5 เคล็ดลับซื้อแฟรนไชส์อย่างชาญฉลาด (ตปท.)

การลงทุนใน ธุรกิจแฟรนไชส์ เป็นการเริ่มต้นทำธุรกิจอย่างชาญฉลาด เพราะการสร้างธุรกิจใหม่ด้วยตัวเอง โดยไม่ได้รับความช่วยเหลือจากคนอื่นเลย เป็นเรื่องที่ยากมากในการบริหารธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ ไม่เพียงแต่คุณต้องมีความรู้เรื่องการตลาด การเงิน การบัญชี แต่คุณต้องรู้และเข้าใจในธุรกิจจริงๆ อีกทั้งยังต้องสร้างแบรนด์ หาลูกค้าด้วยตัวเองด้วย

เมื่อคุณเลือกซื้อธุรกิจแฟรนไชส์ เจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์ก็จะให้คู่มือปฏิบัติการแฟรนไชส์แก่คุณ โดยที่คุณต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบและระบบการบริหารธุรกิจตามแบบคู่มือแฟรนไชส์ทุกอย่าง เพราะคู่มือแฟรนไชส์ถือเป็นเคล็ดลับและสูตรความสำเร็จของธุรกิจแฟรนไชส์ที่คุณได้ซื้อมา คุณเพียงแค่ปฏิบัติตามคู่มือให้ถูกต้องแค่นั้นเอง

วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com ขอนำเสนอ 5 เคล็ดลับการลงทุนในธุรกิจแฟรนไชส์อย่างชาญฉลาด โดยอ้างอิงข้อมูลจากเว็บไซต์ .businessdictionary.com เพื่อเป็นเครื่องนำทางให้แก่นักลงทุน รวมถึงผู้ที่กำลังอยากเริ่มต้นทำธุรกิจด้วยการซื้อแฟรนไชส์ มาดูพร้อมกันเลยว่าทั้ง 5 เคล็ดลับจากต่างประเทศ เราจะสามารถนำมาปรับใช้ได้อย่างไรบ้าง

1.สำรวจเงินลงทุนและเงินทุนหมุนเวียนของตัวเอง

ธุรกิจแฟรนไชส์

ก่อนที่คุณจะตัดสินใจเลือกซื้อธุรกิจแฟรนไชส์แบรนด์ใดแบรนด์หนึ่ง อย่างแรกที่คุณต้องทำคือ การสำรวจตัวเองว่ามีเงินลงทุนในการซื้อแฟรนไชส์จำนวนมากน้อยแค่ไหน

อีกทั้งยังตั้งมีเงินทุนหมุนเวียน สำหรับการบริหารธุรกิจ บริการจัดการร้านในช่วงระยะเวลา 2-3 เดือนแรก โดยเงินลงทุนธุรกิจจะเป็นค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์แรกเริ่ม และค่าตกแต่งร้าน ส่วนเงินทุนเวียนจะเป็นค่าจ้างพนักงาน ค่าใช้จ่ายในการซื้อวัตถุดิบและสินค้าเข้ามาในร้าน

แต่สำหรับใครที่ต้องการเลือกซื้อแฟรนไชส์แบรนด์ใหญ่ หรือบริษัทใหญ่ๆ ที่ใช้เงินลงทุนตั้งแต่หลักล้านขึ้นไป อย่างแรกบริษัทแฟรนไชส์ใหญ่เหล่านี้ จะให้คุณจดทะเบียนนิติบุคคล รวมถึงมีแหล่งเงินทุนที่สามารถค้ำประกันเงินกู้ให้แก่คุณด้วย

2.วิเคราะห์เปรียบเทียบค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์

g2

โดยปกติทั่วไปแล้ว บริษัทธุรกิจแฟรนไชส์แบรนด์ใหญ่ๆ มีชื่อเสียง จะมีค่าธรรมเนียมแรกเข้าสูงอยู่แล้ว ตั้งแต่หลัก 4 แสนถึงหลักล้าน ยกตัวอย่างแบรนด์ในเมืองไทยเช่น 7-11, เฟรชมาร์ท, Pizza, N&B เป็นต้น เพราะแบรนด์แฟรนไชส์เหล่านี้เป็นที่นิยมของตลาดและผู้บริโภค ลงทุนไปแล้วคุ้มค่าแน่นอน บริษัทให้การช่วยสนับสนุนทุกอย่างตลอดอายุสัญญา

แต่ถ้าเป็นแบรนด์แฟรนไชส์ที่พึ่งเกิดขึ้นใหม่ แล้วมีการเก็บค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์เริ่มแรกสูงด้วย ตรงนี้คุณจะต้องศึกษาและวิเคราะห์ให้ดีว่า บริษัทแฟรนไชส์ดังกล่าวมีวัตถุดิบสินค้า มีระบบการบริหารจัดการ ที่จะคอยช่วยเหลือคุณหรือไม่

ในทำนองเดียวกัน ถ้าบริษัทแฟรนไชส์เรียกเก็บค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ต่ำ และใช้เงินลงทุนเริ่มต้นธุรกิจต่ำอีกด้วย ตรงนี้คุณต้องคิดก่อนเลยว่า คุณอาจจะไม่ได้รับการสนับสนุนระบบจากบริษัทแม่แฟรนไชส์ รวมถึงไม่ได้รับความคุ้มครองสิทธิ และก็อาจมีธุรกิจแบบเดียวกันเกิดขึ้นใกล้ๆ ธุรกิจคุณเกิดอีกจำนวนมาก

3.สัมภาษณ์พูดคุยกับแฟรนไชส์ซีที่ประสบความสำเร็จและล้มเหลว

p16

ถือว่าสำคัญเช่นกันก่อนที่คุณจะเลือกซื้อแฟรนไชส์ เพราะการสัมภาษณ์พูดคุยกับแฟรนไชส์ซีที่ซื้อธุรกิจแฟรนไชส์แบรนด์นี้ไป จะทำให้คุณรู้ว่าธุรกิจแฟรนไชส์นี้เหมาะที่จะซื้อไปลงทุนหรือไม่ อาจจะจะต้องสัมภาษณ์พูดคุยกับแฟรนไชส์ซีประมาณ 4-5 ราย

ถ้าจะให้ดีต้องมีทั้งแฟรนไชส์ซีที่ล้มเหลวและประสบความสำเร็จ เพราะจะได้รู้ว่าที่เขาล้มเหลวเพราะอะไร หรือประสบความสำเร็จเพราะอะไร ตรงนี้คุณจะสามารถตัดสินใจได้ว่า ธุรกิจแฟรนไชส์แบรนด์นี้น่าลงทุนหรือไม่

นอกจากการสัมภาษณ์และพูดคุยกับแฟรนไชส์ซีแล้ว คุณต้องติดต่อสอบถามไปยังบริษัทแม่ของแฟรนไชส์ด้วยว่า ผลการดำเนินธุรกิจเป็นอย่างไรบ้าง ผลกำไร-ขาดทุนในแต่ละปี ย้อนหลังไปประมาณ 4-5 ปีก็น่าจะดี รวมถึงตรวจสอบประวัติและวิสัยทัศน์ของผู้บริหารธุรกิจแฟรนไชส์ด้วยว่า มีความพยายามและมุ่งมั่นพัฒนาระบบแฟรนไชส์มากน้อยแค่ไหน

4.อ่านรายละเอียดเอกสารทุกอย่างที่เจ้าของแฟรนไชส์ส่งให้

g4

เป็นเรื่องปกติที่เจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์จะไม่บอกรายละเอียดการซื้อขายแฟรนไชส์ทุกอย่างแก่คุณไป แต่ถ้าเป็นเจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์ที่ดี เขาจะบอกทุกรายละเอียดในการซื้อแฟรนไชส์แก่คุณ

แต่ถ้าอยากให้แน่ใจ คุณต้องศึกษาหาความรู้ด้วยเอง อ่านรายละเอียดในเอกสารทุกอย่างที่เจ้าของแฟรนไชส์ส่งให้คุณ ถ้าไม่เข้าใจรายละเอียดอะไรในเอกสารตรงจุดไหน คุณก็ต้องรีบติดต่อสอบถาม ไปยังบริษัทหรือเจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์โดยเร็วที่สุด โดยเฉพาะคู่มือและสัญญาแฟรนไชส์

5.ถามเรื่องค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมอื่นๆ

g3

ระบบธุรกิจแฟรนไชส์ นอกจากผู้ซื้อแฟรนไชส์จะต้องเสียค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ หรือ Franchise fee แล้ว ยังต้องเสียค่าธรรมเนียมผลตอบแทนการดำเนินงาน Royalty Fee และค่าการตลาด ประชาสัมพันธ์ หรือ Advertising Fee ให้กับเจ้าของแฟรนไชส์อีกด้วย

ก่อนที่คุณจะตัดสินใจซื้อแฟรนไชส์ ก็ต้องถามในเรื่องค่าใช้จ่ายดังกล่าวด้วยว่า ต้องจ่ายกี่ปี จ่ายทุกเดือน หรือจ่ายทุกอาทิตย์ หรือจ่ายเดือนละ 2 ครั้ง ตรงนี้ต้องถามอย่างละเอียด เพื่อจะใช้วิเคราะห์ว่า แฟรนไชส์แบรนด์จะดีหรือไม่ดี หรือจะได้รับผลตอบแทนที่คุ้มค่าหรือไม่ หากซื้อแฟรนไชส์ไปแล้ว

ทั้งหมดเป็น 5 เคล็ดลับการลงทุนธุรกิจแฟรนไชส์อย่างชายฉลาดจากต่างประเทศ คนที่กำลังมองหาธุรกิจแฟรนไชส์ไปลงทุน ก็สามารถนำเอาหลักการดังกล่าว ไปเป็นแนวทางเลือกซื้อธุรกิจแฟรนไชส์ที่ดีๆ ให้กับตัวเองได้นะครับ

ใครที่กำลังมองหาธุรกิจแฟรนไชส์ไปลงทุน เราได้รวบรวมธุรกิจแฟรนไชส์ไว้หลากหลายแบรนด์ หลายประเภทธุรกิจ ใช้เงินลงทุนตั้งแต่หลักพันจนถึงหลักล้าน

คลิกดูได้ที่ goo.gl/eyzqFO 


Franchise Tips

  1. สำรวจเงินลงทุนและเงินทุนหมุนเวียนของตัวเอง
  2. วิเคราะห์เปรียบเทียบค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์
  3. สัมภาษณ์พูดคุยกับแฟรนไชส์ซีที่ประสบความสำเร็จและล้มเหลว
  4. อ่านรายละเอียดเอกสารทุกอย่างที่เจ้าของแฟรนไชส์ส่งให้
  5. ถามเรื่องค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมอื่นๆ

 

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3lE8Zpd

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช