5 เทคนิคขายสินค้าเหมือนกัน ให้ลูกค้าซื้อของจากเรา

เชื่อหรือไม่ว่า ส่วนใหญ่เจ้าของธุรกิจที่ขายสินค้าเหมือนกัน มักเอาชนะคู่แข่งด้วยการลดราคาหรือการตัดราคา เพื่อดึงดูดหรือแย่งชิงฐานลูกค้า แต่ก่อนที่จะตัดสินใจลดราคาสินค้า เราต้องแน่ใจว่า ร้านค้าของเรายังมีกำไรมากพอ ที่จะดำเนินการต่อไปได้หรือเปล่า หากลดราคาสินค้าแล้ว ไม่มีกำไรให้หยุดทำทันที รีบดึงราคากลับมาเท่าเดิม 

แต่ถ้าอยากสร้างความแตกต่างให้เหนือกว่าคู่แข่ง และดึงดูดลูกค้าให้มาซื้อของจากร้านของเรา โดยที่ไม่ต้องลดราคาหรือตัดราคาเลย วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะมาบอกวิธีการสร้างความแตกต่างให้สินค้า เทคนิคขายสินค้าเหมือนกัน ให้ลูกค้าซื้อของจากเราเพื่อดึงดูดลูกค้าใช้บริการ

1.สินค้า

เทคนิคขายสินค้าเหมือนกัน

การสร้างความแตกต่างด้วยสินค้า คือ การหาของอะไรใหม่ๆ มาขายบ้าง ไม่ว่าจะเป็นการหาสินค้าที่ดูต่าง หรือมีการใช้งานแตกต่าง อาจจะเป็นยีห้ออื่นหรือรุ่นที่แตกต่างจากที่มีอยู่ สำหรับร้านซื้อมาขายไป หรือธุรกิจที่ไม่ได้ลงทุนการวิจัย

เราต้องลงทุนเวลากับการหาสินค้าเพิ่มแทน เพื่อให้ประหยัดเวลาเรามากที่สุด เราควรโฟกัสเรื่องการเลือกสินค้า แต่ปัญหาก็คือการสร้างความแตกต่างด้วยสินค้านั้นถูกลอกง่ายมาก ขายของไปไม่กี่เดือนก็คงโดนลอกแล้ว ทำให้วิธีนี้มีอายุการใช้งานไม่นาน

2.การบริการ

15

การสร้างความแตกต่างด้านการบริการ ไม่ว่าจะเป็นการส่งสินค้า รวมถึงการให้บริการพิเศษ เช่น บริการการติดตั้ง หรือการลดจำนวนซื้อขั้นต่ำถึงการบริการหลังการขาย

สำหรับธุรกิจบางชนิด บริการพวกนี้ทำได้ง่ายมาก แต่สำหรับร้านขายอาหารทั่วไปควรจะเริ่มจากการบริการพื้นฐาน เช่น การยิ้มรับลูกค้า ถือเป็นเทคนิคในการสร้างลูกค้าประจำได้อย่างดี

3.ช่องทางการขาย

14

ช่องทางการขายก็สำคัญในธุรกิจ เป็นวิธีการเข้าถึงลูกค้าได้มากขึ้น เช่น ผู้ผลิตวัสดุก่อสร้างก็เริ่มที่จะเข้าหาผู้รับเหมามากขึ้น แทนที่จะขายแค่ตัวแทนทั่วไป หรือเข้าไปช่วยผู้ซื้อมากขึ้น เช่น การช่วยลูกค้าขายของ การอบรมลูกค้า และให้เอกสารเพิ่มเติมเพื่อช่วยประกอบการใช้งาน หรือการแชร์ข้อมูลลูกค้าร่วมกับคัวแทนของคุณเป็นต้น

ผู้ผลิตและตัวแทนจำหน่าย ยังสามารถร่วมมือกันสร้างโปรโมชั่นพิเศษ การรับประกันสินค้า และการให้บริการหลังการขายมากขึ้น การทำงานร่วมกันแบบนี้จะทำให้คู่แข่งลอกยากขึ้น สำหรับร้านที่รับสินค้ามาขาย ลองพิจารณาคุยกับผู้ผลิตสินค้ารายใหญ่ๆ หรือถ้าอยากเริ่มจากอะไรที่ง่าย ก็ลองพยายามหาช่องทางให้ลูกค้าติดต่อให้ง่ายขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการให้เบอร์ติดต่อ เพื่อโทรสั่งสินค้าก่อน หรือการขายออนไลน์

4.ความสัมพันธ์

13

พนักงานหรือเจ้าของบริษัท สามารถบริหารความสัมพันธ์ในธุรกิจได้ สามารถเป็นตัวแทนแสดงถึงศักยภาพ ความน่าเชื่อถือของบริษัทได้เช่นกัน ถ้าความสัมพันธ์ระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายขาด อาจกระทบต่อการดำเนินธุรกิจ

สำหรับธุรกิจส่วนมาก พนักงานขาย พนักงานลูกค้าสันพันธ์ และพนักงานด้านเทคนิคต่างๆ จะเป็นคนที่ติดต่อกับลูกค้า ถือเป็นปัจจัยที่สำคัญในการสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า ความสัมพันธ์เหล่านี้คือสิ่งที่จะสร้างความรู้สึกดีให้กับลูกค้า

5.ชื่อเสียงหรือภาพลักษณ์

12

เจ้าของธุรกิจหลายคนเลือกที่จะสร้างความแตกต่างให้ตัวเองด้วยภาพลักษณ์ โดยปกติแล้วภาพลักษณ์ถูกสร้างจากการรวมกันของบริการที่ดี สินค้าที่ดี และผลประกอบการที่ดี ภาพลักษณ์ของธุรกิจจะมาจากสื่อชนิดต่างๆ เช่น หนังสือพิมพ์ วิทยุ บทความออนไลน์ หรือแม้แต่บรรยากาศในร้าน และไม่ใช่สิ่งที่มีแค่เฉพาะธุรกิจค้าขายเท่านั้น

ดังนั้น เมื่อเราขายสินค้าเหมือนกันกับคนอื่น เราต้องทำให้สินค้าของเรา แตกต่างจากคู่แข่ง ไม่ว่าจะเป็นการทำให้ลูกค้าเข้าถึงได้มากขึ้น การส่งที่เร็วหรือสะดวกขึ้น การลดจำนวนขั้นต่ำในการสั่ง หรือการเอื้ออำนวยรูปแบบ หรือช่องทางการชำระเงินแบบใหม่ หากจะพูดให้กว้างๆ ก็ขึ้นอยู่กับจินตนาการของนักการตลาดนั่นเอง


คุณผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

อ่านบทความอื่นๆ จากไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ www.thaifranchisecenter.com/document
เลือกซื้อแฟรนไชส์ไทยขายดี เปิดร้าน www.thaifranchisecenter.com/directory/index.php
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

SMEs Tips

  1. สินค้า
  2. การบริการ
  3. ช่องทางการขาย
  4. ความสัมพันธ์
  5. ชื่อเสียงหรือภาพลักษณ์

อ้างอิงข้อมูลจาก https://bit.ly/37WYiqY

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช