5 วิธีการหลีกเลี่ยง ตกหลุมพรางแฟรนไชส์

แม้ธุรกิจแฟรนไชส์จะช่วยให้คนที่ไม่อยาก สร้างธุรกิจใหม่ ด้วยตัวเอง ประสบความสำเร็จในธุรกิจได้เร็วขึ้น เพราะก่อนที่จะซื้อแฟรนไชส์ได้เห็นตลาด ได้เห็นสินค้าหรือบริการของธุรกิจแฟรนไชส์ไปแล้ว รวมถึงได้เห็นความสำเร็จของธุรกิจแฟรนไชส์ ที่เจ้าของแฟรนไชส์จะทำการถ่ายทอดระบบการทำงานให้กับผู้ซื้อแฟรนไชส์ในช่วงเริ่มต้นธุรกิจ

แต่ก็อย่าลืมว่า การลงทุนในธุรกิจแฟรนไชส์ ไม่ได้การันตีให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์จะประสบความสำเร็จ เหมือนกับเจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์ 100% บางครั้งเจ้าของแฟรนไชส์อาจปิดบังความลับบางสิ่งบางอย่าง หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์ไม่เข้าใจระบบแฟรนไชส์ที่ดีพอ ไม่รู้กฎระเบียบ รวมถึงสัญญาแฟรนไชส์ ก็อาจทำให้ธุรกิจแฟรนไชส์ล้มเหลวได้

วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com มีวิธีการที่จะช่วยให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์ ไม่ต้องตกหลุมพรางธุรกิจแฟรนไชส์ ซื้อแฟรนไชส์ไปแล้ว ไม่โดนหลอก ได้ธุรกิจแฟรนไชส์ที่ดี มีคุณภาพ โดยอ้างอิงข้อมูลจากเว็บไซต์ Businessdictionary.com มาดูพร้อมกันเลยว่า จะมีวิธีการอย่างไร ที่จะช่วยให้คุณหลีกเลี่ยงการตกหลุมพรางแฟรนไชส์ครับ

1.ศึกษาค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายอื่นๆ

สร้างธุรกิจใหม่

ระบบธุรกิจแฟรนไชส์จะมีค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์เริ่มแรก เงินลงทุนเริ่มแรก รวมถึงค่าธรรมเนียมที่จะต้องเก็บจากยอดขาย หรือ Royalty Fee ที่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ต้องจ่ายให้กับเจ้าของแฟรนไชส์ โดยเฉพาะค่า Royalty Fee นั้น ถือว่ามีความสำคัญอย่างมากต่อการอยู่รอดและดำรงอยู่ได้ของระบบแฟรนไชส์ ถ้าเจ้าของแฟรนไชส์เก็บค่า Royalty Fee มากเกินไป ซึ่งปกติจะเก็บกันที่ 5-10% จากยอดขายต่อเดือน หรือต่อไป ก็จะทำให้แฟรนไชส์ซีไม่สามารถอยู่รอดได้

นอกจากนี้ ผู้ซื้อแฟรนไชส์ยังต้องจ่ายค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์เริ่มแรก ซึ่งเป็นการรวมค่าอุปกรณ์และการติดตั้ง และหลายแบรนด์แฟรนไชส์ต้องเสียเงินลงทุนตั้งร้านเองด้วย ตรงนี้ถ้าผู้ซื้อแฟรนไชส์ไม่เข้าใจและศึกษารายละเอียดให้ดี ก็อาจตกหลุมพรางธุรกิจแฟรนไชส์ได้โดยง่ายนะครับ ซื้อไปแล้ว หมุนเงินไม่ทัน ก็เจ๊งได้เลย

2.ประมาณการณ์กำไรที่จะได้ในอนาคต

i1

แน่นอนว่าระบบธุรกิจแฟรนไชส์ เป็นระบบที่ส่งต่อความสำเร็จไปยังอีกคนหนึ่ง หลายขยายไปยังคนอื่นๆ เรื่อยๆ คนที่จะซื้อแฟรนไชส์ก็ต้องรู้แล้วว่า ธุรกิจแฟรนไชส์ไหน แบรนด์ไหน น่าสนใจ แบรนด์และสินค้าเป็นที่ต้องการของตลาด ซึ่งแน่นอนว่าเมื่อซื้อแฟรนไชส์ไปแล้ว จะประสบความสำเร็จแน่นอน

แต่ความจริงก็อย่าลืมว่า สาขาแฟรนไชส์แต่ละที่ตั้งอยู่ในทำเลไม่เหมือนคน บางที่มีคนน้อย บางที่มีคนมาก ก็อาจทำให้ส่งผลต่อยอดการขายและผลกำไรที่ไม่เหมือนกัน ถ้าคุณซื้อแฟรนไชส์ไปแล้ว โดยที่ไม่ได้ประมาณการณ์ยอดขายและกำไรที่จะได้จากทำไลที่ตั้งที่คุณจะใช้เปิดร้าน ก็อาจทำให้ซื้อแฟรนไชส์ไปแล้วขาดทุน ไปไม่รอดก็ได้นะครับ

3.ติดต่อสอบถามแฟรนไชส์ซีในปัจจุบันและอดีต

i2

แน่นอนว่า การพูดคุยและสอบถามผู้ซื้อแฟรนไชส์ หรือแฟรนไชส์ซีที่มีอยู่ในปัจจุบัน อาจช่วยให้คุณรับรู้ข้อมูลที่จำเป้นก่อนตัดสินใจซื้อแฟรนไชส์ก็ได้ จะได้รู้ว่ายอดขายแต่วันเป็นเท่าไหร่ กลุ่มลูกค้าเป็นใคร ช่วงเวลาไหนขายดี ช่วงเวลาไหนขายไม่ดี และที่แฟรนไชส์ซีเหล่านั้นยังทำอยู่เพราะไร อาจทำให้คุณรู้อีกว่า แฟรนไชส์ตัวนี้ลงทุนแล้วมีกำไรจริงๆ

ขณะเดียวกัน คุณก็ต้องหาทางที่จะติดแฟรนไชส์ซีที่เคยทำธุรกิจนี้ แต่ปัจจุบันไม่ทำแล้ว ต้องถามเขาว่าสาเหตุที่เขาเหล่านั้นไม่ทำแฟรนไชส์ตัวนี้ต่อไปเพราะอะไร หรือระบบแฟรนไชส์ไม่ดี เจ้าของแฟรนไชส์เอาเปรียบ หรือเป็นเพราะตัวแฟรนไชส์ซีเองไม่มีความทักษะและความสามารถในการบริหารธุรกิจแฟรนไชส์ที่ดีพอ ตรงนี้จะช่วยให้คุณตัดสินใจได้ง่าย

4.อ่านเอกสารสัญญาแฟรนไชส์ให้เข้าใจ

i3

คนส่วนใหญ่ที่ประสบความล้มเหลวในการซื้อธุรกิจแฟรนไชส์ไปลงทุน มาจากการไม่ศึกษาและอ่านรายละเอียดต่างๆ ในสัญญาแฟรนไชส์อย่างละเอียด ที่สำคัญไม่เข้าในรายละเอียดสัญญาแฟรนไชส์ที่เจ้าของแฟรนไชส์ร่างขึ้นมาด้วย

ดังนั้น เพื่อหลีกเลี่ยงการตกหลุมพรางแฟรนไชส์ ไม่โดนหลอก คนซื้อแฟรนไชส์ต้องอ่านสัญญาแฟรนไชส์ให้เข้าใจถ่อแท้ ก่อนที่จะทำการเซ็นสัญญาแฟรนไชส์กับเจ้าของแฟรนไชส์ เพราะถ้าเซ็นไปแล้วจะเอากลับคืนไม่ได้

อีกทางหนึ่ง ถ้าคนที่จะซื้อแฟรนส์ไม่มีความรู้ความเข้าใจในเอกสารสัญญาต่างๆ ก็ควรที่จะจ้างที่ปรึกษา หรือทีมกฎหมาย หรือทนายเข้ามาช่วยเหลือในเรื่องของสัญญาแฟรนไชส์ เป็นการลงทุนเพื่อความสำเร็จในวันข้างหน้าครับ

5.หาความรู้ระบบแฟรนไชส์ด้วยตัวเอง

i6

นอกจากเรื่องของเอกสารสัญญาแฟรนไชส์ ค่าธรรมเรียมแฟรนไชส์ และค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นกับระบบแฟรนไชส์แล้ว ผู้ซื้อแฟรนไชส์ต้องรู้จักทำการบ้านด้วยตัวเอง โดยศึกษาทำความเข้าใจในระบบแฟรนไชส์ เข้าคอร์สอบรมแฟรนไชส์ต่างๆ ที่หน่วยงานต่างจัดขึ้น อย่างน้อยก็จะทำให้คุณรู้แล้วว่า ธุรกิจแฟรนไชส์ที่ดี มีมาตรฐาน น่าลงทุน มีคุณสมบัติอย่างไร

เช่น เปิดดำเนินธุรกิจมานานกี่ปีแล้ว ถ้าน้อยปี ก็ถือว่ายังเสี่ยงในการลงทุน แต่ถ้าเปิดดำเนินการมานานหลายปี แต่มีจำนวนสาขาน้อย ก็มีความเสี่ยงเหมือนกัน ดังนั้น คนที่จะซื้อแฟรนไชส์ต้องดูว่า แฟรนไชส์ที่ดีต้องเปิดมานาน มีสาขาจำนวนมาก แบรนด์เป็นที่นิยมของตลาด สินค้าเป็นที่ต้องการของผู้บริโภค เป็นต้น

i7

ทั้งหมดเป็น 5 วิธีการหลีกเลี่ยงการตกหลุมพรางในระบบธุรกิจแฟรนไชส์ ซึ่งผู้สนใจซื้อแฟรนไชส์ไปลงทุน ก็สามารถนำเอาวิธีการทั้ง 5 ไปเป็นแนวทางก่อนที่จะตัดสินใจเลือกซื้อแฟรนไชส์แบรนด์ใดแบรนด์หนึ่ง เมื่อคุณรู้ลึก รู้จริงในการซื้อแฟรนไชส์ ก็ช่วยให้คุณประสบความสำเร็จในการทำธุรกิจในระบบแฟรนไชส์ได้ไม่ยากครับ

ใครสนใจลงทุนธุรกิจแฟรนไชส์ เราได้รวบรวมธุรกิจแฟรนไชส์ไว้หลากหลายแบรนด์ หลายกลุ่มธุรกิจ สามารถคลิกเข้าไปดูข้อมูลและรายละเอียดการลงทุนแฟรนส์ไชส์ ได้ที่ goo.gl/EQbYBT


Franchise Tips

  • ศึกษาค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายอื่นๆ
  • ประมาณการณ์กำไรที่จะได้ในอนาคต
  • ติดต่อสอบถามแฟรนไชส์ซีในปัจจุบันและอดีต
  • อ่านเอกสารสัญญาแฟรนไชส์ให้เข้าใจ
  • หาความรู้ระบบแฟรนไชส์ด้วยตัวเอง

 

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3kBCRRG

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช