5 เคล็ดลับ ตั้งชื่อร้านอาหารให้โดน วันเดียวก็ดัง!

การเปิดร้านอาหารสำคัญคือ “ต้องอร่อย” “บริการดี” แต่เท่านั้นยังไม่พอ ในยุคนี้คิดจะทำธุรกิจใดๆ จำเป็นต้องมีจุดเด่น มีเอกลักษณ์ให้คนสนใจ ซึ่ง “ชื่อร้าน” ก็เป็นปราการด่านแรกที่คนจะเห็นและรู้จักร้านอาหารของเรา

ถ้าเราตั้งชื่อแบบง่ายๆ ธรรมดาๆ ก็คงไม่สะดุดหู สะดุดตา คงจะดีกว่าแน่ถ้าเราตั้งชื่อร้านอาหารชนิดที่ใครเห็นเป็นต้องหยุดอ่าน หรือยิ่งเห็นชื่อร้านแล้วแชร์ลงไปในโซเชี่ยล จะยิ่งกระพือให้ร้านอาหารของเราดังเร็วยิ่งขึ้น และเมื่อมีลูกค้าเข้าร้านค่อยมาสร้างความประทับใจด้วยบริการและความอร่อยของเมนูอาหาร

www.ThaiSMEsCenter.com จึงให้ความสำคัญกับชื่อแต่หลายคนก็ไม่รู้ว่าจะใช้เทคนิคแบบไหนอย่างไรตั้งชื่อร้านให้แปลกแหวกแนวและน่าจดจำ ลองมาดูกันว่ามีเทคนิคน่าสนใจอะไรบ้าง

1.ตั้งชื่อร้านให้เชื่อมโยงกับสถานที่

5 เคล็ดลับ ตั้งชื่อร้านอาหารให้โดน

ลองสำรวจดูก่อนว่าสถานที่ที่เราจะเปิดร้านอาหารมีอะไรน่าสนใจบ้าง และพยายามตั้งชื่อร้านให้เชื่อมโยงกับสถานที่เหล่านั้น บางทีอาจกลายเป็นแลนด์มาร์คให้คนได้รู้จัก ตัวอย่างง่ายๆเช่น กล้วยแขกนางเลิ้ง , ข้าวขาหมูตรอกซุง , ข้าวมันไก่ประตูน้ำ แต่ละร้านที่ยกตัวอย่างมานี้คือระดับตำนานที่คนรู้จักทั่วประเทศ หรือถ้ายังไม่ชัดเจนลองไปดูตัวอย่างในต่างประเทศอย่างร้านอาหาร The French Laundry รัฐแคลิฟอเนีย สหรัฐอเมริกา ถือเป็นอีกหนึ่งร้านที่ประสบความสำเร็จจากการตั้งชื่อร้านให้เชื่อมโยงกับสถานที่เช่นกัน โดยในศตวรรษที่ 19 อาคารหลังเก่า ซึ่งเป็นที่ตั้งร้านในปัจจุบัน เคยเป็นร้านซักรีดมาก่อน ร้านอาหารจึงใช้ประโยชน์จากความเก่าแก่นั้น ทำให้ร้านเป็นที่รู้จดจำในเวลาอันรวดเร็ว

2.ใช้คำสั้น สำนวนเตะหู

5 เคล็ดลับ ตั้งชื่อร้านอาหารให้โดน

การตั้งชื่อร้านยาวเกินไปไม่ดึงดูดใจลูกค้าแน่ เพราะกว่าลูกค้าจะจำได้หรือพูดชื่อร้านจบก็หมดความอยากพอดี ดังนั้นชื่อร้านควรเน้นที่คำสั้น กระชับ สำนวนเตะหู ยิ่งเป็นคำกินใจจะยิ่งดึงดูดคนให้สนใจได้มาก ตัวอย่างชื่อร้านที่ใช้เทคนิคนี้ในการตั้งชื่อเช่น ร้านสลัดโอ้กะจู๋ , ร้านกาแฟปัจจัยตัง , ร้านอาหารคุ้มกะตังค์ โดยสังเกตว่าจะเป็นชื่อร้านที่มีไม่เกิน 5 คำ ซึ่งถือว่ากระชับ และคนสมัยนี้ไม่ชอบอะไรที่ยาวๆ ชอบอะไรที่อ่านแล้วรวบรัด การตั้งชื่อร้านอาหารด้วยเทคนิคนี้จึงน่าสนใจและสามารถนำไปใช้กันได้

3.ใช้คำแปลกๆ ใหม่ๆ

5 เคล็ดลับ ตั้งชื่อร้านอาหารให้โดน

การตั้งชื่อร้านไม่จำเป็นต้องมีความหมายเกี่ยวกับอาหารเสมอไป ลองคิดค้นคำใหม่ๆ แปลกๆ และแตกต่างจากผู้อื่น เพราะความแปลกใหม่นี้จะกลายเป็นที่จดจำในทันที เช่น ร้าน The Bag Lady ร้านอาหารแห่งแรกของ Paula Deen เชฟเซเลบริตี้ และพิธีกรรายการอาหารชื่อดังในสหรัฐอเมริกา ที่ตั้งชื่อร้านโดยไม่เกี่ยวข้องกับอาหารแม้แต่น้อย หรืออีกตัวอย่างที่น่าสนใจไม่แพ้กันคือร้านอาหารของ เชฟชื่อดัง Wolfgang Puck ที่ตั้งชื่อร้านว่า Spago เป็นคำแสลงแปลว่า สปาเก็ตตี้ในภาษาอิตาเลียน ทำให้ร้านอาหารแห่งนี้ดูน่าสนใจมากขึ้น

4.ตั้งชื่อร้านตามคาแรคเตอร์เจ้าของร้าน

5 เคล็ดลับ ตั้งชื่อร้านอาหารให้โดน

ก่อนเปิดร้านอาหารเชื่อว่าเราต้องมีคอนเซปต์ของร้านอาหาร ถ้าไม่รู้ว่าจะตั้งชื่อร้านแบบไหนให้โดนใจ ก็ลองเอาคาแรคเตอร์ของเรา หรือของร้านมาตั้งเป็นชื่อไปเลยโดยอาจเลือกใช้คำไม่กี่คำแต่มีความหมายสื่อถึงร้านและคอนเซปท์ที่วางไว้ ตัวอย่างของร้านที่ใช้เทคนิคนี้ในการตั้งชื่อเช่น ร้านสหายหมื่นจอก มาพร้อมคอนเซปท์ประจำร้านที่ว่า “ร่ำสุรากับสหายที่รู้ใจ ความสัมพันธ์โยงใยไปทั่วหล้า” โดยเป็นร้านที่มีบรรยากาศสบาย ๆสามารถนั่งกิน นั่งดื่มกับเพื่อนที่รู้ใจได้นาน ๆ หรือร้าน จะกินอย่าบ่น ที่มาพร้อมคอนเซปท์ร้านอาหารสไตร์ง่าย ๆในบรรยากาศสบาย ๆ

5.เน้นตั้งชื่อร้านแบบเล่นคำ และวลีเด็ดๆ

10

ภาพจาก facebook.com/ZAPLUEMPHUER/

น่าจะเป็นวิธีตั้งชื่อร้านที่กระแทกใจได้มากที่สุด และสังเกตว่าร้านอาหารที่เปิดใหม่มักใช้วิธีนี้ในการตั้งชื่อซึ่งอาจมีการใช้คำผวนที่ชวนให้ตลกขบขันและฟังดูขี้เล่น ในขณะที่ชื่อร้านหลายร้านก็ดูคล้ายกับการจิกกัดลูกค้า ซึ่งน่าแปลกที่ชื่อร้านประเภทนี้สร้างอารมณ์น่าจดจำได้มากกว่าชื่อร้านที่ดูเป็นทางการและสุภาพมากเกินไป คำที่ฟังแล้วเด็ด ๆ ที่มักได้ยินเป็นชื่อร้านบ่อย ๆ ก็เช่นคำว่า “ผัว” “เมีย” หรือคำผวนที่มีความหมาย 2 แง่ 2 ง่าม แต่ไม่ถึงกับลามก ตัวอย่างของร้านที่ใช้เทคนิคนี้ในการตั้งชื่อเช่น ร้านตำแปลก แซ่บลืมผัว , ร้านโนตม พหลโยธิน 52 , ส้มตำวิปริต , ชาบู เห็นหมี , กระหรี่หมี่เตี้ยว อยู่ดาวอังคาร , ร้านส้มตำผู้ชายขายหอย เป็นต้น

นอกจากนี้ยังมีเคล็ดลับในการตั้งชื่อร้านอาหารที่น่าสนใจอีกหลายวิธีเช่น การเล่นคำสำบัดสำนวน , การใช้คำจากภาพยนตร์ , การใช้คำพื้นเมือง , การตั้งชื่อร้านแบบพ่วงสโลแกน แต่ไม่ว่าจะตั้งชื่อร้านให้เด็ด โดนใจแค่ไหน เราต้องไม่ลืมว่า ความจริงที่ว่าในการทำร้านอาหารคุณภาพและรสชาติเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ซึ่งถ้าคุณขาดทั้ง 2 สิ่งนี้ไป แม้ว่าชื่อร้านของคุณจะดีจะโดนแค่ไหนมันก็ช่วยอะไรไม่ได้เลย

อ้างอิงจาก https://bit.ly/2SHlGWN

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise


8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์

1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์

  • กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
  • ชื่อกิจการ (Brand)
  • การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
  • การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
  • การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
  • การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
  • การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
  • การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
  • การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์

2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ

  • ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
  • ระบบการเงิน การบัญชี
  • งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
  • รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
  • ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ

3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
  • แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
  • สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
  • เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
  • มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
  • มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
  • ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี

4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์

  • กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
  • การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
  • สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
  • เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ

5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายแฟรนไชส์
  • ระบบการเงิน
  • ค่าธรรมเนียมต่างๆ
  • ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
  • การจดทะเบียนแฟรนไชส์
  • เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
  • ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
  • การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
  • แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
  • การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
  • การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า

6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น

7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
  • พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
  • ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
  • การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
  • เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
  • จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์

8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์

  • การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
  • กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
  • การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  • การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
  • การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
  • กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
  • กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี

สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด