5 ก้าวแรกสู่การเป็นวิทยากรมืออาชีพเงินล้าน

ปัจจุบัน ทักษะด้านการพูด และการนำเสนอ เป็นทักษะที่สำคัญและจำเป็นกับทุกสาขาอาชีพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ต้องการเป็นวิทยากรหรือโค้ช เพราะจริงๆ แล้วคนที่จะเป็นโค้ชหรือวิทยากร

ต้องมีทักษะและความสามารถในการพูดต่อหน้าผู้คนได้เป็นอย่างดี แม้กระทั่งมหาเศรษฐีอย่าง “วอร์เรน บัฟเฟต์” ที่เคยกล่าวต่อหน้านักศึกษาจบใหม่ว่า “การพูดในที่สาธารณะเป็นทักษะที่สำคัญและจำเป็น ถ้ามีทักษะการนำเสนอที่ดี มันก็จะเป็นทรัพย์สิน หากไม่ดี ก็เสมือนเป็นหนี้สิน”

วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com ขอนำเสนอ 5 เทคนิคขั้นพื้นฐาน ในการก้าวไปสู่การเป็นวิทยากรมืออาชีพเงินล้าน เพื่อเป็นแนวทางให้คนที่กำลังอยากก้าวสู่การเป็นวิทยากรหรือโค้ชเงินล้าน

1.ต้องมีความรู้และเชี่ยวชาญจริงๆ

ทักษะด้านการพูด

ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญที่สุด ที่เราจะต้องมีให้ได้ จะต้องค้นหาให้เจอว่า “ความรู้” ใด คือ สิ่งที่เราเชี่ยวชาญที่สุด เพราะอาชีพวิทยากรนั้น มีหน้าที่หลักสำคัญ คือ ต้องใช้ความรู้ที่ตัวเองมี ไปพัฒนา แก้ไขปัญหาและให้ความรู้แก่ผู้อื่น ซึ่งต้องอาศัยการพูด สอน และบรรยายให้ทุกคนเข้าใจ จึงทำให้ หากเราไม่รู้จริง ก็คงไม่สามารถอธิบายสิ่งยากๆ ให้ใครเข้าใจได้ง่ายๆ

ดังเช่นที่อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ เคยกล่าวไว้ว่า “If you can’t explain it simply, you don’t understand it well enough.” ซึ่งหากเป็นเช่นนั้น การเดินทางในสายอาชีพวิทยากรให้ประสบความสำเร็จ ก็คงจะไม่ง่ายดายสักเท่าไร เพราะการทำให้ผู้ฟังเข้าใจ และเกิดผลลัพธ์ คือ เครื่องการันตีความเก่งของการเป็นวิทยากร

ดังนั้น จงสำรวจตัวเองให้ดีว่า เรามีความรู้เรื่องไหนดีที่สุด และพยายามทำให้ตัวเองเป็นผู้ที่รู้ลึกรู้จริงในเรื่องนั้นๆ ให้มากที่สุด เพื่อให้เราก้าวไปได้อย่างไม่สะดุด ไม่ทำให้ลูกค้าผิดหวัง ในเส้นทางการขายความรู้เพื่อประโยชน์ของผู้คน

2.เรียนรู้และเข้าใจปัญหาของผู้ฟัง

14

ต่อให้มีความรู้มากแค่ไหน ต่อให้เก่งมากเพียงใด แต่ไม่รู้ปัญหาว่าอะไรคือสิ่งที่ผู้ฟังต้องการ ก็คงเป็นเรื่องยากที่จะประสบความสำเร็จในฐานะวิทยากรได้ จงศึกษาให้ดีว่าผู้ฟังของเราคือใคร และเขาต้องการความรู้แบบไหน

ต้องการฟังบรรยายสไตล์ใด เพื่อให้เราสามารถโจทย์พวกเขาเหล่านั้นได้ ซึ่งสุดท้ายไม่ว่าจะอาชีพไหนก็แล้วแต่ การที่เรานำความรู้ที่มีไปแก้ไขปัญหาให้เขาได้สำเร็จ นั่นถือเป็นที่สุดของผลลัพธ์ที่จะพาเราไปสู่เป้าหมายได้ที่ปลายทาง

3.ให้ความรู้ผู้ฟังให้ได้มากที่สุด

10

อย่ากังวลว่าตัวเองจะบรรยายได้ไม่ดี อย่ากลัวที่จะต้องเจอคำถามที่ตอบไม่ได้ เพราะถึงแม้เราจะพยายามรู้ให้ได้มากที่สุดแค่ไหน สุดท้ายก็ปฏิเสธไม่ได้หรอกว่ายังไงมันก็ต้องมีสิ่งที่เราไม่รู้อยู่ดี

ดังนั้น จงให้ให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะให้ได้ อย่าแถเมื่อไม่รู้ เพราะบางทีการไปพยายามหาคำตอบที่ถูกต้องที่สุดจริงๆ ให้กับผู้ฟัง ก็แสดงถึงความใส่ใจและน่ายกย่องมากกว่าการตอบแบบไม่รู้จริง จงอย่าพยายามคิดว่าเราไปบรรยาย

เพื่อจะได้รับคำชมว่าเก่ง ว่าดี แต่จงตั้งใจไปให้ความรู้ที่ตัวเองมีให้ดีที่สุด เพื่อให้ผู้ฟังเกิดประโยชน์ แล้วความคิดโดยมีการให้เป็นเครื่องนำทาง จะพาให้เราต้องไม่ห่วงหน้าพะวงหลัง และทำทุกอย่างที่ตั้งใจออกมาได้อย่างราบรื่นดีไม่มีสะดุด

4.รู้จักเวลาและกาลเทศะ

12

พูดกับใคร พูดที่ไหน พูดเมื่อไร ในช่วงเวลาอะไรถือเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม เพราะต่างคนต่างที่ ต่างกรรมต่างวาระ การที่เราไม่ให้เกียรติผู้คน ไม่ให้เกียรติสถานที่ พูดหรือบรรยายสิ่งใดไปโดยไม่เหมาะไม่ควร นอกจากจะทำให้ผู้ฟังไม่เปิดรับความรู้ที่เรามีแล้ว เขายังไม่เปิดรับเราเข้าไปอยู่ในใจเขาอีกด้วย

5.เรียนรู้เพิ่มเติมอยู่เสมอ

11

การเป็นวิทยากรที่ดี เป็นมืออาชีพ ที่สามารถมัดใจผู้ฟังได้อย่างอยู่หมัด ได้รับความรัก ความเชื่อถือจากผู้คน เป็นสิ่งที่ต้องอาศัยศาสตร์ความรู้หลายๆ อย่างประกอบกัน ไม่ใช่ลำพังเพียงแค่ความรู้ความเชี่ยวชาญอย่างใดอย่างเดียวเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นการพูด บุคลิกภาพ การใช้เวที การใช้จิตวิทยาโน้มน้าวใจ ฯลฯ

สิ่งเหล่านี้เป็นความรู้จำเป็น นอกเหนือจากความเชี่ยวชาญหลักที่มี และก็ยังคงมีอีกหลายอย่าง ที่เราควรจะต้องเรียนรู้เพิ่มเติมไว้อยู่เสมอ เพื่อให้เราเป็นวิทยากรที่ดีที่สุด และมอบความรู้ที่ดีที่สุดให้กับผู้ฟังนั่นเอง

ทั้งหมดเป็น 5 ก้าวแรกในการก้าวไปสู่การเป็นวิทยากรเงินล้าน ยิ่งใครที่มีความรู้มากเท่าไหร่ ก็จะยิ่งสร้างเงินได้มากเท่านั้น ถ้าหากความรู้ที่คุณมีอยู่ สามารถตอบโจทย์และแก้ปัญหาให้กับคนอีกหลายคนได้ นี่คือ เส้นทางของการเป็นวิทยากรเงินล้าน


คุณผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

01

อ่านบทความอื่นๆ จากไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ www.thaifranchisecenter.com/document
เลือกซื้อแฟรนไชส์ไทยขายดี เปิดร้าน www.thaifranchisecenter.com/directory/index.php

SMEs Tips

  1. ต้องมีความรู้และเชี่ยวชาญจริงๆ
  2. เรียนรู้และเข้าใจปัญหาของผู้ฟัง
  3. ให้ความรู้ผู้ฟังให้ได้มากที่สุด
  4. รู้จักเวลาและกาลเทศะ
  5. เรียนรู้เพิ่มเติมอยู่เสมอ

อ้างอิงจาก https://bit.ly/2TWHSg7

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช