5 เทคนิคท้าชนยักษ์สำหรับ ร้านกาแฟเล็กๆ

หลายคนยกให้ร้านกาแฟเป็นธุรกิจปราบเซียน แม้ว่าตลาดกาแฟจะมีการเติบโตขึ้นเรื่อยๆ จากยุคแรกๆที่คุ้นหูเมื่อประมาณ 15-20 ปีก่อนกับบ้านไร่กาแฟต่อเนื่องมาถึงร้านกาแฟอย่าง Starbucks, TRUE coffee, Coffee World , Black Canyon ฯลฯ ราคาก็ขยับกันมาเรื่อย จากแรกๆ 30 บาทเรื่อยมาถึงตอนนี้แก้วละเป็นร้อย แต่คนก็ยังนิยมกันเหมือนเดิม

เหตุที่กาแฟเป็นเหมือนธุรกิจทำง่าย ขายง่ายแต่ใช่ว่าทำแล้วจะดีมีกำไรกันทุกคนเลยเป็นเหตุผลให้หลายคนบอกว่าเป็นธุรกิจปราบเซียนเพราะมีคนที่เจ๊งกับการเปิดร้านกาแฟมานับไม่ถ้วน

www.ThaiSMEsCenter.com ที่ได้รวบรวมธุรกิจแฟรนไชส์ไว้มากมายและส่วนหนึ่งก็คือแฟรนไชส์ร้านกาแฟที่มีทั้งตลาดบน ตลาดกลาง และตลาดล่าง ในกลุ่มตลาดบนเราถือว่าแบรนด์เหล่านี้มีต้นทุนในการทำธุรกิจที่ดีไม่น่าเป็นห่วงเท่าไหร่

แต่ที่เข้ามาแล้วหายไปส่วนใหญ่คือร้านกาแฟในตลาดกลาง ถึงล่าง บางคิดว่ากาแฟคือกาแฟเปิดร้านมายังไงก็ขายได้ ทำให้มองข้ามส่วนสำคัญต่างๆ ไปมากมาย เราลองมาดูกันว่า ร้านกาแฟในตลาดกลางและล่างจะมีเทคนิคอย่างไรให้อยู่รอดปลอดภัยไม่แพ้แบรนด์ยักษ์ใหญ่ทั้งหลาย

1.ร้านเล็กแต่โปรโมทเจ๋งก็ทำกำไรได้

ร้านกาแฟเล็กๆ

อย่าลืมว่าตอนนี้เราอยู่ในยุคโซเชี่ยลการตลาดออนไลน์เป็นสื่อประชาสัมพันธ์ที่ใช้งบประมาณไม่มากแต่ทรงพลังมาก หากเราเป็นร้านขนาดเล็ก เป็นแค่คีออส หรือร้านรถเข็น อย่าคิดว่าเราเล็กแล้วจะโปรโมทไม่ได้ ในทางกลับกันยิ่งเล็กยิ่งต้องโฆษณา

เดี๋ยวนี้เรามี Facebook ,Youtube , Instragram และเพียงแค่ใช้โทรศัพท์เครื่องเดียวเราก็โฆษณาร้านค้าของเราในโลกออนไลน์ได้ หรือหากมีทุนมากจะเลือกใช้การโปรโมทร้านทางGoogle ร่วมด้วยก็ยังได้

และจะให้ดีเราควรหาจุดเด่นให้ร้านเพื่อเป็นจุดสังเกตให้คนรู้จักและพูดถึงได้มากขึ้น อย่าคิดว่าการโฆษณาเป็นเรื่องไกลตัว ยุคนี้การขายตัดสินกันที่การตลาดเป็นสำคัญ แม้แต่แบรนด์ใหญ่ใช้การตลาดไม่เป็นก็ยังพังได้เหมือนกัน

2.อย่าไปโฟกัสกาแฟตลาดบน

jj

กลุ่มตลาดกลางราคากาแฟแก้วละ 50-70 ในตลาดล่างลงมาราคาตั้งแต่ 15-30 บาท ในตลาดบนคนที่นิยมกาแฟแบบพรีเมี่ยมก็มีระดับหนึ่งแต่ Market Segments ในตลาดกลางและล่างถือว่าค่อนข้างใหญ่และสัมพันธ์กับรายได้ของคนส่วนมากที่จะเลือกกาแฟจากตลาดนี้

ดังนั้นตลาดบนจะขายดีจะมีกำลังในการโปรโมทแค่ไหน จะจัดอีเว้นท์อย่างไร ไม่ใช่เรื่องที่ร้านกาแฟขนาดย่อมอย่างเราต้องสนใจ สิ่งที่เราต้องโฟกัสคือดึงลูกค้าในกลุ่มกลางถึงล่างให้มาสนใจเราให้ได้ และรวมถึงการแข่งขันกับคู่แข่งในระดับเดียวกัน เอาไว้อนาคตจะต่อยอดแบรนด์ตัวเองไปสู้กับกาแฟพรีเมี่ยมค่อยว่ากันทีหลัง

3.ทำให้ลูกค้าติดใจด้วยแบรนด์

j3

ที่ไปไม่รอดเพราะร้านกาแฟส่วนใหญ่ “ไม่มีแบรนด์” ดังนั้นต่อให้อร่อยแสนดีแค่ไหนแต่ลูกค้าก็ไม่รู้ว่าจะจดจำเราจากอะไร ดังนั้นร้านกาแฟขนาดเล็กแต่ก็ควรมีแบรนด์ของตัวเอง ตั้งเอาที่จำง่าย ที่สำคัญควรมีโลโก้ด้วยเพื่อให้คนเห็นแล้วรู้จักทันที

และงานนี้ไม่ว่าจะเป็นร้านรถเข็น หรือคีออสตลาดนัด ก็ควรตกแต่งร้านของเราด้วยโทนสีที่เป็นเอกลักษณ์ มีแบรนด์ มีโลโก้ชัดเจน ถ้าจะให้ดีพิมพ์โลโก้ลงบนแก้วด้วยถือเป็นการประชาสัมพันธ์ร้านที่ดีแม้จะเป็นการเพิ่มต้นทุนบ้างแต่ก็ถือว่าคุ้มค่า

4.ทำร้านให้เป็นมากกว่าขายกาแฟ

jj5

สังเกตว่าแบรนด์ใหญ่ๆในตลาดพรีเมี่ยมเขาก็ไม่ได้เป็นแค่ร้านกาแฟอย่างเดียว หลายแบรนด์ขายบรรยากาศ ขายความเป็นไลฟ์สไตล์ให้คนมานั่งชิลในร้านได้ แต่ข้อจำกัดของร้านรถเข็น หรือคีออสตลาดนัด

จะมาจัดพื้นที่นั่งมี wi-fi ฟรีก็คงทำไม่ได้แต่สิ่งที่ทำได้คือบริการที่ประทับใจเราอาจมีสินค้าที่เป็นพวกขนมสำหรับทานคู่กับกาแฟ หรือมีเมนูอัพเดทแปลกใหม่มานำเสนอลูกค้า

หรืออาจจะเป็นของแถมเล็กๆน้อยอย่างสมุดโน้ต พวงกุญแจ หรือตุ๊กตาเล็กๆ สำหรับเด็กเล่นของล่อใจเหล่านี้ลงทุนซื้อมาเยอะๆราคาไม่แพงแต่ซื้อใจลูกค้าได้มาก เขาจะรู้สึกว่าเราไม่ได้เป็นแค่ร้านกาแฟธรรมดาแต่เป็นร้านกาแฟที่เป็นมิตรและก็อยากกลับมาเป็นลูกค้าอีกในภายหลัง

5.เอากำไรมาต่อยอดพัฒนาธุรกิจ

ร้านกาแฟเล็กๆ

ธุรกิจต้องโต แม้เป็น ร้านกาแฟเล็กๆ แต่หากเราบริการลูกค้าดี ๆ มีเมนูแปลกใหม่อัพเดทเรื่อยๆ กำไรจากการเปิดร้านแรกๆ อาจจะไม่มากแต่เมื่อทำไปนานๆลูกค้ามากขึ้น รายได้เราก็มากขึ้น

จากจุดนี้เราต้องรู้จักบริหารการเงินเพื่อเอามาต่อยอดธุรกิจของเราให้เติบโต อาจจะพัฒนาแบรนด์เล็กๆของเราให้เป็นแฟรนไชส์ หรือขยายสาขาเพิ่มเติม หรือพัฒนารูปแบบร้านให้มีขนาดใหญ่ขึ้น ครบวงจรมากขึ้น การที่ร้านกาแฟมีพัฒนาการมากขึ้นลูกค้าก็จะรู้สึกเชื่อมั่นในตัวแบรนด์มากขึ้น

กลายเป็นการสร้างฐานลูกค้าให้เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ และข้อดีของการต่อยอดจากร้านขนาดเล็กคือเรารู้ปัญหาทุกซอกทุกมุมทำให้เวลาขยายร้านและเกิดปัญหาใดๆเราก็รับมือได้ดีราวกับเป็นแบรนด์ใหญ่ๆเลยทีเดียว

ร้านกาแฟแม้จะมีความเสี่ยงแต่ก็เป็นเพราะผู้ลงทุนไม่ได้มีการวางแผนตลาดที่ดีพอ ก่อนจะเปิดร้านกาแฟใดๆ ก็ตามให้ตัดสินใจดีๆ ว่าจะเลือกแฟรนไชส์หรือเลือกลงทุนเอง

ซึ่งก็มีข้อดีข้อเสียต่างกัน เป็นแฟรนไชส์เราไม่ต้องเริ่มจากศูนย์แบรนด์มีคนรู้จักทำตลาดได้ง่ายเริ่มต้นได้เลย แต่อาจใช้เงินทุนที่มากตามระดับการลงทุนรวมถึงอาจมีแบรนด์แฟรนไชส์เดียวกันในพื้นที่เดียวกัน แต่หากเป็นร้านกาแฟที่ลงทุนเอง เราต้องเริ่มต้นสร้างจากศูนย์ บุกเบิกตลาดใหม่ ราคาการลงทุนอาจจะแพงกว่าหรือน้อยกว่าก็แล้วแต่สิ่งที่เราลงทุน

แต่จะได้ความเป็นตัวตนและเอกลัษณ์ตัวเอง เป็นร้านกาแฟที่ไม่มีใครเหมือนทำให้คนจดจำได้ง่ายกว่า ทั้งนี้ไม่ว่าจะเลือกลงทุนแบบไหนอย่างไรก็ขอให้ระลึกไว้เสมอว่า ร้านกาแฟลูกค้าเยอะความต้องการมีมาก แต่คู่แข่งก็มาก ขนาดของร้านไม่สำคัญเท่าการบริหาร จะเล็กจะใหญ่บริหารไม่เป็นก็เจ๊งได้เหมือนกัน


SMEs Tips

  1. ร้านเล็กแต่โปรโมทเจ๋งก็ทำกำไรได้
  2. อย่าไปโฟกัสกาแฟตลาดบน
  3. ทำให้ลูกค้าติดใจด้วยแบรนด์
  4. ทำร้านให้เป็นมากกว่าขายกาแฟ
  5. เอากำไรมาต่อยอดพัฒนาธุรกิจ

สำหรับท่านใดที่ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจเรามีรวบรวมบทความมากมาย ติดตามได้ที่ goo.gl/Io5k2S

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด