5 เทคนิคหมุนเงินขั้นเทพ เพื่อ ธุรกิจ ไม่เจ๊ง
เงินทุนหมุนเวียน หรือ Working Capital เป็นเงินทุนของธุรกิจที่ใช้หมุนเวียนดำเนินงานก่อนได้รับเงินสดจากการขายสินค้าและบริการ หรือการชำระหนี้จากลูกหนี้ สำหรับคนทำธุรกิจแล้ว “เงินทุนหมุนเวียน” ถือเป็นหัวใจหลักที่กำหนดการอยู่รอดหรือไม่รอดของธุรกิจได้เลยทีเดียว
หลายครั้งที่ธุรกิจเจ๊งไม่ใช่เพราะสินค้าไร้คุณภาพหรือบริการไม่ดีแต่เกิดจากการบริหารเงินทุนหมุนเวียนที่ผิดพลาด www.ThaiSMEsCenter.com มองว่าเหล่าSMEs ทั้งหลายหากคิดจะเข้าสู่วงการลงทุนแล้วเรื่องนี้จำเป็นต้องศึกษาให้เข้าใจอย่างลึกซึ้ง
เงินทุนหมุนเวียนเอาไปทำอะไรได้บ้าง?
ภาพจาก bit.ly/33huHpu
ในแง่ของการลงทุนเราต้องใช้ “เงินหมุน” ยิ่งเป็นผู้ลงทุนรายย่อย การจะมีเงินกองกลางทีละมากๆ เป็นไปไม่ได้ เงินทุนหมุนเวียนจึงเหมือนสิ่งที่เข้ามาและออกไป ซึ่งเราเอาไปใช้ได้หลายอย่าง เช่น
- จ่ายเงินสดในการชำระค่าสินค้า/วัตถุดิบ
- ชำระหนี้คืนเจ้าหนี้
- จ่ายค่าใช้จ่ายดำเนินงานต่าง ๆ ของธุรกิจ
เงินทุนหมุนเวียนจึงเปรียบเป็นหัวใจหลักที่คอยสนับสนุนส่วนต่าง ๆ ของธุรกิจดำเนินไปได้อย่างราบรื่น การบริหารที่ผิดพลาดที่ทำให้เงินทุนจมหรือไหลออกเกินความจำเป็น จะส่งผลโดยตรงต่อธุรกิจ ซึ่งในแต่ละวันต้องบริหารเงินทุนหมุนเวียนเพียงพอสําหรับการใช้จ่าย และสามารถชําระหนี้ได้เมื่อถึงกําหนด
ลักษณะของการบริหารเงินทุนหมุนเวียนที่ควรรู้?
การบริหารเงินทุนหมุนเวียนธุรกิจ (Working Capital Management) เป็นการบริหารสินทรัพย์หมุนเวียนและหนี้สินหมุนเวียน ให้เกิดความสมดุลแบ่งได้ 3 ลักษณะ
- เงินทุนหมุนเวียนเป็นศูนย์ (Zero Position)
เป็นการบริหารเงินทุนหมุนเวียนที่สินทรัพย์หมุนเวียนเท่ากับหนี้สินหมุนเวียน ผลที่ได้ ธุรกิจมีสภาพคล่อง กำไรและความเสี่ยงในระดับปานกลาง - เงินทุนหมุนเวียนเป็นบวก(Positive Position)
เป็นการบริหารเงินทุนหมุนเวียนที่มีสินทรัพย์หมุนเวียนมากกว่าหนี้สินหมุนเวียน มีผลทำให้กิจการมีสภาพคล่องสูง ความเสี่ยงต่ำ และความสามารถในการทำกำไรลดลง - เงินทุนหมุนเวียนเป็นลบ (Negative Position)
เป็นการบริหารเงินทุนหมุนเวียนที่มีสินทรัพย์หมุนเวียนน้อยกว่าหนี้สินหมุนเวียนมีผลทำให้กิจการมีสภาพคล่องต่ำ ความเสี่ยงสูงขึ้น แต่มีกำไรสูง
5 เทคนิคหมุนเงินขั้นเทพเพื่อ ธุรกิจ ไม่เจ๊ง
ภาพจาก bit.ly/2AWRgDJ
1. จัดการเงินสดให้เป็นระบบ โดยแบ่งออกเป็น
- เงินสดย่อย
สำหรับค่าใช้จ่ายรายวันจำนวนไม่มาก เช่น ค่าแสตมป์ ค่ายานพาหนะ ค่าเครื่องใช้สำนักงาน เป็นต้น ทำให้สะดวกในการใช้จ่าย ควบคุมรายจ่ายที่เกิดขึ้นประจำได้อย่างมีประสิทธิภาพ - เงินสดในมือ
ได้จากการขายประจำวันและเงินทอน เป็นส่วนที่ไม่มีผลตอบแทน ควรมีเท่าที่จำเป็น ลดความเสี่ยงจากการสูญเสีย เช่น การขโมย ดังนั้นควรนำไปฝากธนาคารทุกวัน - เงินฝากกระแสรายวัน
อำนวยความสะดวกในการบริหารเงินได้อย่างคล่องตัวและปลอดภัยโดยใช้เช็คสั่งจ่ายของธนาคารแทนการใช้เงินสด - เงินฝากออมทรัพย์
ใช้สำหรับรับโอนเงินจากเงินฝากกระแสรายวันเพื่อรับดอกเบี้ย เป็นเงินสำหรับใช้จ่ายภาษีต่าง ๆ หรือ ใช้ในกรณีฉุกเฉิน
2. นำหลักทรัพย์ลงทุนชั่วคราวเพื่อสร้างรายได้
ผู้ประกอบการสามารถนำเงินสดที่ยังไม่จำเป็นต้องใช้จ่ายหรือชำระหนี้ทันทีไปลงทุนในหลักทรัพย์ระยะสั้นหรือตราสารในตลาดเงินซึ่งให้ผลตอบแทนสูงกว่าเก็บไว้ในบัญชีกระแสรายวันซึ่งไม่มีดอกเบี้ย และบัญชีออมทรัพย์ซึ่งดอกเบี้ยต่ำมาก
ภาพจาก bit.ly/35fU90t
3. กำหนดนโยบายบริหารลูกหนี้
ในกรณีขายเชื่อ ผู้ประกอบการจำเป็นต้องมีวิธีการบริหารลูกหนี้ โดยกำหนดเป็นนโยบายขายเชื่อ มีรายละเอียดสำคัญ 3 ประการ คือ ประเภทลูกค้าและวงเงินขายเชื่อ ,ระยะเวลาและเงื่อนไขขายเชื่อ ,วิธีการควบคุมขายเชื่อ และมาตรการแก้ปัญหา
4. จัดการสินค้าคงเหลือเหมาะสม
เป้าหมายหลักของการจัดการสินค้าคงคลัง คือทำให้ค่าใช้จ่ายรวมในการจัดการสินค้าคงเหลือมีค่าน้อยที่สุดในขณะลูกค้าได้รับความพอใจ ดังนั้นผู้ประกอบการต้องบริหารสินค้าคงคลังให้ปริมารพอเหมาะ ไม่มากหรือน้อยเกินไป เงินลงทุนจะได้ไม่จมอยู่กับสินค้า ค่าใช้จ่ายในการบริหารสินค้าเหลือน้อยและมีสินค้าพร้อมขายแก่ลูกค้าทันท่วงที
ภาพจาก bit.ly/2MqRGrn
5. สิ่งที่เป็นข้อห้ามสำหรับเด็ดขาดสำหรับการบริหารเงินทุนหมุนเวียนธุรกิจ
- ถือเงินสดมากเกินความจำเป็น ธุรกิจเสียโอกาสในการลงทุนที่ให้กำไรสูงกว่า
- ขายเชื่อมากเกินไป เกิดลูกหนี้ที่เก็บไม่ได้จำนวนมากเงินทุนจมในตัวลูกหนี้ เสี่ยงเกิดหนี้สูญ มีค่าใช้จ่ายเก็บหนี้มากขึ้น
- สต๊อกสินค้าคงเหลือเกินความจำเป็นเงินทุนจมในสินค้า ระยะยาวสินค้าเสื่อมสภาพหรือล้าสมัยจนไม่สามารถขายได้
- ถือเงินสดน้อยเกินไป ส่งผลให้ธุรกิจดำเนินงานติดขัด เพราะมีเงินสดไม่เพียงพอในการจ่ายชำระหนี้จ่ายค่าใช้จ่ายต่าง ๆ
- เร่งรัดชำระหนี้เร็วเกินไปทำให้ยอดขายลดลง เพราะลูกค้าตัดสินใจไปซื้อสินค้าจากรายอื่นที่ให้เครดิตนานกว่า
- สินค้าคงเหลือน้อยเกินไป ทำให้สินค้าขาดมือส่งผลต่อความน่าเชื่อถือและส่วนแบ่งตลาดลดลง
- ยืมเงินจากแหล่งเงินทุนระยะสั้นมากเกินไป เพื่อนำมาจ่ายชำระหนี้ให้ทันกำหนด เช่น การกู้ยืมเงินจากธนาคาร สามารถจ่ายชำระหนี้ได้ทันตามกำหนด แต่ไม่สามารถทำให้สภาพคล่องของกิจการดีขึ้น กลับกันทำให้ธุรกิจมีปัญหาสภาพคล่องมากขึ้นกว่าเดิมเพราะอัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียน(Current Ratio) เปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ลดลง
จากข้อมูลทั้งหมดนี้เราจะเห็นได้ว่า “เงินทุนหมุนเวียน” คือหัวใจสำคัญที่ทำให้ธุรกิจอยู่รอดได้หรือไม่ได้ คนที่มีประสบการณ์จะมีวิธีบริหารจัดการอย่างมืออาชีพตรงกันข้ามกับผู้ลงทุนรายใหม่ๆ
ที่ไร้ประสบการณ์มักมองข้ามเรื่องนี้สุดท้ายกลายเป็นว่าธุรกิจเดินหน้าไม่ได้ทั้งที่มีการวางแผนทุกอย่างเป็นอย่างดียกเว้นไม่ได้วางแผนเรื่องเงินทุนหมุนเวียนให้ดีพอ
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ goo.gl/Io5k2S
SMEs Tip
- จัดการเงินสดให้เป็นระบบ
- นำหลักทรัพย์ลงทุนชั่วคราวเพื่อสร้างรายได้
- กำหนดนโยบายบริหารลูกหนี้
- จัดการสินค้าคงเหลือเหมาะสม
- สิ่งที่เป็นข้อห้ามสำหรับเด็ดขาดสำหรับการบริหารเงินทุนหมุนเวียนธุรกิจ