5 ธุรกิจเริ่มต้นง่ายๆ รองรับ สังคมสูงอายุ
จำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นและปัจจัยด้านเศรษฐกิจสังคมที่เปลี่ยนไป ส่งผลให้ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุในต่างประเทศมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในประเทศที่พัฒนาแล้วอย่าง สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และสหราชอาณาจักร
เนื่องจากประเทศเหล่านี้มีเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่มีประสิทธิภาพ ทำให้อัตราการเสียชีวิตลดลง และอายุขัยของประชากรในประเทศเพิ่มขึ้น โดยประเทศในฝั่งตะวันตกที่พัฒนาแล้วจะมีความต้องการธุรกิจด้านการดูแลผู้สูงอายุมากกว่าประเทศในฝั่งตะวันออก เพราะลูกหลานจะให้ความสำคัญในการดูแลผู้สูงอายุค่อนข้างน้อย
ขณะที่ไทยแม้ว่าจะเป็นสังคมที่มีการปลูกฝังให้ลูกหลานมีหน้าที่ดูแลผู้สูงอายุในครอบครัว แต่ด้วยสัดส่วนผู้สูงอายุที่มากขึ้นสวนทางกับวัยทำงานที่ลดลง จึงทำให้ลูกหลานต้องทำงานมากขึ้น และมีเวลาดูแลผู้สูงอายุน้อยลง อีกทั้งการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้สูงอายุที่ต้องอยู่คนเดียวในอนาคต ส่งผลให้เกิดความต้องการบริการดูแลผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น
ภาพจาก goo.gl/HdsSvH
โดยประเทศในกลุ่มอาเซียนมีประชากรที่อายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป มีถึง 36.9 ล้านคน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 5.89 ของประชากรทั้งหมดในอาเซียน สำหรับประเทศไทยมีประชากรกว่า 66 ล้านคน มีจำนวนผู้สูงอายุที่อายุมากกว่า 65 ปี ประมาณ 6.5 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 9.9 ของประชากรทั้งหมดของประเทศ
ซึ่งถือเป็นประเทศที่มีสัดส่วนประชากรผู้สูงอายุมากเป็นอันดับสองของอาเซียนรองจากสิงคโปร์ ถือได้ว่าประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัย (Aging Society) แล้ว และในปี พ.ศ. 2563 คาดว่าประเทศไทยจะมีผู้สูงอายุเพิ่มเป็นร้อยละ 14.4 ซึ่งจะก้าวเข้าสู่ สังคมสูงวัยโดยสมบูรณ์
วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com นำท่านไปเจาะลึกธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับ สังคมสูงอายุ สามารถทำเงินได้จริง ตอบสนองความต้องการของผู้สูงอายุได้เป็นอย่างดี มาดูกันว่ามีธุรกิจอะไรบ้างครับ
1.ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุแบบรายวัน
ภาพจาก goo.gl/oB5tJO
ปัจจุบันมีผู้คนหันมาทำธุรกิจบริการดูแลผู้สูงอายุจำนวนมาก ไม่ว่าจะในประเทศไทยหรือต่างประเทศ ด้วยการเปิดศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ ผู้ป่วยพักฟื้น หรือใช้บ้านเป็นสถานที่ดูแลผู้สูงอายุโดยเฉพาะ
ซึ่งศูนย์ดูแลผู้สูงอายุเหมือนกับศูนย์รับเลี้ยงและดูแลเด็กที่เรารู้จัก โดยผู้ที่ทำธุรกิจด้านนี้ต้องมีความรู้ความสามารถ มีประสบการณ์การทำงานและการบริการ พร้อมด้วยทีมงานแพทย์ พยาบาล ผู้ช่วยพยาบาล และผู้บริหารมืออาชีพ ที่พร้อมบริการและดูแลผู้สูงวัยเหมือนญาติตลอดเวลา
2.บริการช่วยเหลือย้ายที่อยู่ใหม่
ภาพจาก goo.gl/ivBSQs
จากการเพิ่มขึ้นของประชากรจำนวนมากในแต่ละพื้นที่ ทำให้การอาศัยอยู่มีความลำบาก เป็นชุมชนแออัด ผู้สูงอายุหลายคนมีความจำเป็นต้องย้ายที่อยู่ใหม่ อาจต้องขายบ้าน ขายคอนโด ไปอยู่ในสถานที่บรรยากาศดี อากาศปลอดโปร่ง เหมาะแก่การพักผ่อนช่วงบั้นปลายของชีวิต จึงเป็นโอกาสที่ดีของธุรกิจที่จะเข้ามาตอบสนองความต้องการด้านนี้
ในต่างประเทศมีผู้เชี่ยวชาญด้านการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการย้ายที่อยู่ใหม่ของผู้สูงอายุจำนวนมาก โดยผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้จะมีบริการที่หลากหลาย ตอบสนองทุกความต้องการของผู้สูงอายุ เช่น การช่วยเหลือเกี่ยวกับการขายบ้าน ช่วยหาที่อยู่อาศัยใหม่ บริการเกี่ยวกับสาธารณูปโภค การทำความสะอาด และงานอื่นๆ เป็นต้น
3.บริการดูแลสุขภาพที่บ้านและดูแลบ้าน
ภาพจาก goo.gl/vG6tG1
โดยในปี 2020 ประชากรกว่า 14 ล้านคนในสหรัฐอเมริกาจะมีอายุ 85 ปีขึ้นไป และร้อยละ 84 ผู้สูงอายุเหล่านี้มีความต้องการที่จะอาศัยอยู่ที่บ้าน จึงทำให้ผู้สูงอายุกว่าครึ่งหนึ่งเหล่านี้
มีความต้องการบริการให้ความช่วยเหลือในกิจกรรมต่างๆ ที่บ้าน ไม่ว่าจะเป็นการดูแลอาการป่วยที่บ้าน ตรวจเช็คสุขภาพ ทำงานบ้าน อ่านหนังสือให้ฟัง ซักเสื้อผ้า จัดเตรียมอาหาร พาเข้าห้องน้ำ ฯลฯ โดยผู้ที่ให้บริการด้านนี้ต้องมีความเป็นมืออาชีพ มีประสบการณ์ดูแลผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุ
4.บริการผู้ช่วยส่วนตัว
ภาพจาก goo.gl/G4oKWp
เป็นอีกหนึ่งความต้องการของผู้สูงอายุ เพราะเมื่อมีอายุมากแล้ว การที่จะหยิบจับ หรือทำกิจกรรมใดๆ ที่เคยทำมาก่อนหน้านี้ อาจเป็นยากลำบากมากขึ้น เวลาจะลุกเดินก็ไม่ค่อยสะดวกสบาย การมีบริการผู้ช่วยส่วนตัวจึงเป็นสิ่งที่ผู้สูงอายุหลายคนต้องการ ผู้สูงอายุหลายคนไม่มีญาติคอยดูแล แต่มีเงินเก็บมากมาย
จึงต้องการจ้างผู้ช่วยหรือมีผู้ช่วยเหลือคอยทำงานงานต่างๆ ให้ พาไปเดินเล่น ออกกำลังกาย ไปทำธุระให้ ทำอาหาร ทำความสะอาดบ้าน เป็นที่ปรึกษา เขียนหนังสือ เรียกได้ว่า ผู้สูงอายุที่ร่ำรวยต้องการใช้ชีวิตที่สง่างาม เป็นที่นับหน้าถือตาของสังคมรอบข้าง ธุรกิจนี้จึงมีโอกาสสดใสอย่างมาก ถ้ามีความรู้ความสามารถ
5.บริการขนส่งผู้สูงอายุ
ภาพจาก goo.gl/Ik1XcH
โดยปกติแล้วผู้สูงอายุส่วนใหญ่มักจะใช้บริการญาติ สมาชิกในครอบครัว หรือเพื่อนบ้าน ในการให้พาเดินทางไปนอกบ้านหรือเดินทางไปสถานที่ต่างๆ แต่บางครั้งบุคคลเหล่านี้จะเรียกใช้บริการไม่ได้เสมอไป
เพราะต้องทำงาน แต่การที่ผู้สูงอายุจะใช้บริการรถโดยสารสาธารณะก็ไม่สะดวก เดินเหินไม่ค่อยได้ จะเรียกใช้บริการแท็กซี่ก็กลัวหลงลืมในการจ่ายเงิน นั่งรถตู้ก็เข้าออกลำบาก ดังนั้น ธุรกิจบริการขนส่งผู้สูงอายุจึงเป็นที่ต้องการของตลาดผู้สูงอายุ
ผู้ที่ทำธุรกิจด้านนี้ ต้องมีความน่าเชื่อถือ ขับรถนุ่ม ปลอดภัย มีความรับผิดชอบสูง เพราะบางครั้งผู้สูงอายุจำเป็นต้องให้พาไปโรงพยาบาล สถานรักษาพยาบาลต่างๆ ต้องนั่งรอนาน รวมถึงการใช้ให้ไปจับจ่ายซื้อสินค้าตามห้างสรรพสินค้า ทำธุรกรรมทางการเงิน สิ่งเหล่านี้เป็นคุณสมบัติที่ผู้สูงอายุต้องการอย่างมาก
เห็นแล้วว่าแนวโน้มของสังคมผู้สูงอายุทั่วโลกมีแต่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เนื่องมาจากผู้คนหันมาใส่ใจเรื่องของการดูแลรักษาสุขภาพ บวกกับเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทำให้คนมีอายุยืนยาว จึงเป็นโอกาสสำหรับผู้ที่สนใจเริ่มต้นธุรกิจเกี่ยวกับ สังคมสูงอายุ เพราะเป็นตลาดที่ใหญ่ คนสูงอายุมีเงินเก็บ บริการด้านต่างๆ จึงน่าจะสามารถตอบสนองความต้องการสะดวกสบาย การดูแล การช่วยเหลือของผู้สูงอายุได้เป็นอย่างดี
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์
1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์
- กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
- ชื่อกิจการ (Brand)
- การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
- การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
- การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
- การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
- การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
- การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
- การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์
2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ
- ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
- ระบบการเงิน การบัญชี
- งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
- รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
- ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
- กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ
3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์
- ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
- แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
- สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
- เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
- มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
- มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
- ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
- แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี
4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์
- กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
- การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
- สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
- การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
- เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ
5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายแฟรนไชส์
- ระบบการเงิน
- ค่าธรรมเนียมต่างๆ
- ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
- การจดทะเบียนแฟรนไชส์
- เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
- ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
- การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
- แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
- การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
- การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า
6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น
7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
- พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
- ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
- การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
- เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
- จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์
8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์
- การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
- กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
- กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
- การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
- การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
- การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
- กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
- กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)