5 NEW S-CURVE ในธุรกิจแฟรนไชส์
หลังวิกฤตโควิด-19 เริ่มคลี่คลาย เชื่อว่าหลายคนคงได้เห็นธุรกิจแฟรนไชส์หลากหลายแบรนด์ วางกลยุทธ์ใหม่เพื่อขับเคลื่อนธุรกิจให้เดินต่อไปข้างหน้า ซึ่งสิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้นกับธุรกิจแฟรนไชส์
ก็คือ นวัตกรรมและแนวคิดการดำเนินธุรกิจใหม่ หรือที่เรียกกันว่า NEW S-CURVE วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะนำเสนอ 5 New S-CURVE ที่เกิดขึ้นกับธุรกิจแฟรนไชส์ครับ
1.เปลี่ยนหน้าร้านสู่ Food truck
ภาพจาก facebook.com/nbpancake/
การระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้ธุรกิจร้านอาหารหลายๆ ร้านต้องปิดให้บริการชั่วคราวในห้างสรรพสินค้า หรือให้บริการแบบซื้อกลับบ้าน และเดลิเวอรี่ แต่ไม่สามารถช่วยให้ยอดขายกระเตื้องขึ้นได้มากนัก แต่พอร้านอาหารเปิดให้บริการอีกครั้งภายใต้ New Normal ร้านต้องคุมเข้มมาตรการป้องกันโควิด-19 ทำให้แฟรนไชส์ร้านอาหารหลายแบรนด์มุ่งเน้นการขยายสาขาแฟรนไชส์ออกนอกห้าง เนื่องจากป้องกันผลกระทบจากโควิด-19 หากเกิดการระบาดอีกครั้ง
ภาพจาก facebook.com/kfcth/
ดังนั้น แฟรนไชส์หลายๆ แบรนด์ได้พลิกวิกฤตเป็นโอกาส อย่างกรณี แฟรนไชส์ N&B Pancake จากเดิมร้านในห้าง เปิดขายแฟรนไชส์รูปแบบ Food Truck สาขาแรกเกษตร-นวมินทร์ งบการลงทุน 550,000-600,000 บาท ถือเป็น New S-curve ของ N&B นอกจากนี้ยังมีแฟรนไชส์ไก่ทอดยักษ์ใหญ่ KFC เปิดร้านแบบ Food Truck จอดทดลองขายที่หน้าตึกสาทรสแควร์
2.แบรนด์ใหญ่รุก Street Food
ภาพจาก bit.ly/37oqfuo
โอกาสของแบรนด์แฟรนไชส์หลายๆ แบรนด์ โดยเฉพาะแบรนด์ใหญ่ๆ ปรับรูปแบบการดำเนินธุรกิจจากเดอิมเปิดในห้างสรรพสินค้า จับกลุ่มลูกค้าคนทำงานทั่วไป แต่พอเกิดวิวิกฤติโควิด-19 ยอดขายในร้านบนห้างลดลงอย่างมาก
พอหลังโควิด-19 คลี่คลายแบรนด์ใหญ่หันมาแตกแบรนดใหม่เปิดขายแฟรนไชส์ เช่น ฟู้ดแพชชั่นเจ้าของบาร์บีคิวพาซ่า ขายแฟรนไชส์ “หมูทอดกอดคอ” รุกตลาด Street Food ทำเลตลาดทั่วไป รวมถึงปั้มน้ำมันพีทีทั่วประเทศ
3.ย่อขนาดร้านเป็น Size เล็ก
ภาพจาก bit.ly/3kh4vUZ
ยกตัวอย่าง “เซ็น คอร์ปอเรชั่น” ประกาศแผนการดำเนินธุรกิจครึ่งปีหลัง 2563 เตรียมทุ่มงบประมาณกว่า 100 ล้านบาท นำทัพร้านอาหาร 5 แบรนด์หลัก เซ็น-อากะ-ออน เดอะ เทเบิล-ตำมั่ว-เขียง เดินหน้าขยายสาขาต่อเนื่องหลังวิกฤตโควิด-19
โดยเน้นขยายร้านไซส์เล็ก-ทำเลที่ตั้งคนสัญจรไปมาดีหวังดึงลูกค้าเข้าร้าน พร้อมซุ่มทดลองโมเดลขายแฟรนไชส์แบรนด์อากะ ย้ำลงทุนน้อย คืนทุนใน 2 ปี เน้นปูพรมต่างจังหวัดจับตลาดวัยรุ่น พร้อมปรับโครงสร้างองค์กร เพิ่มความคล่องตัว ควบคุมค่าใช้จ่าย
4.เปลี่ยนทำเลออกนอกห้าง
ภาพจาก bit.ly/2TcKfrx
เราจะเห็นว่าบริษัทแฟรนไชส์หลายๆ แบรนด์ในเมืองไทย ไม่ว่าจะเป็น ZEN, KFC, CRG และอื่นๆ เตรียมแผนที่จะขยายสาขาออกไปนอกห้างมากขึ้น
หลังจากได้รับผลกระทบจากวิกฤติโควิด-19 กรณีห้างสรรพสินค้าปิดให้บริการชั่วคราว ประชาชนเดินห้างน้อยลง โดยมีเป้าหมายเปิดร้านทำเลในปั้มน้ำมัน สำหนักงาน ตลาด ชุมชน สถานที่คนพลุกพล่านที่ไม่ใช่ในห้างสรรพสินค้า
5.นำหุ่นยนต์มาช่วยในร้าน
ภาพจาก bit.ly/3kljUn5
ยกตัวอย่าง FamilyMart แฟรนไชส์ร้านสะดวกซื้อในญี่ปุ่นร่วมมือกับ Telexistence (TX) ทดลองนำหุ่นยนต์ “Model_T” ไปใช้ในร้านค้า FamilyMart ซึ่งหน้าที่ของหุ่นนี้คือการเรียงพวกขวดเครื่องดื่มมาตั้งบนชั้นวางของ โดยมีคนควบคุมหุ่นยนต์ด้วย VR (Virtual Reality) จากสำนักงานใหญ่ในเขตมินาโตะ ซึ่งการควบคุมนี้เป็นการควบคุมระยะไกล แม้จะอยู่ในเขตมินาโตะ แต่ก็สามารถควบคุมหุ่นที่อยู่ในเขตโทชิมะได้
FamilyMart ได้ตั้งเป้าไว้ว่าจะนำหุ่นยนต์นี้มาใช้งานให้ได้มากสุด 20 สาขาภายใน 2 ปี แล้วค่อยๆ ขยับขยายจนในที่สุดสามารถใช้หุ่นยนต์นี้ได้ทุกสาขาทั่วประเทศ เพื่อสามารถช่วยแก้ปัญหาด้านการขาดแคลนแรงงาน ทั้งยังช่วยลดโอกาสการติดเชื้อ Covid-19 ได้อีกด้วยเพราะไม่ต้องสัมผัสกับผู้ใดโดยตรง
ทั้งหมดเป็น 5 NEW S-CURVE ที่เกิดขึ้นในธุรกิจแฟรนไชส์ไทยและต่างประเทศ ซึ่งคาดว่าน่าจะมีหลายๆ แบรนด์แฟรนไชส์ เริ่มเปลี่ยนแนวคิดดำเนินธุรกิจใหม่ จับตลาดใหม่ หลังจากได้รับผลกระทบจากวิกฤตโควิด-19 ในช่วงที่ผ่านมา
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/3corFV2
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter
อ้างอิงจาก https://bit.ly/3ofELdW