5 เคล็ดลับหาหุ้นส่วน ธุรกิจแฟรนไชส์ ไม่ให้ทะเลาะกัน!

ลงทุนแฟรนไชส์คือโอกาสรวยไว กำไรเร็ว เริ่มต้นเปิดร้านได้ทันที แต่บางแฟรนไชส์ก็ใช้เงินในการลงทุนสูง จึงจำเป็นที่จะต้องมีหุ้นส่วน คำว่าหุ้นส่วนคือผู้ร่วมลงทุนที่ www.ThaiSMEsCenter.com คิดว่าสำคัญมากเราต้องหาหุ้นส่วนที่พร้อมลุยไปกับเรา ไม่ใช่หุ้นส่วนที่ต้องการหวังแค่จะได้กำไรจากเราเพียงอย่างเดียว ดังนั้น เคล็ดลับหาหุ้นส่วน แบบนี้ต้องศึกษาให้ดีจะได้ไม่มาทะเลาะกันในภายหลัง

1.กำหนดหน้าที่ของ “หุ้นส่วน” ให้ชัดเจนตั้งแต่ต้น

เคล็ดลับหาหุ้นส่วน

บางทีหุ้นส่วนในธุรกิจแฟรนไชส์คิดว่าลงเงินอย่างเดียวแล้วรอรับผลกำไร ซึ่งพอนานไปกำไรยังไม่ได้ เงินที่ลงทุนไปยังไม่คืนก็มีปัญหาให้ทะเลาะกัน ดังนั้นเราต้องกำหนดบทบาทให้ชัดเจนว่าหุ้นส่วนนั้นมีหน้าที่ความรับผิดชอบในเรื่องอะไร เขาควรทำอะไร ให้ทำในสิ่งที่เขาถนัดเช่น การตลาด , การดูแลพนักงาน เป็นต้น

แม้การลงทุนแฟรนไชส์จะมีระบบบริหารที่ชัดเจนแต่ปัจจัยแวดล้อมอื่นก็มีผลต่อความสำเร็จ การลงทุนเปิดร้านครั้งแรกๆ จึงต้องมีปัญหามาก ถ้าหุ้นส่วนพร้อมลุย พร้อมทหน้าที่ตัวเอง ก็จะไปถึงเป้าหมายในการสร้างกำไรได้เร็วขึ้น

2.ทำร่างบันทึกสัญญา รายละเอียดชัดเจน

เคล็ดลับหาหุ้นส่วน

ปัญหาที่หุ้นส่วนทะเลาะกันอีกส่วนคือความไม่ชัดเจนของสัญญา แม้บางทีหุ้นส่วนจะเป็นคนรู้จัก เป็นเพื่อนสนิท แต่พอลงทุนทำแฟรนไชส์ซึ่งจะมีเรื่องรายได้ มีเรื่องกำไร ผลประกอบการมาเกี่ยวข้อง วิธีที่จะป้องกันไม่ให้ทะเลาะกันคือการทำร่างบันทึกสัญญาระหว่างกันให้ชัดเจน เพื่อจะได้กำหนดสิทธิบทบาทหน้าที่และหุ้นส่วนจะได้สบายใจว่าเงินที่ลงทุนไปตัวเองจะได้คืนกลับมาเมื่อไหร่ ตอนไหน อย่างไร ดังนั้นเรื่องของสัญญาจึงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก

3.มีการประชุมสรุปผลงานให้หุ้นส่วนรับทราบ

เคล็ดลับหาหุ้นส่วน

สาเหตุที่หุ้นส่วนแฟรนไชส์ไม่พอใจคือไม่รู้เลยว่าตอนนี้ธุรกิจที่ลงทุนไว้มีอะไรเกิดขึ้นบ้าง วิธีที่ดีที่สุดเพื่อไม่ให้ทะเลาะกันและหุ้นส่วนทุกคนเข้าใจตรงกันคือการสรุปผลงานอาจเป็นรายเดือน ราย 3 เดือน หรือมีจุดวัดผลว่าทำงานกันไปถึงไหนแล้ว ตอนนี้ธุรกิจเป็นอย่างไร มีปัญหาอะไรตรงไหน มีอะไรที่ต้องปรับปรุง หรือมีผลประกอบการรายได้อยู่เท่าไหร่ เป็นต้น

เมื่อหุ้นส่วนได้รับทราบข้อมูล ก็จะคลายความกังวล หรือถ้าเริ่มมีปัญหาหุ้นส่วนก็จะได้รับรู้ไปพร้อมกัน และนำมาซึ่งการหาวิธีแก้ปัญหาร่วมกัน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในเรื่องผลกำไรอย่างที่ตั้งเป้าไว้

4.หาหุ้นส่วนที่มี “เข้าใจ” และมี “เป้าหมายเดียวกัน”

เคล็ดลับหาหุ้นส่วน

การลงทุนแฟรนไชส์แม้จะมีระบบชัดเจน มีแฟรนไชส์ซอดูแล แต่ไม่ใช่ว่าเริ่มต้นแล้วจะได้กำไรทันที จำเป็นต้องมีระยะคืนทุน ซึ่งระหว่างนั้นต้องเจอกับปัญหาหลายอย่างทั้งการตลาด ทั้งคู่แข่ง ซึ่งหุ้นส่วนที่ดีต้องเข้าใจกันและกัน ไม่ใช่หวังจะลงทุนแล้วจ้องจะได้กำไรคืนทันที บางครั้งอาจมีปัญหาที่ทำให้การคืนทุนไม่เป็นไปอย่างที่ใจคิด หุ้นส่วนที่ดีก็ต้องเข้าใจและมาร่วมกันแก้ปัญหา มีเป้าหมายร่วมกันที่ชัดเจน ถ้าหาหุ้นส่วนที่เข้าใจแบบนี้ได้ปัญหาจากการทะเลาะก็คงไม่เกิดขึ้น

5.หาหุ้นส่วนที่ไม่เดือดร้อน “ทางการเงิน”

เคล็ดลับหาหุ้นส่วน

การลงทุนมีความเสี่ยง แม้จะเป็นการลงทุนในแบบแฟรนไชส์ก็ต้องมีระยะเวลารอคอยที่จะคืนทุน บางครั้งหุ้นส่วนที่เรานำมาร่วมลงทุนเป็นคนที่มีภาระการเงินมาก จำเป็นต้องใช้เงินเยอะ ในขณะที่ธุรกิจยังไม่แข็งแรง ผลประกอบการอาจยังไม่เข้าเป้า แต่หุ้นส่วนกลับอยากได้ปันผลคืนโดยเร็ว ก็จะเป็นปัญหาที่นำไปสู่การทะเลาะกันได้ ดังนั้น เพื่อการเป็นหุ้นส่วนที่ดีเบื้องต้นควรหาหุ้นส่วนที่ใจเย็นในเรื่องการเงินและไม่เร่งรีบในเรื่องผลกำไรมากเกินไป จะทำให้การลงทุนนั้นมีเสถียรภาพมากขึ้น

การลงทุนในระบบแฟรนไชส์ส่วนใหญ่หากทำตามที่แฟรนไชส์ซอกำหนดมักจะดำเนินธุรกิจได้ไม่มีปัญหา แต่ก็มีหลายเคสที่ปัญหาไม่ได้เกิดจากระบบแฟรนไชส์แต่เกิดจากการทะเลาะกันของ “หุ้นส่วน” นำไปสู่ผลลัพธ์ที่เลวร้ายทางธุรกิจ การมีหุ้นส่วนหลายคนที่เน้นปริมาณจึงไม่สำคัญเท่ากับมีหุ้นส่วนน้อยแต่เน้นคุณภาพ จะทำให้ธุรกิจเติบโตได้ง่ายกว่า

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจติดตามได้ที่ https://bit.ly/335phDi
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

ขอบคุณข้อมูล https://golink.icu/SLLVprV , https://golink.icu/csXNFjb , https://citly.me/cFx5w

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด