5 อันดับแรกที่คนไทย engage “แฟรนไชส์” เยอะที่สุด บนเพจ Facebook ThaiFranchiseCenter ปี 2567
กระแสโซเชี่ยลที่มาแรงในปี 2567 ทุกแบรนด์ต้องเน้นการตลาดออนไลน์เข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้ธุรกิจ ซึ่งไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ในฐานะที่เป็นเว็บไซต์ที่รวบรวมแฟรนไชส์ไว้มากที่สุดในเมืองไทย จึงได้พัฒนาเนื้อหาให้มีความน่าสนใจเพื่อให้ผู้ติดตามได้กด Like , กด Share และมีการ Comment ที่จะนำไปสู่การมีส่วนรวม (engage) ได้มากที่สุด ซึ่งมีหลายโพสต์ได้รับความนิยมจากผู้ติดตามที่มีกว่า 2.7 แสนคน ลองไปดูว่ามีโพสต์ไหนสุดปังในปี 2567 บ้าง
1.สมรภูมิเดือด! แข่งทุกทำเล ร้านสะดวกซื้อ 7-Eleven vs CJ Express (การมีส่วนร่วม 183,080) https://bit.ly/3VVMyjH
สมรภูมิค้าปลีกมีการแข่งขันดุเดือดมาก ทุกแบรนด์ต่างใช้กลยุทธ์การตลาดที่ตัวเองถนัดในการแย่งชิงส่วนแบ่งการตลาด มองอีกด้านก็เป็นผลดีต่อผู้บริโภคที่ได้ประโยชน์จากเรื่องนี้มาก ในช่วงปลายปีประมาณเดือนพฤศจิกายน เราได้มีการโพสต์ภาพอินโฟกราฟฟิคเปรียบเทียบการแข่งขันระหว่างร้านสะดวกซื้อ 7-Eleven กับ CJ Express
ปรากฏว่ามีคนสนใจเรื่องนี้มาก กด Like , กด Share และมีการ Comment เป็นจำนวนมาก เกิดเป็นตัวเลข engage กว่า 183,080 สะท้อนให้เห็นว่านี่คือหนึ่งในเรื่องที่คนไทยสนใจ หรืออีกมุมหนึ่งคนทำธุรกิจอาจจะลองถอดความสำเร็จของ 2 แบรนด์ดังนี้ว่าเขาทำการตลาดอย่างไรถึงทำให้คนสนใจได้ทั่วประเทศ
2.กินพวกเดียวกัน! กลยุทธ์ Cannibalization แฟรนไชส์ 7-Eleven (การมีส่วนร่วม 103,787) https://bit.ly/3BNuWzx
พูดถึงค้าปลีกอันดับ 1 ของเมืองไทยอย่าง 7-Eleven ไม่ว่าจะประเด็นไหนก็มีคนให้ความสนใจมากเป็นพิเศษ ล่าสุดเมื่อช่วงเดือนพฤศจิกายน ได้มีการโพสต์เทคนิคการตลาดแบบ Cannibalization ของ 7-Eleven เหตุผลที่ทำให้โพสต์นี้มีการ
กด Like , กด Share และ Comment กันเป็นจำนวนมาก อาจเป็นเพราะความคิดของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ความเข้าใจไม่เท่ากัน เกิดเป็นสิ่งที่อยากรู้และต้องการหาคำตอบ ซึ่งในโพสต์นี้ได้นำเสนอข้อมูลไว้อย่างชัดเจน ก็แน่นอนว่ามีทั้งคนที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ถือเป็นอีกหนี่งสีสันที่ทำให้โพสต์นี้ได้รับ engage กว่า 103,787 ตอกย้ำความเป็นแบรนด์ค้าปลีกที่คนสนใจมากที่สุดได้อีกทางหนึ่งด้วย
3.ทำไม? คาเฟ่อเมซอน ถึงเป็นแฟรนไชส์ที่ใช่ ไม่ต้องทำไร ก็มีคนอยากซื้อ (การมีส่วนร่วม 97,165) https://bit.ly/3VXfesp
ปี 2567 คนส่วนใหญ่อยากมีธุรกิจของตัวเอง แต่ก็ติดว่ามีเงินทุนไม่พอบ้าง หรือบางคนก็ต้องการสร้างธุรกิจที่ได้กำไรในระยะยาว โดยหนึ่งในแบรนด์ที่พูดถึงเมื่อไหร่คนสนใจมากคือคาเฟ่ อเมซอน และก็มีหลายคำถามที่คนอยากรู้ ถึงขนาดมีการถกเถียงว่าคาเฟ่ อเมซอน อาจไม่ใช่แฟรนไชส์ที่ทำกำไรดีที่สุด แต่พูดถึงแบรนด์นี้ทีไรทำไมคนอยากลงทุนกันมาก
ซึ่งโพสต์ดังกล่าวเมื่อเดือนพฤศจิกายนได้มีการทำภาพอินโฟแสดงเหตุผลที่ชัดเจนเกี่ยวกับคาเฟ่ อเมซอน ว่ามีจุดเด่นอะไรและมีความน่าสนใจมากแค่ไหน ในข้อมูลดังกล่าวยังได้นำเสนอถึงงบลงทุนที่เห็นตัวเลขชัดเจนนำไปสู่การกด Like , กด Share และ Comment กันเป็นจำนวนมาก กลายเป็น engage กว่า97,165 และเชื่อว่าหากมีการโพสต์เรื่องที่เกี่ยวกับคาเฟ่ อเมซอนอีกความสนใจของคนก็จะมากเหมือนเช่นเคย
4.แฟรนไชส์สเต็กลุงหนวด ร้านสเต็กบ้านๆ สู่รายได้ 400 ล้านบาท (การมีส่วนร่วม 47,098) https://bit.ly/3WjaMEL
ข้อมูลที่คนส่วนใหญ่ในปี 2567 อยากรู้คือ ธุรกิจไหนที่ทำแล้วรวย ทำแล้วขายดี ยิ่งไม่ต้องลงทุนมาก ยิ่งเป็นที่ต้องการ ซึ่งเราได้ทำการโพสต์เนื้อหาของแฟรนไชส์สเต็กลุงหนวด ที่เริ่มต้นจากการเป็นสเต็กแบบบ้านๆ จนก้าวสู่การสร้างรายได้กว่า 400 ล้านบาท
ประเด็นที่คนติดตามจนนำไปสู่การกด Like , กด Share และ Comment ว่าอะไรคือกลยุทธ์สู่ความสำเร็จ เพื่อที่จะได้นำเอากลยุทธ์เหล่านั้นไปปรับใช้กับธุรกิจตัวเองได้บ้าง หรือบางคนอยากได้ข้อมูลของแฟรนไขส์สเต็กลุงหนวดเพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจการเลือกลงทุนในอนาคต
5.ขายความคุ้ม? กาแฟพันธุ์ไทย เปลี่ยนคนดื่ม > คนซื้อแฟรนไชส์ (การมีส่วนร่วม 38,803) https://bit.ly/4iTsrwk
ตลาดกาแฟในเมืองไทยมีหลายแบรนด์ดังที่ครองส่วนแบ่งการตลาด ซึ่ง กาแฟพันธุ์ไทย ก็มีความใกล้ชิดกับคนไทยและเป็นแบรนด์ดังที่มีลูกค้าเยอะมาก ความสำเร็จของแฟรนไชส์กาแฟพันธุ์ไทย คือ การแซงคู่แข่งแฟรนไชส์กาแฟอินทนิลที่มีจำนวน 1,005 แห่ง ก้าวขึ้นมาเป็นเบอร์ 2 ของตลาดกาแฟในเมืองไทย แน่นอนว่าเรื่องกลยุทธ์ที่นำมาใช้คือสิ่งที่คนส่วนใหญ่อยากรู้มากนำไปสู่การกด Like , กด Share และ Comment กันอย่างแพร่หลาย กลายเป็น engage กว่า 38,803
ในอีกมุมหนึ่งอาจเป็นเพราะกลุ่มลูกค้าของกาแฟพันธุ์ไทยเอง อยากได้ข้อมูลในเชิงลึกถึงเหตุผลในการทำโปรโมชัน สะท้อนให้เห็นถึงประสิทธิภาพด้านการตลาดของกาแฟพันธุ์ไทยที่แบรนด์อื่นอาจนำไปประยุกต์ใช้ได้
สังเกตได้ว่าโพสต์ไหนก็ตามที่เป็นเรื่องที่คนส่วนใหญ่อยากรู้ เป็นเรื่องคนที่อยากติดตาม เป็นเรื่องที่มีเนื้อหาแปลกใหม่น่าสนใจจะนำไปสู่การกด Like , กด Share และ Comment ได้เป็นจำนวนมาก สะท้อนให้เห็นถึงทิศทางในการนำเสนอข้อมูลในปี 2568 ที่จะถึงนี้ต้องเน้นไอเดียพิเศษ ยิ่งแตกต่างคนยิ่งอยากรู้ และก็จะทำให้ธุรกิจกลายเป็นที่รู้จักในโลกโซเชี่ยลได้มากขึ้นด้วย
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
อ้างอิงจาก คลิกที่นี่
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)