5 เทคนิค การตลาดแบบกองโจร สำหรับ SMEs
การตลาดมีหลากหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับการนำมาใช้ให้เหมาะสมกับธุรกิจ สำหรับ SMEs ที่งบน้อย ทุนน้อย การตลาดที่ www.ThaiSMEsCenter.com แนะนำว่าควรนำมาใช้คือ การตลาดแบบกองโจร หรือ Guerrilla marketing
ซึ่งคำว่า Guerrilla ไม่ได้หมายถึงลิงกอริลลา แต่คำนี้เป็นภาษาสเปนที่มีความหมายว่า สงคราม เป็นกลยุทธ์การตลาดที่ได้แรงบันดาลใจมาจาก Guerrilla Warfare หรือการซุ่มโจมตีในสงครามที่สร้างความประหลาดใจให้กับศัตรู
หัวใจสำคัญของ การตลาดแบบกองโจร (Guerrilla marketing)
ภาพจาก https://bit.ly/3c4P17C
การตลาดแบบกองโจร หรือ Guerrilla marketing เน้นใช้ความแปลกใหม่ในการโปรโมทแบรนด์หรือผลิตภัณฑ์ ที่นำไปสู่การเป็นไวรัลให้คนพูดถึงและรู้จักในวงกว้าง ดังนั้นการตลาดรูปแบบนี้ไอเดียจึงเป็นหัวใจสำคัญ ที่จะสามารถสร้างความตกตะลึงและแปลกใจแก่ผู้พบเห็น ยิ่งถ้าเห็นแล้วแชร์ เห็นแล้วบอกต่อ คือความสำเร็จของกลยุทธ์นี้อย่างชัดเจน ที่บอกว่าเหมาะกับธุรกิจที่งบน้อยเพราะใช้ทุนน้อยแต่ได้ผลมาก
ยิ่งในยุคออนไลน์แบบนี้การตลาดแบบกองโจร สามารถใช้ได้ผลดีอย่างยิ่ง อาศัยกระแสไวรัลทางอินเตอร์เน็ต ไม่ต้องเสียค่าโฆษณา แต่กลายเป็นว่าเราจะมีคนมาช่วยรีวิวและส่งต่อผลิตภัณฑ์ของเราให้รู้จักเป็นวงกว้างมากขึ้น
ภาพจาก https://bit.ly/3c4P17C
การเลือกใช้ การตลาดแบบกองโจร (Guerrilla marketing) ควรให้เหมาะสมกับโอกาสด้วย เช่นเมื่อมีการเปิดตัวสินค้าใหม่ ที่ไม่เคยมีใครรู้จักมาก่อน หรือเมื่อมีการรีแบรนด์สินค้าตัวเดิม ข้อดีของ การตลาดแบบกองโจร คือเปลี่ยนบรรยากาศการตลาดเดิมๆ ให้คึกคักมากขึ้น สามารถกระตุ้นยอดขายได้รวดเร็ว และยังช่วยระบายสินค้าค้างสต็อกให้เราได้มากขึ้นด้วย
อย่างไรก็ดีกลยุทธ์นี้ก็มีข้อเสียเช่นกันคืออายุของไอเดียใช้ได้แค่ช่วงเวลาสั้นๆ จู่โจมแล้วก็จบ เพราะความใหม่และตื่นเต้นมักอยู่ในกระแสชั่วคราว หากต้องการให้เกิดกระแสอีกครั้ง ก็ต้องหาไอเดียใหม่ๆมาใช้ และหากใช้การตลาดแบบนี้บ่อยเกินไป อาจทำให้ลูกค้าไม่ตื่นเต้น จึงควรเลือกใช้ให้ถูกจังหวะถูกเวลาจะได้ผลดีที่สุด
5 เทคนิค การตลาดแบบกองโจร สำหรับ SMEs
โดยทั่วไปรูปแบบของ การตลาดแบบกองโจร (Guerrilla marketing) มีการประยุกต์ใช้ได้หลายวิธีเช่น
- การตลาดแบบแฝงตัว นิยมทำในกิจกรรมทางการตลาดต่างๆ เช่น กิจกรรมกีฬา คอนเสิร์ตหรืองานอีเว้นท์ต่างๆเป็นต้น
- ประเภท Viral Marketing อาศัยการบอกต่อแบบปากต่อปาก (Word of Mouth) ให้การพูดถึงกระจายอย่างรวดเร็วและเพิ่มจำนวนสูงขึ้นเรื่อยๆ บนโซเชียล
- Street marketing เป็นการตลาดที่เน้นการทำโฆษณาตามท้องถนน เป็นการดึงดูดความสนใจของผู้บริโภค ที่มีความแปลกใหม่ มากว่าการแจกใบปลิว คูปอง
และเพื่อให้มองเห็นภาพว่าธุรกิจ SMEs จะนำการตลาดแบบนี้ไปใช้แบบไหนได้บ้าง ลองมาดูวิธีการที่น่าสนใจได้แก่
1.นำสินค้าเข้าร่วมกลุ่ม Social ที่เกี่ยวข้อง
ยุคนี้คือโลกออนไลน์คนส่วนใหญ่ใช้เวลาในการท่องโลกอินเทอร์เนตต่อวันสูงมาก แต่ละคนมีสังคมออนไลน์ของตัวเองทั้งกลุ่มและไลน์กรุ๊ปต่างๆ ดังนั้นวิธีที่จะเข้าถึงได้ง่ายต้องนำสินค้าตัวเองไปแฝงอยู่ในกลุ่ม Social เหล่านี้ ไม่ใช่เพื่อการขายในทันทีแต่เพื่อการสร้างกลุ่มลูกค้าให้ขยายตัวมากขึ้นให้คนได้คุ้นเคยและค่อยๆรู้จักสินค้าเรามากขึ้น
2.ติดโฆษณาธุรกิจบนรถที่ใช้
ทำการโฆษณาประชาสัมพันธ์แบบเคลื่อนที่เป็นวิธีการทำงานแบบง่าย ๆ ยิ่งเดี๋ยวนี้สติ๊กเกอร์ติดรถก็ทำได้ง่ายต้นทุนไม่มากนัก เรียกว่ามาไหนไปไหนคนก็เห็นไป แม้จะเขาจะสนใจบ้างหรือไม่สนใจบ้าง ต้องมีที่ไปโดนตาโดนใจของคนที่กำลังมองหาสินค้าหรือบริการ ที่เขากำลังอยากได้ และก็จะเป็นโอกาสให้กับสินค้าเราได้มากขึ้น
3.สร้างแพลตฟอร์มดึงกลุ่มคนที่สนใจเรื่องเดียวกันให้เข้าร่วม
เป็นการรวบรวมกลุ่มคนที่มีความสนใจเรื่องเดียวกัน มีปัญหาประเภทเดียวกัน เข้ามาอยู่ด้วยกัน โดยการใช้สื่อ Social Online อย่างเช่น Facebook หรือ Line@ เราสามารถที่จะสร้างแฟนเพจเพื่อสร้างเป็นชุมชนสำหรับเรื่องนั้นนั้น ๆ เช่น เพจ มนุษย์เงินเดือน,ทาสแมว ,เถ้าแก่ใหม่ เป็นต้น เมื่อเราสามารถรวบรวมคนที่มีความสนใจเรื่องเดียวกันไว้ด้วยกันได้แล้วก็จะเกิดเป็นชุมชนที่จะช่วยกันแก้ไขปัญหาในเรื่องนั้น เป็นที่มาของธุรกิจของการแก้ปัญหา ในแบบฉบับการตลาดแบบกองโจร
4.รับตัวแทนจำหน่ายรายย่อย
ถือเป็นรูปแบบการตลาดกองโจรที่ชัดเจนกับการสร้างตัวแทนจำหน่ายให้มาช่วยขายสินค้า อาจตั้งเงื่อนไขที่ให้คนเป็นตัวแทนสินค้าได้ไม่ยาก ข้อดีของรูปแบบนี้คือพลังในการขายที่เพิ่มขึ้น และเข้าถึงลูกค้าได้ในหลายพื้นที่มากขึ้น ยิ่งมีตัวแทนกระจายในชุมชน หมู่บ้าน หรือต่างจังหวัดมากเท่าไหร่ คนก็ยิ่งรู้จักสินค้าเราได้มากขึ้นด้วย
5.ตระเวณขายสินค้าให้มากขึ้น
เพื่อให้คนรู้จักสินค้าได้มากขึ้น ลำพังการทำตลาดออนไลน์อาจไม่เพียงพอ การตลาดแบบกองโจรต้องลุยพื้นที่สร้างการรับรู้ของคนให้มากขึ้นด้วย ดังนั้นพื้นที่ตลาดนัด หรือตลาดในชุมชนต่างๆ จำเป็นมากสำหรับคนที่อยากขายสินค้าแต่ว่าต้นทุนน้อย วิธีนี้อาจต้องเหนื่อยแรงในการตระเวนขาย แต่ถ้าเราใส่ไอเดียในการขาย สินค้าเราน่าสนใจ เมื่อเป็นจุดเด่นมีคนพูดถึง ชื่อเสียงสินค้าเราก็จะเริ่มมากขึ้น การทำตลาดต่อจากนี้ก็จะเริ่มง่ายขึ้นด้วย
อย่างไรก็ดี การตลาดแบบกองโจร (Guerrilla marketing) ไม่ใช่เพียงสินค้าที่งบน้อยหรือคนที่เริ่มเป็น SMEs ใหม่ๆ เท่านั้นที่ควรนำมาใช้ แม้แต่สินค้ายักษ์ใหญ่หลายแบรนด์ก็นำวิธีนี้มาใช้อย่างได้ผล เช่น
ภาพจาก https://bit.ly/3prDRgf
Kit Kat ในประเทศโคลัมเบียที่สร้างแคมเปญ “ป้ายนวด Kit Kat” ที่ทำการติดป้ายโฆษณาที่ไม่ซ้ำกันบริเวณป้ายรถเมล์ ซึ่งภายในป้ายนั้นจะเครื่องสั่นนวดอยู่ข้างใน เพื่อให้ผู้ที่สัญจรผ่านไปมา หรือคนที่กำลังรอรถเมล์ ที่ไปยืนพักและพิงกับป้ายโฆษณา Kit Kat ได้รับการนวดจากเครื่องที่ป้ายโฆษณา เหมือนกับว่ามีคนยื่นมือมานวดที่แผ่นหลังของเรา
หรือ McDonald’s ในอเมริกา ที่เปลี่ยนทางม้าลายจากสีขาวดำเป็นรูปสินค้าเฟรนช์ฟรายส์ของตัวเอง รวมถึงน้ำหอม Axe ที่เคยนำรูปกลุ่มผู้หญิงกำลังวิ่ง ไปต่อจากป้ายหนีไฟสีเขียวแล้วแปะคำว่า “Axe” เพื่อสื่อว่าชายในป้ายหนีไฟนั้นหอมจนผู้หญิงต้องวิ่งตาม เป็นต้น
อย่างไรก็ดีการตลาดแบบกองโจรที่ว่านี้แม้จะได้ผลมาก ก็ขึ้นอยู่กับไอเดียสร้างสรรค์เป็นสำคัญ มีหลายแบรนด์ที่เคยนำมาใช้แต่กลับให้ผลตรงข้าม แทนที่คนจะพูดถึงกลับกลายเป็นการสร้างภาพลักษณ์ติดลบที่ทำให้คนมองภาพแบรนด์ในทางเสียหาย ซึ่งเป็นเรื่องที่คนทำการตลาดต้องศึกษาและทำความเข้าใจสิ่งเหล่านี้ให้มากที่สุด
ขอบคุณข้อมูล https://bit.ly/3w2VFll , https://bit.ly/3QnmGIu , https://bit.ly/3C31UJY , https://bit.ly/3c3kbMt
อ้างอิงจาก https://bit.ly/3bXLB6I
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์
1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์
- กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
- ชื่อกิจการ (Brand)
- การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
- การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
- การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
- การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
- การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
- การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
- การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์
2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ
- ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
- ระบบการเงิน การบัญชี
- งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
- รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
- ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
- กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ
3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์
- ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
- แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
- สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
- เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
- มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
- มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
- ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
- แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี
4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์
- กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
- การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
- สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
- การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
- เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ
5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายแฟรนไชส์
- ระบบการเงิน
- ค่าธรรมเนียมต่างๆ
- ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
- การจดทะเบียนแฟรนไชส์
- เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
- ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
- การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
- แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
- การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
- การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า
6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น
7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
- พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
- ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
- การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
- เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
- จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์
8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์
- การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
- กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
- กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
- การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
- การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
- การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
- กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
- กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)