5 ข้อดีของการ เปิดเผยเงินเดือน ให้โลกรู้!
สำหรับมนุษย์เงินเดือนแล้วคงไม่มีความลับไหนจะเกินไปกว่าคำว่า “ เงินเดือนเท่าไหร่ ” คำถามนี้บอกตรงๆ ว่าหากไม่สนิทแบบสุดๆ ไม่มีใครกล้าบอกใคร
ทั้งที่ก็ไม่ใช่เรื่องผิดกฎหมายหรือผิดจรรณยาบรรณอะไรแต่ทุกคนกลับรู้สึกว่า “ไม่ควรถามแบบนี้” ด้วยอาจจะรู้สึกว่าเงินเดือนเป็นเรื่องส่วนบุคคล เหมือนกับการถามคุณผู้หญิงว่า “น้ำหนักคุณเท่าไหร่” ดูเป็นอะไรที่หยาบคายและละเมิดสิทธิมาก
ที่เป็นแบบนี้ไม่ใช่แค่ในประเทศไทยเท่านั้น www.ThaiSMEsCenter.com มีข้อมูลน่าสนใจว่าแม้แต่บางรัฐในอเมริกาถึงกับมีการเขียนกฏหมายว่าการพูดคุยเรื่องเงินเดือนเป็นสิ่งที่ผิดกฏหมาย
ด้วยอาจจะกลัวว่าเป็นการทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำและตัดสินคุณค่าของคนจากงานที่ทำ หากรู้ว่ารายได้ของคนนี้คือเท่าไหร่ อาจทำให้รู้สึกเหนือกว่า หรือด้อยกว่าอันเป็นผลร้ายที่อาจส่งผลให้การทำงานมีประสิทธิภาพที่ลดน้อยลง
ภาพจาก freepik.com
ขณะที่มุมหนึ่งบอกว่าเงินเดือนเป็นเรื่องไม่ควรถาม บางบริษัทกลับมีนโยบาย เปิดเผยเงินเดือน อย่างชัดเจน เช่นWhole Foods ซูเปอร์มาร์เก็ตอาหารเพื่อสุขภาพ ที่เริ่มทำเรื่องนี้มานานหลายสิบปี
หรือแม้แต่ Glassdoor ซึ่งเป็นเว็บไซต์หางานและรีวิวนายจ้าง ก็มีบริการให้พนักงานมาแชร์เงินเดือนในแต่ละตำแหน่ง และเว็บ Glassdoor ก็ดูจะได้รับความนิยมอย่างมากเพราะเสมือนการได้ส่องค่าตอบแทนที่แท้จริงก่อนการสมัครงาน
รวมถึง Buffer ซึ่งเป็นบริษัทสตาร์ทอัพที่โปร่งใสในเรื่องเงินเดือนแบบสุดๆ ถึงขนาดแชร์เงินเดือนพนักงานภายในองค์กรผ่านหน้าเว็บไซต์อย่างเป็นทางการอีกด้วย
อย่างไรก็ดีมีนักวิจัยที่เขาสงสัยในเรื่องนี้และได้ทำการทดลองตามแนวคิดดังกล่าวผลปรากฏว่า กลุ่มคนที่รู้ว่าคนอื่นได้เงินเดือนเท่าไหร่จะมีประสิทธิภาพในการทำงานดีกว่ากลุ่มที่เงินเดือนของแต่ละคนเป็นความลับ
ดังนั้นแล้วสรุปได้พอสังเขปว่า “รู้เงินเดือนของคนอื่น” ทำให้องค์กรพัฒนาได้ดีกว่า จะจริงหรือไม่ลองมาดู เหตุผล 5 ข้อต่อไปนี้
1.สร้างความสบายใจในหมู่พนักงาน
ภาพจาก freepik.com
เรียกว่าเป็นการสร้างสังคมแห่งความจริงเพราะเชื่อได้เลยว่าทุกวันนี้หลายคนมองว่าคนนั้นน่าจะได้เงินเดือนเยอะกว่า คนนี้น่าจะได้เงินเดือนเยอะกว่าคนนั้น ในขณะที่คนถูกมองก็อาจมองกลับมาว่าคนเหล่านี้อาจได้เงินเดือนเยอะกว่า
แต่ทำไมฉันทำงานมากกว่า เรียกว่าทุกคนเคลือบแคลงสงสัยแต่ไม่มีใครกล้าถาม กลายเป็นความอึดอัดและทำให้เกิดช่องว่างระหว่างพนักงานโดยไม่จำเป็น
ซึ่งหากได้รู้ความจริงว่าแต่ละคนได้เงินเดือนเท่าไหร่ก็จะทำให้เกิดความสบายใจ ชัดเจนในตัวของแต่ละคนว่าต่อแต่นี้ควรทำอย่างไรต่อไปหากเงินเดือนตัวเองมากกว่าหรือน้อยกว่าคนอื่น
2.ช่วยรีดประสิทธิภาพการทำงานได้ดีกว่าเดิม
ภาพจาก freepik.com
ต่อเนื่องกันไปจากข้อที่ 1 หลายคนกลัวว่าถ้ารู้ว่าคนอื่นได้เงินเดือนเท่าไหร่แล้วจะกลายเป็นพลังด้านลบให้คนหมดกำลังใจ หากแต่มองในด้านบวก การได้เงินเดือนมากอาจหมายถึงอายุงานที่มากกว่า ความรู้ที่มากกว่า การรับผิดชอบในหน้าที่ที่มากกว่า
หากวันนี้เรารู้ว่าตำแหน่งเดียวกันแต่เราเงินเดือนน้อยกว่าแทนที่จะน้อยใจ น่าจะใช้จุดนี้เป็นแรงผลักดันว่าหากเราทำงานให้ดียิ่งขึ้นเราก็จะสามารถมีเงินเดือนเท่ากับเพื่อนที่อยู่ในตำแหน่งเดียวกับเราได้
ไม่ใช่ทำงานแบบไม่มีเป้าหมายไม่รู้ด้วยซ้ำว่าทำแล้วเงินเดือนจะไปถึงระดับไหน ดังนั้นเชื่อได้ว่าการรู้เงินเดือนจะช่วยรีดศักยภาพในการทำงานได้ดียิ่งขึ้น
3.องค์กรดูมีความโปร่งใสและยุติธรรม
ภาพจาก freepik.com
การ เปิดเผยเงินเดือน ถือเป็นความกล้าหาญในระดับองค์กรที่เชื่อว่าคงเกิดได้ยาก แต่เชื่อเถอะว่าองค์กรที่เปิดเผยเรื่องนี้อย่างตรงไปตรงมา จะไม่มีใครกล้ามาบอกว่าผู้บริหารลำเอียงได้เด็ดขาด
เพราะทุกอย่างมีการแสดงตัวเลขให้เห็นว่าทำไมคนนี้ถึงได้เงินเดือนเท่านี้ สิ่งที่คลุมเครือในหมู่พนักงานเปรียบเหมือนเมฆหมอกที่ฉาบเอาไว้จะโปร่งใสและชัดเจนยิ่งขึ้น
4.เป็นการเลือกเฟ้นคนให้เหมาะสมกับองค์กร
ภาพจาก freepik.com
ไม่แน่ว่าในอนาคตการรับสมัครงานหากมีการระบุเงินเดือนชัดเจนลงไปอาจกลายเป็นเรื่องสาธารณะที่ทุกองค์กรต่างต้องมาแข่งขันกันเพื่อดึงดูดบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถเข้ามาให้ได้มากที่สุด จะช่วยขจัดปัญหาความรู้สึกเรื่องรายได้และโฟกัสกับการทำงานได้อย่างเต็มที่
5.ลดปัญหาการเรียกร้องให้หมดไป
ภาพจาก freepik.com
หากองค์กรมีมาตรฐานชัดเจนว่าทำงานแค่ไหนได้เงินเดือนเท่าไหร่ และทำอย่างไรเพื่อให้เงินเดือนก้าวหน้ามากขึ้น ทุกคนจะมีเป้าหมายว่าควรบูรณาการตัวเองอย่างไรไม่ใช่สักแต่จะเรียกร้องเงินเดือนขึ้น
แต่เนื้องานไม่มีการพัฒนาการรู้เรตเงินเดือนจะควบคุมสิ่งเหล่านี้ให้เราโฟกัสเรื่องงานที่สัมพันธ์กับเงินเดือนมากขึ้น ช่วยลดปัญหาการเรียกร้องประเภทรู้สึกว่าคนอื่นทำงานน้อยกว่า
แต่ทำไมเงินเดือนมากกว่าหรือฉันทำมานานแต่ทำไมเงินเดือนแค่นี้ การบอกเงินเดือนให้รู้ถึงตัวเลขและที่มาน่าจะช่วยลดปัญหาในองค์กรเรื่องนี้ได้
หลายคนตีโพยตีพายเมื่อรู้สึกว่าตัวเองได้เงินเดือนน้อย และนั่นก็คือความรู้สึกซึ่งบางทีเงินเดือนของเราอาจจะทัดเทียมหรือสูงกว่าเพื่อนบางคนด้วยซ้ำแต่ความที่คิดมากทำให้รู้สึกไปต่างๆ นานาบางทีถึงขั้นลาออกเพื่อต้องการเงินเดือนที่สูงกว่า
ซึ่งใครจะรู้ว่างานที่ใหม่อาจทำให้เราได้เงินเดือนน้อยยิ่งกว่าเดิม ก่อนที่จะโฟกัสว่าทำไมเงินเดือนเราน้อย รายได้เราไม่เพิ่ม อย่าเพิ่งโทษองค์กร มองย้อนที่ตัวเองก่อนว่าทุ่มเทและทำงานเต็มที่ให้เขาหรือยัง ถ้าคำตอบคือไม่ แล้วยังจะหวังเงินเดือนที่สูงขึ้นไปอีกได้อย่างไร จริงไหมละครับทุกคน
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจติดตามได้ที่ https://bit.ly/335phDi
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter
SMEs Tips
- สร้างความสบายใจในหมู่พนักงาน
- ช่วยรีดประสิทธิภาพการทำงานได้ดีกว่าเดิม
- องค์กรดูมีความโปร่งใสและยุติธรรม
- เป็นการเลือกเฟ้นคนให้เหมาะสมกับองค์กร
- ลดปัญหาการเรียกร้องให้หมดไป
อ้างอิงจาก คลิกที่นี่
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)