5 บิ๊กไอเดีย! ตัวแทน “ถุงพลาสติก” โลกยุคใหม่

ปัญหาขยะ ถุงพลาสติก ไม่ใช่เรื่องที่เพิ่งจะตื่นตัว ผลการสำรวจรายงานว่า ประชากรบนโลกสร้างขยะพลาสติกมากถึง 8,300,000,000 ตัน ทั่วโลกจึงพยายามเอาจริงเอาจังกับเรื่องนี้นำมาสู่เทรนด์ “รักษ์โลก”

ผลกระทบจากเทรนด์นี้สู่ภาคธุรกิจคือการต้องปรับเปลี่ยนกลยุทธ์การตลาดเอาใจคนรักษ์โลก รวมถึงหลายประเทศเริ่มมีกฏหมายลดการใช้ ถุงพลาสติก ทำให้ภาคธุรกิจเองก็ต้องปรับตัวตาม ซึ่งอาจต้องยอมรับว่าบางทีการเปลี่ยนจากพลาสติกไปเป็นวัสดุแบบ BioPlastic อาจทำให้ธุรกิจมีต้นทุนการผลิตที่มากขึ้น

แต่ www.ThaiSMEsCenter.com กลับมองว่าต้นทุนที่เพิ่มขึ้นอาจเป็นแค่ในช่วงแรกที่มีการปรับตัวหลังจากแพร่หลายอย่างจริงจัง ต้นทุนที่แท้จริงอาจถูกกว่าการใช้พลาสติก ซึ่งปัจจุบันแบรนด์ใหญ่หลายแห่งทั่วโลกก็เริ่มปรับตัวเข้าสู่โหมดลดการใช้พลาสติกเพิ่มมากขึ้น

ดูที่ตลาดสหรัฐอเมริการายงานจาก Transparency Market Research ระบุว่าความต้องการหลอดกระดาษเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจนมีมูลค่ากว่า 1.6 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2019 และจะเติบโตที่ 13.8% ต่อปี ไปเรื่อยๆในช่วงระหว่างปี 2019-2027

ซึ่งแม้ว่าตลาดหลอดพลาสติกจะยังไม่ได้รับผลกระทบจนยอดซื้อลดลงฮวบฮาบ แต่มาตรการภาครัฐที่แบนการใช้หลอดพลาสติกนั้นจะทำให้เกิดความต้องการหลอดที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม จะเป็นผลดีต่ออุตสาหกรรมหลอดกระดาษมากขึ้น

ยืนยันอีกครั้งด้วยรายงานจาก Market Analyst ที่บอกว่าตลาดของอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพจะเติบโตจนมีมูลค่ากว่า 3,900 ล้านเหรียญสหรัฐ ภายในปี 2023 จากที่ในปี 2018 มีมูลค่าอยู่ที่ 2,960 ล้านเหรียญสหรัฐ

นำมาสู่แนวคิดมากมายเกี่ยวกับการหาวัสดุทดแทนหากธุรกิจไม่คิดพึ่งพาพลาสติกอีกต่อไป และนี่คือ 5 แนวคิดแบบบิ๊กไอเดียที่น่าสนใจและคาดว่าจะเกิดขึ้นอย่างจริงจังในอนาคต

1. Ooho หยดน้ำดื่มได้

บิ๊กไอเดีย

ภาพจาก bit.ly/2lAD2Uv

ส่วนใหญ่ในงานวิ่งมาราธอนจะมีการแจกน้ำดื่มให้กับผู้เข้าแข่งขันได้ดื่มแก้กระหาย แต่ละปีก็มีการจัดงานในลักษณะนี้จำนวนมากซึ่งคาดว่าผู้จัดต้องการลดปัญหา “ขวดพลาสติก” นำมาสู่นวัตกรรม Ooho เป็นบรรจุภัณฑ์ที่สามารถกินได้ทั้งชิ้น

ผลิตโดยบริษัท Skipping Rock ใช้หลักการเดียวกับไข่แดงที่มีเยื่อบางๆ ห่อหุ้มของเหลวเอาไว้ โดยเยื่อดังกล่าวทำขึ้นจากสาหร่ายและแคลเซียมคลอไรด์ เมื่อกัดลงไปก็จะแตกในปาก น้ำที่บรรจุอยู่ภายในก็จะสะอาด ปลอดภัย ที่สำคัญเจ้าหยดน้ำนี้มีราคาถูกกว่าขวดพลาสติกด้วย

2. ถุงมันสำปะหลังละลายในน้ำไม่ละลายในมือ

บิ๊กไอเดีย

ภาพจาก bit.ly/2kqFoFp

เป็นนวัตกรรมถุงกินได้จากบริษัท Avani Eco จากอินเดีย โดยผลิตจากมันสำปะหลังที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ รีไซเคิล และย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ ที่สำคัญคือละลายได้ในน้ำ

จุดประสงค์หลักคือต้องการแก้ปัญหาขยะในลำคลองในอินเดียที่ท่วมล้นจนต้องระดมพลเข้าไปขุดลอกกันบ่อยครั้ง ในขณะเดียวกันถุงของ Evani Eco ยังเป็นมิตรกับสัตว์อย่างนกและปลาที่มักกินพลาสติกเพราะเข้าใจผิดว่าเป็นอาหาร

3. BioFase พลาสติกจากอะโวคาโด

บิ๊กไอเดีย

ภาพจาก bit.ly/2V6mG2m

ในเม็กซิโกนำเอาพืชใกล้ตัวอย่างอะโวคาโดมาผลิตพลาสติก หลังจากที่แบรนด์ BioFase พบว่าข้าวโพดสามารถนำไปผลิตพลาสติกได้เมล็ดอะโวคาโดก็น่าจะทำได้เหมือนกัน โดยเริ่มจากเครื่องใช้ง่ายๆ อย่าง ช้อน ส้อม มีด และหลอด ช่วยกำจัดเมล็ดอะโวคาโดได้ถึงวันละ 15,000 ตัน

นอกจากจะช่วยลดขยะในเม็กซิโกสินค้านี้ยังมีการส่งไปยังสหรัฐฯ อีกด้วย ซึ่งหากไม่ได้ใช้สามารถเก็บไว้ได้ 1 ปี หลังจากนั้นมันจะทำลายตัวเอง ย่อยสลายตามธรรมชาติได้แบบ 100 เปอร์เซ็นต์ แต่หากใช้แล้วทิ้งลงดินจะย่อยสลายภายใน 8 เดือนเท่านั้น

4. พลาสติกจากเปลือกล็อบสเตอร์

บิ๊กไอเดีย

ภาพจาก bit.ly/2TTob8f

บริษัท Shellworks ในอังกฤษคิดใช้เปลือกของกุ้งล็อบสเตอร์มาทำเป็นพลาสติกชีวภาพ เพราะบนเปลือกนั้นมีไบโอพอลิเมอร์ที่เรียกว่า ‘ไคติน’ อยู่แล้ว โดยจะนำเอาเปลือกล็อบสเตอร์มาปั่นให้เป็นผงที่เรียกว่า ไคโตซาน แล้วนำมาผสมกับน้ำส้มสายชูกลายเป็นสารละลายพลาสติกชีวภาพ

ซึ่งนำมาผลิตเป็น ถุงพลาสติก ได้ในที่สุดแถมด้วยคุณสมบัติพิเศษที่สามารถต้านทานเชื้อราและแบคทีเรียได้ จึงเป็นทางเลือกสุดเจ๋งสำหรับการนำไปบรรจุอาหารทีเดียว เมื่อใช้เสร็จแล้วก็โยนลงดินให้ย่อยสลายกลายเป็นปุ๋ยได้เลย

5. แพ็กเกจจิ้งเครื่องสำอางจากแบคทีเรีย

บิ๊กไอเดีย

ภาพจาก bit.ly/2TnxEDC

Elena Amato ดีไซเนอร์ชาวกัวเตมาลาได้ทดลองเอา SCOBY ซึ่งเป็นแบคทีเรียดีและยีสต์ที่หลงเหลือจากการทำ Kombucha มาใช้ในการทำแพ็กเกจจิ้ง กระบวนการทำก็คือนำน้ำ, SCOBY และใช้สีจากธรรมชาติ

เช่น สาหร่าย ผงถ่าน ผสมทุกอย่างเข้าด้วยกันจากนั้นเทใส่แม่พิมพ์จนได้ที่ ก็จะได้แผ่น SCOBY ที่มีลักษณะคล้ายกระดาษและพลาสติก สามารถนำไปใช้ในการห่อหุ้มโปรดักต์จำพวกเครื่องสำอางและสกินแคร์ต่างๆ ที่สำคัญย่อยสลายง่าย ดีต่อโลกด้วย

นวัตกรรมทั้งหลายเหล่านี้อาจจะยังไม่ได้มีการใช้อย่างแพร่หลาย บางอย่างเป็นแค่การทดลองใช้ในพื้นที่แคบๆ แต่เชื่อว่าในอนาคตเราจะได้เห็นนวัตกรรมที่ลดการใช้พลาสติก ไม่แน่ว่า โลกยุคใหม่บรรจุภัณฑ์ที่เห็นอาจไม่ใช่โฟม ไม่ใช่ถ้วยพลาสติก ไม่ใช่หลอดจากพลาสติก ถึงตอนนั้นคิดว่าภาคธุรกิจเองก็คงเตรียมการณ์รีบมือกับเรื่องเหล่านี้ไว้แล้ว

ข้อมูลจาก

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise


8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์

1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์

  • กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
  • ชื่อกิจการ (Brand)
  • การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
  • การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
  • การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
  • การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
  • การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
  • การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
  • การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์

2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ

  • ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
  • ระบบการเงิน การบัญชี
  • งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
  • รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
  • ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ

3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
  • แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
  • สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
  • เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
  • มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
  • มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
  • ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี

4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์

  • กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
  • การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
  • สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
  • เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ

5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายแฟรนไชส์
  • ระบบการเงิน
  • ค่าธรรมเนียมต่างๆ
  • ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
  • การจดทะเบียนแฟรนไชส์
  • เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
  • ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
  • การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
  • แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
  • การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
  • การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า

6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น

7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
  • พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
  • ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
  • การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
  • เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
  • จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์

8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์

  • การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
  • กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
  • การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  • การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
  • การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
  • กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
  • กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี

สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด