5 วิธีหลีกเลี่ยงการผิดพลาดซื้อแฟรนไชส์
หลายๆ คนชื่นชอบ ธุรกิจแฟรนไชส์ เพราะว่าเป็นธุรกิจที่ซื้อมาแล้ว สามารถนำไปเปิดร้านขายสินค้าและบริการได้เลย ไม่ต้องเสียเวลาไปสร้างสินค้าและบริการให้ติดตลาด
ที่สำคัญเป็นการความเสี่ยงในการเริ่มต้นทำธุรกิจด้วย อีกทั้งผู้ซื้อแฟรนไชส์ยังได้รับการฝึกอบรมอย่างลึกซึ้งจากเจ้าของ แบรนด์แฟรนไชส์ รวมถึงคำแนะนำต่างๆ ในการดำเนินธุรกิจอีกด้วย
แต่ถึงอย่างไร การซื้อแฟรนไชส์มาแล้ว ใช่ว่าจะประสบความสำเร็จกันทุกคน ทั้งรายได้อาจไม่เป็นไปตามที่เจ้าของแบรนด์แฟรนไชส์โฆษณาไว้ตั้งแต่ต้น ยิ่งถ้าตั้งอยู่ในทำเลไม่ดี ก็มีสิทธิ์เจ๊งได้ทันที เรียกได้ว่าซื้อแฟรนไชส์ผิด คิดจนตัวตาย
วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะมาบอกวิธีการหลีกเลี่ยง หรือป้องกันการผิดพลาดในการซื้อแฟรนไชส์มาเปิดร้าน ให้กับผู้ที่สนใจอยากลงทุนแฟรนไชส์ โดยเฉพาะมือใหม่ๆ ที่อยากสร้างรายได้จากแฟรนไชส์ มาดูกันว่ามีอะไรบ้าง
1.ศึกษาค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายต่างๆ
ก่อนที่จะตัดสินใจลงนามอะไรต่างๆ ในสัญญาแฟรนไชส์ ผู้ซื้อแฟรนไชส์ต้องศึกษาหาข้อมูลแบรนด์แฟรนไชส์ รวมถึงรายละเอียดต่างๆ อย่างรอบคอบ โดยเฉพาะเรื่องของค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์แรกเข้า (Franchise Fee) รวมถึงค่าธรรมเนียมของการดำเนินธุรกิจในแต่ละเดือน (Royalty Fee) ที่ผู้ซื้อแฟรนไชส์จะต้องจ่ายให้กับแฟรนไชส์ซอร์
โดยส่วนใหญ่จะจ่าย Royalty Fee กันที่ประมาณ 5% ของยอดขายในแต่ละเดือน ถือเป็นการการตลาดและโฆษณาประชาสัมพันธ์ของแฟรนไชส์ซอร์ แน่นอนว่าเงินเหล่านี้เป็นค่าใช้จ่ายของแฟรนไชส์ซีในแต่ละเดือน ยังไม่รวมค่าวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ การตกแต่งร้านในการเริ่มต้นธุรกิจ ดังนั้น ก่อนซื้อแฟรนไชส์ต้องดูในรายละเอียดต่างๆ เหล่านี้
2.ประเมินรายได้ในเชิงปฏิบัติ
อย่าซื้อแฟรนไชส์เพราะว่าเห็นตัวเลขรายได้ที่แฟรนไชส์ซอร์ได้ทำเอาไว้ให้ เพราะอย่าลืมว่าแฟรนไชส์แต่ละสาขาตั้งอยู่มนพื้นที่แตกต่างกัน พฤติกรรมการซื้อสินค้าและบริการของผู้บริโภคก็อาจแตกต่างกันด้วย จึงทำให้ยอดขายและรายได้อาจไม่เท่ากัน ยิ่งถ้าผู้ซื้อแฟรนไชส์มีทำเลที่คนอาศัยไม่มาก หรือนานๆ ทีคนผ่านมาครั้ง คิดได้เลยว่ายอดขายไม่ดีแน่ๆ
ดังนั้น ก่อนจะเซ็นสัญญาแฟรนไชส์ อย่าดูตัวเลขรายได้ที่จะได้รับอย่างเดียว ต้องคำนวณและประเมินรายได้ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจริงในอนาคตด้วย รวมถึงค่าใช้จ่ายภายในร้าน ค่าพนักงาน ค่าสั่งซื้อวัตถุดิบจากแฟรนไชส์ซอร์ เพราะค่าใช้จ่ายเหล่านี้จะถือเป็นกำไรหลังจากหักจากยอดขายแล้ว ถ้าประเมินว่ายังขาดทุนก็อย่าพึ่งซื้อ หรือหาทางออกอื่นๆ
3.สอบถามหรือพูดคุยกับแฟรนไชส์ซีเดิม
เป็นวิธีการที่ดีในการลดความผิดพลาดในการซื้อแฟรนไชส์ เพราะแฟรนไชส์ซีที่กำลังเปิดร้านขายสินค้าและบริการของแบรนด์แฟรนไชส์นั้นๆ จะเป็นผู้ที่รู้ดีที่สุดว่า แฟรนไชส์แบรนด์นี้ดีหรือไม่ดี ขายสินค้าและบริการได้มากน้อยแค่ไหนในแต่ละเดือน
แล้วยอดขายหรือรายได้เพียงพอหรือไม่ แฟรนไชส์ซอร์ช่วยอะไรบ้าง วิธีการถามแฟรนไชส์ซีโดยตรง ถือว่าดีกว่าไปสอบถามแฟรนไชส์ซอร์ เพราะบางครั้งไม่ได้คำตอบที่เราต้องการ เพราะแฟรนไชส์ซอร์อยากขายแฟรนไชส์อย่างเดียว
4.อ่านเอกสารการเสนอขายแฟรนไชส์
หลายๆ คนไม่ได้ศึกษาเอกสารข้อตกลงในเรื่องการซื้อขายแฟรนไชส์อย่างรอบคอบ รู้เพียงว่าตัวเองชอบแฟรนไชส์แบรนด์นี้ ก็ตกลงเซ็นสัญญาซื้อแฟรนไชส์ไปเลย โดยไม่รู้ว่ารายละเอียดต่างๆ ในเอกสารของการนำเสนอขายแฟรนไชส์เป็นอย่างไร
เพราะเมื่อเซ็นสัญญาไปแล้วจะเอาคืนไม่ได้ ยิ่งหากเกิดข้อพิพาทกันภายหลังจะสูญเสียยิ่งกว่า ดังนั้น ก่อนจะทำการซื้อแฟรนไชส์ต้องอ่านรายละเอียดจากเอกสารเกี่ยวกับแฟรนไชส์อย่างละเอียด โดยเฉพาะเกี่ยวกับข้อกฎหมายต่างๆ
5.ทำการบ้านให้เข้าใจ
แน่นอนว่าก่อนที่จะเลือกซื้อแฟรนไชส์แบรนด์ใดแบรนด์หนึ่ง ผู้ซื้อแฟรนไชส์ควรจะทำการศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับแฟรนไชส์ รวมถึงแบรนด์แฟรนไชส์ที่ตัวเองสนใจอย่างละเอียด โดยเฉพาะเรื่องของระยะเวลาในการดำเนินธุรกิจแฟรนไชส์ จำนวนสาขาที่พอวัดมาตรฐานและความสำเร็จ อาจจะ 2-3 สาขา (ไม่จำเป็นว่าจะต้องมีสาขาจำนวนมาก)
แต่ถ้าแฟรนไชส์แบรนด์นั้นดำเนินธุรกิจมาแค่ 1-2 ปี และมีสาขาจำนวนจำกัด หรือมีสาขาแฟรนไชส์น้อยมาก ผู้ซื้อแฟรนไชส์ก็อาจจะต้องพิจารณารายละเอียดอื่นๆ ประกอบด้วย หรืออาจใช้บริการที่ปรึกษาด้านแฟรนไชส์ เพราะคนเหล่านี้จะมีความรู้ความสามารถด้านแฟรนไชส์เป็นอย่างดี อีกทั้งยังรู้ข้อกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ป้องกันการโดนหลอกได้ด้วย
จะเห็นได้ว่า วิธีการป้องกันหรือหลีกเลี่ยงจากการผิดพลาดในการซื้อแฟรนไชส์นั้น โดยหลักๆ แล้วขึ้นอยู่กับตัวผู้สนใจซื้อแฟรนไชส์มากที่สุด
โดยเฉพาะการศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับแฟรนไชส์ให้เข้าอย่างละเอียด เพราะเมื่อเข้าใจเรื่องแฟรนไชส์แล้ว ก็จะสามารถไปต่อในเรื่องอื่นๆ รวมถึงเลือกซื้อแฟรนไชส์ได้อย่างไม่ผิดหวังได้
อ่านบทความอื่นๆ จากไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ www.thaifranchisecenter.com
เลือกซื้อแฟรนไชส์ไทยขายดี เริ่มต้นธุรกิจ goo.gl/hJU59M
Franchise Tips
- ศึกษาค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายต่างๆ
- ประเมินรายได้ในเชิงปฏิบัติ
- สอบถามหรือพูดคุยกับแฟรนไชส์ซีเดิม
- อ่านเอกสารการเสนอขายแฟรนไชส์
- ทำการบ้านให้เข้าใจ
อ้างอิงข้อมูลจาก goo.gl/zrGwEM