5 เทคนิค การตลาดแบบกองโจร สำหรับแฟรนไชส์

การตลาดแบบกองโจร (Guerrilla marketing) เป็นที่รู้จักมานาน และกลยุทธ์นี้แม้แต่แบรนด์ดังระดับโลกก็ยังเคยนำมาใช้เพิ่มยอดขายให้สินค้าอย่างได้ผล ไม่ว่าจะเป็น McDonald’s ในอเมริกา ที่เปลี่ยนทางม้าลายจากสีขาวดำเป็นรูปสินค้าเฟรนช์ฟรายส์ของตัวเอง

หรือ Kit Kat ในประเทศโคลัมเบียที่เปลี่ยนป้ายรอรถเมล์ให้มีเครื่องสั่นนวดอยู่ข้างใน รวมถึง Axe ที่เคยนำรูปกลุ่มผู้หญิงกำลังวิ่ง ไปต่อจากป้ายหนีไฟสีเขียวแล้วแปะคำว่า “Axe” เพื่อสื่อว่าชายในป้ายหนีไฟนั้นหอมจนผู้หญิงต้องวิ่งตาม เป็นต้น

แต่สิ่งที่ www.ThaiSMEsCenter.com สนใจและหลายคนก็คงคิดเหมือนกันคือถ้าเป็นในเรื่องแฟรนไชส์กลยุทธ์การตลาดแบบกองโจรนี้จะสามารถนำมาประยุกต์ใช้อย่างไรได้บ้าง ลองไปติดตาม 5 เทคนิคการตลาด แบบกองโจร สำหรับแฟรนไชส์พร้อมๆกันได้เลย

หัวใจสำคัญของคำว่า “แฟรนไชส์

5 เทคนิคการตลาด

ก่อนที่จะเลือกใช้กลยุทธ์ใดๆในการทำตลาด สิ่งสำคัญที่สุดของแฟรนไชส์คือคำว่า “คุณภาพ” นี่คือเรื่องแรกที่เจ้าของแฟรนไชส์ต้องวางระบบบริหารจัดการแบรนด์ตัวเองให้ดี คำว่าดีในที่นี้ไม่ได้หมายถึงแค่สินค้าหรือบริการ

หากแต่แฟรนไชส์คือการขยายโอกาสให้คนสนใจได้มาร่วมลงทุนดังนั้น การเซตระบบเพื่อที่จะดูแลในเรื่องต่างๆ จึงสำคัญมาก เพราะยิ่งการมีสาขาเพิ่มมากขึ้น ย่อมหมายถึงปัญหาที่จะมากขึ้นตามมา โดยเฉพาะในเรื่องคุณภาพสินค้าและบริการที่เรามักได้ยินเสมอว่าทำไมสินค้าที่นี่ไม่ดีไม่อร่อยเหมือนสาขาอื่น หรือบริการที่สาขานี้ทำไมแตกต่างจากสาขาอื่นเป็นต้น

ถ้าภาพลักษณ์ของแบรนด์เสียไม่ว่าจะทางใดทางหนึ่ง ย่อมส่งผลกระทบโดยตรงต่อระบบแฟรนไชส์ของแบรนด์นั้นๆ แม้สาขาอื่นที่ยึดมั่นในคุณภาพแต่คนก็จะเหมารวมไปตามความรู้สึกที่ไม่ดี สิ่งเหล่านี้คือหัวใจสำคัญที่จำเป็นต้องทำให้ได้ก่อน หากมั่นใจว่าเซตระบบพร้อมแล้ว จึงค่อยต่อยอดในการขายแฟรนไชส์ให้คนที่สนใจ

วิธีใช้กลยุทธ์แบบกองโจร (Guerrilla marketing) ในการขายแฟรนไชส์

1.ทำให้คนรู้จักผ่าน Social Media

32

วิธีนี้น่าจะเป็นรูปแบบการเข้าถึงกลุ่มคนได้มากที่สุด ถ้าเราตัดสินใจจะขายแฟรนไชส์แต่ติดปัญหาว่าคนส่วนใหญ่ยังไม่รู้จัก ยังไม่รู้ว่าแฟรนไชส์ของเราดีอย่างไร น่าสนใจแค่ไหน การนำแบรนด์ตัวเองไปแฝงในกลุ่ม Social ต่าง ๆ หรือการประชาสัมพันธ์ผ่านเฟสบุ๊ค ไลน์ หรือว่า Youtube จะทำให้คนรู้จักเราได้มากขึ้น รวมไปถึงการไลฟ์สดต่างๆ ก็จะทำให้คนรู้จักแฟรนไชส์เราได้มากขึ้น

2.แจกแผ่นพับ ใบปลิว ให้คนได้รู้จัก

33

หนึ่งในวิธีการที่อาจจะดูล้าสมัยแต่ก็ได้ผลและเป็น กลยุทธ์แบบกองโจรแบบดั้งเดิมคือการแจกใบปลิว แผ่นพับ แปะป้ายโฆษณาตามที่ต่างๆ จะเป็นการทำให้คนรู้จักแฟรนไชส์เราได้มากขึ้น แต่วิธีนี้ค่อนข้างวัดผลได้ยาก และจะต้องมีการลงทุนทำแผ่นพับใบปลิว ที่อาจใช้งบสูง คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยใช้วิธีนี้เพราะผลตอบแทนคืนมาอาจไม่คุ้มค่ามากนัก

3.เปิดตลาดตามงานอีเว้นท์ต่างๆ

31

การตลาดแบบกองโจรคือการไปโผล่ตรงนั้นที ตรงนี้ที หรือไปตรงไหนก็ได้ที่มีคนเยอะๆ เป้าหมายเพื่อให้คนรู้จักแบรนด์ของเรา และเข้าใจว่าเรากำลังทำอะไร มีความน่าสนใจอย่างไร ถ้าเป็นแฟรนไชส์คนก็จะได้รู้ว่าเรามีแพคเกจลงทุนอะไร และเมื่อเลือกลงทุนแล้วจะคุ้มค่าแค่ไหน ซึ่งการเปิดตัวไปตามงานอีเว้นท์ต่างๆ ที่มักเป็นศูนย์รวมของคนสนใจอยากมีอาชีพ อยากมีรายได้เพิ่ม ก็ถือเป็นกลยุทธ์การตลาดที่คนทำแฟรนไชส์สามารถนำมาใช้อย่างได้ผล

4.สร้างคอนเทนต์ให้คนสนใจและอยากติดตาม

36

หัวใจสำคัญของการตลาดแบบกองโจรเน้นใช้ความแปลกใหม่ในการโปรโมทแบรนด์หรือผลิตภัณฑ์ ที่นำไปสู่การเป็นไวรัลให้คนพูดถึงและรู้จักในวงกว้าง ดังนั้นการตลาดรูปแบบนี้ไอเดียจึงเป็นหัวใจสำคัญ ที่จะสามารถสร้างความตกตะลึงและแปลกใจแก่ผู้พบเห็น ยิ่งถ้าเห็นแล้วแชร์ เห็นแล้วบอกต่อ คือความสำเร็จของกลยุทธ์นี้อย่างชัดเจน

5.ร่วมเป็นผู้สนับสนุนในกิจกรรมต่างๆ

30

หรือเรียกว่าเป็นการตลาดแบบแฝงตัวที่ถือเป็นหนึ่งในวิธีการใช้การตลาดแบบกองโจร โดยแฟรนไชส์สามารถเข้าร่วมสนับสนุนในกิจกรรมต่างๆ เช่น กีฬา คอนเสิร์ต เดินวิ่งการกุศล ประเพณีงานบุญต่างๆ ซึ่งเป้าหมายคือต้องการให้คนได้รู้จักแบรนด์แฟรนไชส์และถือเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่น่าสนใจได้พร้อมกันด้วย

อย่างไรก็ดีการนำ ตลาดแบบกองโจร (Guerrilla marketing) มาใช้กับการขยายธุรกิจแฟรนไชส์เป็นเพียงวิธีการหนึ่ง ซึ่งยังมีอีกหลายวิธีที่เจ้าของแฟรนไชส์สามารถนำมาใช้ได้ เพราะการใช้ การตลาดแบบกองโจร ที่มากเกินไปหรือใช้ไม่ถูกที่ถูกเวลาอาจได้ผลตรงกันข้ามกับที่ตั้งใจ

ที่สำคัญวิธีการแบบกองโจรนี้ส่วนมากเน้นไอเดียให้คนสนใจ แต่จะฮือฮาได้ในช่วงเวลาสั้นๆ คนจะตื่นเต้นแค่พักหนึ่งหากต้องการให้เกิดกระแสอีกครั้ง ก็ต้องหาไอเดียใหม่ๆมาใช้ และหากใช้การตลาดแบบนี้บ่อยเกินไป อาจทำให้ลูกค้าไม่ตื่นเต้น จึงควรเลือกใช้ให้ถูกจังหวะถูกเวลาจะได้ผลดีที่สุด

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3Tafn93


8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์

1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์

  • กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
  • ชื่อกิจการ (Brand)
  • การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
  • การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
  • การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
  • การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
  • การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
  • การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
  • การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์

2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ

  • ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
  • ระบบการเงิน การบัญชี
  • งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
  • รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
  • ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ

3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
  • แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
  • สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
  • เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
  • มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
  • มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
  • ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี

4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์

  • กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
  • การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
  • สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
  • เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ

5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายแฟรนไชส์
  • ระบบการเงิน
  • ค่าธรรมเนียมต่างๆ
  • ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
  • การจดทะเบียนแฟรนไชส์
  • เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
  • ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
  • การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
  • แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
  • การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
  • การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า

6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น

7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
  • พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
  • ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
  • การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
  • เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
  • จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์

8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์

  • การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
  • กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
  • การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  • การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
  • การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
  • กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
  • กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี

สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด