5 วิธีเลือกแฟรนไชส์อย่างมืออาชีพ
หลายคนอาจมีความกังวลในการเลือกซื้อแฟรนไชส์มาดำเนินธุรกิจในช่วงเวลาต่อจากนี้ แม้ว่าสถานการณ์โควิด-19 เริ่มคลี่คลายลง แต่การซื้อแฟรนไชส์เป็นวิธีการเริ่มต้นธุรกิจที่น่าสนใจ และได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะคนที่ไม่มีประสบการณ์ด้านการทำธุรกิจมาก่อน เพียงแต่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ต้องรู้วิธีการเลือกธุรกิจแฟรนไชส์อย่างถูกต้องเท่านั้น
สำหรับใครสนใจอยากซื้อแฟรนไชส์เพื่อเริ่มต้นธุรกิจใหม่ สร้างรายได้ในปี 2023 วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com มี 5 วิธีเลือก ธุรกิจแฟรนไชส์แบบมืออาชีพ รับรองว่าซื้อไปแล้วมีโอกาสประสบความสำเร็จอย่างแน่นอน
1.เลือกธุรกิจแฟรนไชส์ที่ชอบ
ธุรกิจที่ตัวเองชื่นชอบและมีความถนัดจะมีส่วนช่วยให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์มีความกระตือรือร้นในการทำงาน พร้อมที่จะทุ่มเทแรงกายแรงใจและมุ่งมั่นที่จะเรียนรู้การปฏิบัติงานตามระบบแฟรนไชส์ที่เจ้าของแฟรนไชส์ถ่ายทอดให้ ขณะเดียวกันผู้ซื้อแฟรนไชส์จะต้องไปทดลองใช้บริการ ทดลองกิน หรือทดลองสัมผัสกับแฟรนไชส์ที่ตัวเองชื่นชอบว่าดีจริงหรือไม่ รวมถึงต้องศึกษาหาความรู้เรื่องระบบแฟรนไชส์อย่างลึกซึ้ง และเปรียบเทียบธุรกิจแฟรนไชส์หลายๆ แบรนด์ก่อนตัดสินใจซื้อ
2.แบรนด์มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก
การได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งและเติบโตไปพร้อมๆ กับบริษัทหรือแบรนด์แฟรนไชส์ชั้นนำที่มีชื่อเสียงโด่งดังและมีความมั่นคงอันดับต้นๆ ของประเทศ ถือเป็นความปรารถนาและความใฝ่ฝันของผู้ซื้อแฟรนไชส์หลายๆ คน เพราะแฟรนไชส์เหล่านี้จะมีฐานกลุ่มลูกค้ารองรับ มีระบบการบริหารจัดการธุรกิจที่เป็นมาตรฐานสากล ช่วยให้ธุรกิจแฟรนไชส์มีโอกาสประสบความสำเร็จสูง เช่น แบรนด์ธุรกิจห้าดาว, เชสเตอร์, ออฟฟิศเมท พลัส, ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส และเซเว่นอีเลฟเว่น เป็นต้น
3.ธุรกิจมียอดขายและผลกำไรดี
ต้องยอมรับว่าความคุ้มค่าในการเลือกซื้อแฟรนไชส์ โดยเฉพาะในเรื่องของยอดขายและรายได้ต่อเดือน ถือเป็นสิ่งในการดึงดูดให้คนอยากซื้อแฟรนไชส์แบรนด์นั้นมากขึ้น โดยปกติแล้วแฟรนไชส์ที่มีฐานกลุ่มลูกค้าหนาแน่น ผู้บริโภคนิยมซื้อหรือใช้บริการเป็นประจำ มักจะทำยอดขายและรายได้ดี อย่างกรณีแฟรนไชส์ “ออฟฟิศเมท พลัส” การันตีกำไร 1 แสนบาท/เดือน หรือ คาเฟ่ อเมซอน การันตียอดขายเฉลี่ยต่อสาขา 250 แก้ว/วัน ทำให้คนสนใจซื้อแฟรนไชส์ 500 ใบสมัครต่อเดือน
4.ดูหลักการและเงื่อนไขแฟรนไชส์
ก่อนซื้อแฟรนไชส์ควรศึกษานโยบายของบริษัท ตลอดจนรายละเอียดและเงื่อนไขที่เกี่ยวข้องทั้งหมดในสัญญาแฟรนไชส์ ศึกษาขั้นตอนของการปฏิบัติงานที่เกี่ยวกับธุรกิจให้เข้าใจ ตลอดจนระยะเวลาสัญญาแฟรนไชส์ ค่าใช้จ่ายต่างๆ การจ่ายเงินค่าสิทธิ ทำเลพื้นที่เปิดร้าน การจัดส่งวัตถุดิบ รวมถึงข้อปฏิบัติและหน้าที่ของผู้ซื้อแฟรนไชส์และเจ้าของแฟรนไชส์
5.ระบบสนับสนุนของแฟรนไชส์ซอร์
สิ่งที่ผู้ซื้อแฟรนไชส์จะต้องคำนึงถึง คือ การช่วยเหลือและสนับสนุนจากบริษัทแฟรนไชส์ ไม่ว่าจะเป็นบริการฝึกอบรมพนักงานจากทีมงานมืออาชีพ กิจกรรมเปิดตัวร้าน การช่วยเหลือด้านการตลาด การขาย การให้คำแนะนำปรึกษาตลอดการดำเนินธุรกิจ การพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างความได้เปรียบคู่แข่ง และเพิ่มยอดขายและรายได้แก่ธุรกิจ
นั่นคือ 5 วิธีเลือก แฟรนไชส์อย่างมืออาชีพ รับรองว่าซื้อไปแล้วมีโอกาสประสบความสำเร็จในปี 2023 อย่างแน่นอน
Franchise Tips
- เลือกธุรกิจแฟรนไชส์ที่ชอบ
- แบรนด์มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก
- ธุรกิจมียอดขายและผลกำไรดี
- ดูหลักการและเงื่อนไขแฟรนไชส์
- ระบบสนับสนุนของแฟรนไชส์ซอร์
อ้างอิงจาก https://bit.ly/3ACai1w
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)