5 เคล็ดลับเลือกช่องทางจำหน่ายให้เหมาะกับสินค้า
การเพิ่ม ช่องทางการขาย เป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยเพิ่มโอกาสในการขายให้ผู้ประกอบการได้ เพราะยิ่งมีช่องทางการขายมากเท่าไหร่ ก็เท่ากับเพิ่มโอกาสให้ผู้บริโภคได้เห็นและซื้อสินค้าของเรามากขึ้นเท่านั้น
แต่การที่นำสินค้าไปวางจำหน่ายในช่องทางต่างๆ ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะมีผู้ประกอบการรายอื่น ที่ต้องการไปวางขายเหมือนกับเรา จริงๆ แล้วการจะนำสินค้าไปวางขายได้นั้น เคล็ดลับอยู่ที่การเลือกช่องทางให้เหมาะกับสินค้าของเรา
วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com ขอนำเสนอ 5 เทคนิคในการเลือกช่องทางการขาย ให้เหมาะกับสินค้า
1.สินค้าเหมาะกับลูกค้ากลุ่มไหน
การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจให้ชัดเจน จะช่วยกำหนดแนวทางในการทำธุรกิจได้ง่ายขึ้น ช่วยให้ผู้ประกอบการรู้ว่าควรทำอะไร เพื่อใคร และทำอย่างไร เช่น สินค้าเพื่อสุขภาพ ลูกค้าเป้าหมายของเราก็คือคนที่รักสุขภาพ
ดังนั้น วัตถุดิบก็ควรเป็นส่วนผสมที่ดีต่อสุขภาพ บรรจุภัณฑ์ต้องสื่อถึงการมีสุขภาพดี ช่องทางการขายก็ต้องเป็นร้านที่ลูกค้าของเราจะไปเลือกซื้อสินค้า แล้วยังรวมไปถึงช่องทางในการทำตลาดและช่องทางสื่อสารกับลูกค้าด้วย ดังนั้นหากผู้ประกอบการรู้ว่าสินค้าของตัวเองเหมาะกับใคร ก็จะมีแนวทางในการทำธุรกิจชัดเจนขึ้นนั่นเอง
2. ลูกค้าของช่องทางจัดจำหน่ายเป็นใคร
นอกจากผู้ประกอบการจะต้องรู้จักลูกค้าเป้าหมายของตัวเองแล้ว ก็ต้องรู้จักลูกค้าเป้าหมายของช่องทางการขายที่เราสนใจ จะนำสินค้าของเราเข้าไปวางขายด้วย ว่าใช่ลูกค้ากลุ่มเดียวกันหรือไม่ เพราะถ้าหากไม่ใช่ลูกค้ากลุ่มเดียวกัน
นั่นแสดงว่าสินค้าของเรา ไม่เหมาะสมจะวางขายในช่องทางจัดจำหน่ายนั้น โดยวิธีที่จะรู้จักกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของช่องทางการขาย ก็คือ ผู้ประกอบการควรไปเดินสำรวจดูสถานที่จริง ดูสินค้าที่วางขายในช่องทางจัดจำหน่ายนั้นๆ แล้วลองพิจารณาดูว่าสินค้าของเรา เหมาะจะวางเอาไว้ตรงไหนบนชั้นวาง และสังเกตพฤติกรรมของผู้บริโภค เป็นต้น
3. อายุสินค้า
ในการนำสินค้าเข้าไปขายในแต่ละช่องทางนั้น ต้องมีระยะเวลา ตั้งแต่การขนส่งไปจนถึงลูกค้าบริโภคสินค้า ทำให้ผู้ประกอบการต้องคำนึงถึง การเลือกช่องทางที่จะนำสินค้าไปขาย ซึ่งต้องมีระยะเวลาสัมพันธ์กับอายุของสินค้าด้วย
เช่น ผักและผลไม้สด ต้องมีการขนส่งที่รวดเร็ว ระยะทางในการไปถึงจุดขายควรสั้นที่สุด เพื่อให้สินค้าคงความสดใหม่เอาไว้ให้ได้ หรือถ้าเป็นน้ำผลไม้แปรรูปบรรจุขวด หากสนใจจะวางขายในโมเดิร์นเทรด ควรมีอายุสินค้ามากกว่า 12 เดือน
4. บรรจุภัณฑ์เหมาะสม
เหมาะสมกับช่องทางการขายที่เราสนใจนำสินค้าเข้าไปขาย ไม่ว่าจะเป็นดีไซน์ความสวยงามที่เหมาะสม เช่น ช่องทางจัดจำหน่ายที่มีตำแหน่งทางการตลาด เป็นระดับพรีเมียม มีลูกค้าเป้าหมายเป็นกลุ่มไฮเอนด์ที่มีกำลังซื้อ
ลักษณะบรรจุภัณฑ์ของสินค้าก็ควรมีความสวยงาม ดูหรูหรามีราคา เพราะหากบรรจุภัณฑ์ดูไม่เหมาะสม ก็ยากที่ฝ่ายจัดซื้อจะเลือกสินค้านั้นเข้าไปวางขาย นอกจากนี้ ขนาดของบรรจุภัณฑ์ก็เป็นอีกเรื่องที่ผู้ประกอบการควรให้ความสำคัญ
เช่น ช่องทางการจำหน่ายที่เป็นร้านสะดวกซื้อ ขนาดของบรรจุภัณฑ์ก็ควรมีขนาดเล็ก ไม่ใช่ขนาดใหญ่ที่ใช้กันทั้งครอบครัว เพื่อให้เหมาะสมกับพฤติกรรมของลูกค้าที่เข้าไปซื้อสินค้าในร้านสะดวกซื้อ รวมถึงบรรจุภัณฑ์ต้องสามารถป้องกันความเสียหายหรือช่วยยืดอายุให้แก่สินค้าได้ เช่น เครื่องดื่มที่บรรจุในขวดแก้ว อาจทำให้สินค้าดูมีราคา
5. เงื่อนไขค่าใช้จ่ายแต่ช่องทาง
การนำสินค้าเข้าไปขายในช่องทางการขายต่างๆ จะมีค่าใช้จ่ายที่ผู้ประกอบการต้องนำมาคำนวณเป็นต้นทุนให้ครบถ้วน ก่อนจะเสนอราคาไปให้ฝ่ายจัดซื้อของช่องทางการขายพิจารณา โดยเงื่อนไขค่าใช้จ่ายของช่องทางจัดจำหน่ายแต่ละแห่ง ก็มีรายละเอียดที่แตกต่างกันไป แต่ค่าใช้จ่ายหลักๆ ก็จะประกอบไปด้วย ค่าเปิดบัญชีหรือค่าแรกเข้า ค่าชั้นวางสินค้า
รายได้จากการขายสินค้า (GP) ค่ากระจายสินค้า (DC) ค่ากิจกรรมการตลาด ค่าสินค้าคืน และที่สำคัญผู้ประกอบการต้องพิจารณาเงื่อนไขเครดิตเทอมของช่องทางการขายด้วยว่า สัมพันธ์กับวงจรเงินสดของธุรกิจหรือไม่ ซึ่งค่าใช้จ่ายเหล่านี้ผู้ประกอบการต้องนำมาคำนวณให้ครบก่อนตั้งราคา และพิจารณาว่าคุ้มทุนที่จะนำสินค้าเข้าไปขายหรือไม่
จะเห็นว่า หากผู้ประกอบการรู้จักเลือกช่องทางการจำหน่ายให้เหมาะสมกับสินค้าของตัวเอง จะมีส่วนช่วยให้สินค้ากระจายถึงมือผู้บริโภคและลูกค้าเป้าหมายได้ง่ายขึ้น
โดยก่อนจะต้องรู้ว่ากลุ่มลูกค้าของตัวเป็นใคร ช่องทางการจำหน่ายนั้นมีกลุ่มลูกค้าเดียวกันหรือไม่ ถ้าไม่ใช่ก็ไม่ควรนำไปวางขาย ที่สำคัญต้องออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้สวย เพื่อสร้างมูลค่า
อ่านบทความอื่นๆ จากไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ www.thaifranchisecenter.com
เลือกซื้อแฟรนไชส์ไทยขายดี เริ่มต้นธุรกิจ goo.gl/9Hm59x
SMEs Tips
- สินค้าเหมาะกับลูกค้ากลุ่มไหน
- ลูกค้าของช่องทางจัดจำหน่ายเป็นใคร
- อายุสินค้า
- บรรจุภัณฑ์เหมาะสม
- เงื่อนไขค่าใช้จ่ายแต่ช่องทาง