเหล่านี้พร้อมจะช่วยให้บริษัทก้าวผ่านเวลาที่เลวร้ายไปพร้อมกันได้

เช่น ในปี 2009 รายได้ของบริษัท Suzanne Bates Wellesley ผู้ให้คำปรึกษาด้านการบริหารลดลงกว่า 600,000 เหรียญ ผู้บริหารจึงพูดคุยกับทีมงานที่มีประมาณ 10 คนเพื่อระดมสมองหาวิธีเพิ่มรายได้

นำมาสู่การปรับกลยุทธ์เข้าหาลูกค้าในทุกช่องทางอย่างเข้มข้นทั้งอีเมลล์ การเดินไปหาลูกค้า การจัดคอร์สอบรม การปรับเปลี่ยนราคาสินค้าเป็นต้น ซึ่งผลที่สุดคือ Suzanne Bates Wellesley สามารถทำรายได้ถึง 2.3 ล้านเหรียญ เพิ่มกว่าเดิมเป็นเท่าตัว

2.รู้จักการใช้เทคโนโลยีในการวิเคราะห์ข้อมูลการขาย

q2

ภาพจาก goo.gl/vwj3XZ

การขายสินค้าที่ไม่มีการเก็บสถิติ รวบรวมข้อมูลถือเป็นการพลาดโอกาสในการสร้างธุรกิจให้แข็งแกร่ง ตัวอย่างหนึ่งที่น่าสนใจคือ Tuccini Corp บริษัทผู้ผลิตน้ำหอมในนิวยอร์ก ได้ทำการรวบรวมข้อมูลการขายผ่านสินค้าผ่านเว็บไซต์ในระยะเวลา 5 เดือน

เขาพบว่า ลูกค้าส่วนใหญ่จะซื้อสินค้าเขาในช่วงประมาณ 6 โมง และอีกหลายข้อมูลที่ได้จากการทำสถิตินี้นำไปสู่การสร้างโปรแกรมติดตามการขายทำให้รู้ความต้องการของลูกค้าและบริษัทสามารถคิดโปรโมชั่นหรือทำการตลาดได้ดีกว่าเดิม ในปี 2010 Tuccini Corp จึงทำกำไรได้มากกว่า 3.3 ล้านเหรียญมากกว่าเดิมจากปีที่ผ่านมาถึง2เท่าตัว

3.ควบรวมการเงินมาบริหารใช้จ่ายให้ถูกจุด

q3

ภาพจาก goo.gl/AgFsj3

ในปี 2009 Parker Lepla บริษัทที่ปรึกษาด้านกลยุทธ์การตลาดเจอกับปัญหารายได้ลดลงกว่าเดิมถึง 15% เหตุนี้ผู้บริหารจึงต้องควบรวมการเงินในบริษัทตัดรายจ่ายในบางส่วนที่ไม่จำเป็นออกไป

และนำเงินที่เหลือไปลงทุนแก้ไขปัญหาเพื่อเพิ่มยอดขายโดยเอางบส่วนใหญ่ไปลงทุนด้านโฆษณาและสร้างแผนกดิจิตอลแบรนดิ้งเพื่อขยายฐานลูกค้า ซึ่งปรากฏว่าในปีต่อมาบริษัทมีโครงสร้างที่แข็งแกร่งขึ้น มีรายได้เพิ่มขึ้นกว่า 30%

4.ปรับปรุงโครงสร้างราคาสินค้าและบริการใหม่

q4

ภาพจาก goo.gl/JQWbG6

เมื่อเกิดปัญหาวิกฤติเรื่องรายได้ทำให้โครงสร้างบริษัทเริ่มสั่นคลอน ปัญหาหนึ่งคือการที่ลูกค้าอาจจะมีปัญหากับราคาสินค้าและบริการที่เรามี ด้วยเหตุนี้การปรับโครงสร้างราคาใหม่ทั้งหมดจึงเป็นเรื่องที่ควรทำ

เช่น Great Neck ตัวแทนดำเนินการประมูลของภาครัฐที่อยู่ในนิวยอร์ก ยกเลิกการสมัครสมาชิกแบบรายปี ทำให้ลูกค้าของบริษัทเริ่มสนใจบริการใหม่นี้และกลับมาใช้บริการมากขึ้น

ซึ่งบริษัทพบว่าลูกค้าประมาณ 60% สนใจการทดลองใช้งานฟรี 3 เดือน ก่อนที่จะเลือกสมัครแบบรายเดือน ซึ่งโมเดลนี้สร้างรายได้ให้บริษัทเพิ่มขึ้นกว่า 6 เท่า บริษัทมีรายได้มากกว่าเดิม 58%

5.ต้องยอมเปลี่ยนรูปแบบธุรกิจตัวเอง

q6

ภาพจาก  goo.gl/bWvRtX

ธุรกิจของเราที่วางโครงสร้างไว้อาจจะเวิร์คในช่วงเวลาหนึ่งแต่เมื่อกาลเวลาเปลี่ยนไป โครงสร้างเดิมวิธีเดิมอาจไม่เวิร์คอีกต่อไป ทางที่ดีคือต้องยอมเปลี่ยนตัวเองเพื่อโครงสร้างบริษัทที่แข็งแรงในอนาคต

เช่นเดียวกับ HuePhoria LLC บริษัทผู้ขายสินค้าที่เปลี่ยนจากการจับมือกับร้านค้า(on demand) มาสู่การขายในแบบ Drop shipping ที่เมื่อมีคำสั่งซื้อเข้ามาบริษัทจะส่งสินค้าไปยังลูกค้าที่สั่งซื้อในนามของเจ้าของร้านนั้นๆ กำไรก็แบ่งกับหน้าร้านตามสัดส่วนที่ตกลง วิธีนี้ทำให้บริษัทมีรายได้เพิ่มขึ้น 27% ในไตรมาสแรก ก่อนที่จะมีกำไรถึง 300,000 เหรียญสหรัฐ

การจะสร้างธุรกิจให้มีความแข็งแกร่งประกอบด้วยปัจจัยสำคัญหลายอย่าง การแก้ปัญหาในยามวิกฤติก็เป็นอีกหนึ่งบททดสอบของผู้ลงทุนว่าจะก้าวผ่านช่วงเวลายากลำบากนี้ได้อย่างไร

หากเรามีประสบการณ์ที่มากพอมีข้อมูลแนวทางในการตัดสินใจที่ดีก็ย่อมเป็นผลดีที่ทำให้เราสร้างทางออกให้กับธุรกิจของเราได้ง่ายขึ้น

สำหรับท่านใดที่ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจเรามีรวบรวมบทความมากมาย ติดตามได้ที่ goo.gl/Io5k2S

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด