5 ขั้นตอนเริ่มต้นเลือกแฟรนไชส์ให้เหมาะกับตัวเอง (ตปท.)
เชื่อหลายๆ คนคงมีความฝัน “ อยากเป็นเจ้าของธุรกิจ ” หรือ อยากออกมาเริ่มต้นทำธุรกิจของตัวเอง อย่างน้อยก็เดือนละไม่ต่ำกว่า 3-4 ครั้งแน่นอน แต่ปัญหาที่ใหญ่กว่า ความฝันที่อยากเป็นเจ้าของธุรกิจนั้น น่าจะอยู่ที่ว่าเราจะทำธุรกิจอะไรดี เพราะที่ผ่านมาเป็นนักบัญชีมาทั้งชีวิต หรือเคยทำแต่งานเอกสาร ไม่เคยค้าขายอะไรเหมือนคนอื่นเลย
ถ้าอย่างนั้น ก็ลองหันมาศึกษาธุรกิจแฟรนไชส์กันดีกว่า เพราะมีความเสี่ยงต่ำในการเริ่มต้นธุรกิจ ไม่ต้องเสียเวลาคิดสูตรความสำเร็จ ไม่ต้องสร้างแบรนด์ให้ผู้คนรู้จัก ไม่ต้องทำการตลาดให้ยุ่งยากมากนัก ที่สำคัญมีคนมาช่วยอบรม และสอนวิธีการทำธุรกิจที่ประสบความสำเร็จให้กับเราอีกด้วย
แต่ก่อนที่จะตัดสินใจ วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะพาคุณไป Check list ก่อนว่า วิธีการเลือกธุรกิจแฟรนไชส์ที่ถูกต้อง เหมาะสมกับตัวคุณมากที่สุด ต้องทำอย่างไรบ้าง โดยอ้างอิงข้อมูลจากเว็บไซต์ entrepreneur.com มาดูพร้อมๆ กันเลยว่า ต่างประเทศเขามีวิธีการเลือกซื้อธุรกิจแฟรนไชส์ให้เหมาะสมกับตัวเอง ทำกันอย่างไรครับ
1.ถามใจตัวเอง
คุณต้องคุยกับตัวเองกันก่อนว่า อยากเริ่มต้นทำธุรกิจจริงๆ หรือเปล่า และคุณต้องตอบตัวเองให้ได้ด้วยว่า คุณต้องการทำงานเวลาไหน คุณมีความสามารถพิเศษด้านใด หรือ ทำอะไรแล้วมีความสุข (ชอบทำอาหาร ชอบทาน ชอบอยู่กับสัตว์เลี้ยง) ต้องมีเงินเท่าไหร่ถึงจะเพียงพอให้ผ่านช่วงเริ่มต้นไปให้ได้ ควรเผื่อเอาไว้หลายเดือนหน่อย ห้ามโลกสวยเด็ดขาด
อย่าลืมคิดเผื่ออนาคตว่า คุณอยากอยู่ในจุดไหน และอย่าลืมเผื่อใจสำหรับความผิดหวังเอาไว้ด้วย หากทุกอย่างไม่เป็นไปตามแผนที่วางเอาไว้ คุณมีการวางแผนอะไรเพื่อลดความเสี่ยงได้บ้าง เมื่อคุยกับตัวเองกันเรียบร้อยแล้ว ก็คงจะเห็นรูปร่างคร่าวๆ แล้วว่าชอบอะไร และน่าจะมองหาธุรกิจแฟรนไชส์ประเภทไหน
2.สำรวจเงินในกระเป๋าว่ามีเท่าไหร่
สำรวจจิตใจกันไปแล้ว คราวนี้คงต้องกลับมาสำรวจกระปุกออมสิน หรือสมุดบัญชีกันต่อเลยว่า ตอนนี้มีเงินทุนเท่าไหร่ หากยังมีไปพอก็อย่าพึ่งถอดใจ คุณมาคิดกันต่อว่าขาดอีกเท่าไหร่
ต้องเก็บกี่เดือน ตั้งเป้าแล้วพุ่งชนเข้าไปเลย หรือจะเลือกหาข้อมูลกู้ยืมจากธนาคารที่สนับสนุนผู้ประกอบการรายใหม่หลายๆ ธนาคาร เพื่อใช้เริ่มธุรกิจก็สามารถทำได้
3.ประเมินสถานการณ์ของธุรกิจแฟรนไชส์ที่สนใจ
โดยการเริ่มต้นมองในภาพรวมของประเภทธุรกิจนั้นก่อน ว่าตลาดของธุรกิจนั้นมีลูกค้ามากหรือน้อย ใครเป็นคนซื้อ และใครเป็นคนใช้จริง เช่น คุณอาจจะชอบสอนเด็กๆ วาดรูปอยากเปิดโรงเรียนสอนพิเศษ แต่ต้องคำนึงถึงคนที่ตัดสินใจ และจ่ายเงินคือผู้ปกครอง และกลุ่มผู้ปกครองที่สนับสนุนให้ลูกเรียนวาดรูปมีจำนวนเท่าไหร่
อีกทั้งต้องดูคู่แข่งที่อยู่ในธุรกิจเดียวกัน หรือ ทดแทนกันได้เช่นโรงเรียนสอนวาดรูปอื่นๆ หรือโรงเรียนสอนปั้นดินน้ำมัน ที่เน้นทักษะด้านศิลปะเหมือนกันในพื้นที่นั้นมีมากหรือน้อย โดยการทำเช็คจากรายการที่เราทำรายการไว้ในข้อแรกนั้นเอง ถ้าข้อไหนมีความเสี่ยงมาก ก็ทำเครื่องหมายเพื่อตัดข้อนั้นออกไปเรื่อยๆ จนเหลือตัวเลือกที่เป็นไปได้มากที่สุด
4.มองหาส่วนที่เป็นจุดอ่อนของธุรกิจนั้น
จากบทความข้างต้น คาดว่าตัวเลือกก็น่าจะเหลือน้อยลง แล้วมาลองถามตัวเองอีกทีว่า ลึกๆ ในใจคุณเชื่อหรือไม่ว่าธุรกิจตัวนี้จะสามารถเจริญเติบโตไปในทุกสภาพเศรษฐกิจได้ไหม ในบางอุตสาหกรรมนั้น สามารถที่จะเติบโตไปได้ในทุกๆ สภาพเศรษฐกิจ
เช่น ธุรกิจอาหาร ธุรกิจร้านตัดผม หรือ ธุรกิจสำหรับผู้สูงอายุ คราวนี้ลองกลับมาดูรายการในมือกันต่อ ถ้าธุรกิจตัวนี้สามารถที่จะดำเนินต่อไปได้ให้เก็บไว้ ถ้าไม่ได้ตัดทิ้งไว้ก่อนเลย เพื่อที่คุณจะได้เหลือตัวเลือกที่จะนำไปสู่การเริ่มต้นทำธุรกิจจริงๆ
5.เริ่มค้นหารายชื่อและข้อมูลธุรกิจแฟรนไชส์
เมื่อคุณรู้ประเภทของธุรกิจที่ต้องการ และมีความเป็นไปได้แล้ว ก็มาถึงขั้นตอนการค้นคว้าหาข้อมูลแฟรนไชส์ เพราะในยุคข้อมูลข่าวสารที่เข้าถึงได้ทุกที่ทุกเวลา จึงเป็นเรื่องง่ายที่จะหารายชื่อ ข้อมูลแฟรนไชส์ในธุรกิจที่สนใจได้ไม่ยาก
โดยเฉพาะจากเว็บไซต์แฟรนไชส์ที่น่าเชื่อถืออย่าง www.ThaiFranchiseCenter.com มีธุรกิจแฟรนไชส์ให้เลือกหลากหลาย เมื่อได้ข้อมูลแล้วก็นำมาเปรียบเทียบหาข้อดีข้อเสียของแฟรนไชส์แต่ละแบรนด์ เพื่อคัดเลือกแฟรนไชส์ที่จะติดต่อเจรจาซื้อขาย
ทั้งหมดเป็น 5 ขั้นตอนเริ่มต้น ในการเลือกซื้อธุรกิจแฟรนไชส์ที่ถูกต้อง มีความเหมาะสมกับตัวคุณเองมากที่สุดจากต่างประเทศ ใครที่กำลังมองหาลู่ทางทางในการทำธุรกิจแฟรนไชส์ ก็ลองนำเอาแนวทางทั้ง 5 ขั้นตอนข้างบนไปปรับใช้ เพื่อเลือกซื้อธุรกิจแฟรนไชส์ที่ดี และเหมาะสมกับตัวเอง ก่อนที่จะตัดสินใจผิดพลาดไปครับ
สนใจลงทุนธุรกิจแฟรไชส์ เราได้รวบรวมธุรกิจแฟรนไชส์หลากหลายประเภท หลายกลุ่มธุรกิจ ลงทุนตั้งแต่หลักพันถึงหลักล้าน คลิกดูข้อมูลแฟรนไชส์ได้ที่ goo.gl/cWj5Dz
Franchise Tips
- ถามใจตัวเอง
- สำรวจเงินในกระเป๋าว่ามีเท่าไหร่
- ประเมินสถานการณ์ของธุรกิจแฟรนไชส์ที่สนใจ
- มองหาส่วนที่เป็นจุดอ่อนของธุรกิจนั้น
- เริ่มค้นหารายชื่อและข้อมูลธุรกิจแฟรนไชส์
อ้างอิงจาก https://bit.ly/3kuHLkn