5 วิธีเริ่มต้นก่อนคิดลงทุนทำแฟรนไชส์

ปัจจุบันมีแฟรนไชส์ในเมืองไทยกว่า 500 แบรนด์ ซึ่งก็เป็นสินค้าและบริการที่แตกต่างกันไป ข้อดีของการลงทุนกับแฟรนไชส์คือ โอกาสล้มเหลวมีน้อย

เนื่องจากทุกแบรนด์แฟรนไชส์ต่างมีความแข็งแกร่งในตัวเองทั้งเรื่องตัวสินค้า การตลาด การบริหารจัดการ ผู้ที่ลงทุนสามารถเข้ารับการอบรม แนะแนวเทคนิควิธีการ ก็สามารถเริ่มต้นทำธุรกิจได้อย่างง่ายดาย

แต่อย่างไรก็ตามมีข้อมูลที่น่าสนใจโดยเฉพาะในช่วง 3-5 ปีแรกของบรรดาแฟรนไชส์ที่ลงทุนใหม่ จะเหลือรอดอยู่เพียงแค่ไม่กี่รายเท่านั้น แม้ระบบแฟรนไชส์จะมีความแข็งแกร่งและน่าสนใจ

แต่ www.ThaiSMEsCenter.com มองว่าสิ่งที่เราต้องตอบคำถามตัวเองให้ได้ก่อนที่จะเลือกลงทุนในแฟรนไชส์ใดๆ เป็นสิ่งสำคัญมาก หากเราตอบคำถามและมีความพร้อมในสิ่งเหล่านี้โอกาสอยู่รอดจากการลงทุนก็มีมากขึ้นเช่นกัน

1.พื้นฐานของผู้ลงทุนในด้านอาชีพและความสนใจ

วิธีเริ่มต้นก่อนคิดลงทุนทำแฟรนไชส์

เราจะละเลยเรื่องนี้ไม่ได้อย่างที่ทราบว่าแฟรนไชส์ในเมืองไทยมีแทบจะทุกยี่ห้อ การที่จะลงทุนแล้วทำให้เรามีกำไรหรือทำแล้วไปรอดขอให้เป็นแฟรนไชส์ที่ใกล้เคียงกับตัวเองจะดีที่สุด หมายความว่าหากเราเป็นข้าราชการ เราอาจรู้จักคนมากการทำธุรกิจของเราก็เลือกได้ทั้งที่เป็นแฟรนไชส์ค้าขาย หรืองานบริการทั่วไป

หรือหากเราเป็นครู เป็นอาจารย์ และมีเงินทุนมากพอเราอาจเลือกแฟรนไชส์ที่เกี่ยวกับการศึกษา ซึ่งอาชีพพื้นฐานที่เรามีจะช่วยส่งเสริมให้เราทำธุรกิจได้ง่ายขึ้น แต่ทั้งนี้ก็ดูที่ความชอบและความสนใจของตัวเองเป็นหลักด้วย อย่าตัดสินใจซื้อแฟรนไชส์ที่ตัวเองไม่ชอบและฝืนใจทำเป็นอันขาด

2.สายป่านทางการเงินที่ดี

11

แฟรนไชส์มีการลงทุนในหลายระดับราคา บางแฟรนไชส์เริ่มต้นแค่หลักพัน บางแฟรนไชส์ใช้เงินลงทุนหลักล้าน อย่างไรก็ดีทุกแฟรนไชส์ก็ต้องมีเงินทุนหมุนเวียนในระหว่างประกอบกิจการ แม้บางครั้งข้อดีของแฟรนไชส์จะระบุว่ามีโอกาสคืนทุนได้ภายใน 3 เดือน 6 เดือน หรือ 1 ปี

แต่ทั้งนี้ในระหว่างการดำเนินกิจการก็มีหลายปัจจัยที่เข้ามาเกี่ยวข้องที่อาจทำให้โอกาสคืนทุนไม่มาตามเป้า ดังนั้นกฎพื้นฐานของการทำธุรกิจที่จะอยู่รอดคือต้องมีแหล่งเงินทุนที่ดี โดยปัจจุบันธนาคารหลายแห่งก็มีการเซ็นสัญญาเป็นพันธมิตรกับแฟรนไชส์เพื่อโอกาสในการปล่อยกู้ในอัตราดอกเบี้ยที่ถูกลงมากขึ้น

3.การลงทุนคือความเสี่ยง ดังนั้นห้ามเพ้อฝันเด็ดขาด

13

แม้การลงทุนแฟรนไชส์จะได้ชื่อว่ามีความเสี่ยงต่ำ แต่ก็ใช่ว่าจะไม่มีโอกาสเสี่ยงล้มเหลว ดูจากสถิติก็น่าจะชี้ชัดว่าแฟรนไชส์มีระบบที่คัดกรองคนที่แข็งแกร่งและทำงานอย่างจริงจังเท่านั้นให้อยู่ในแวดวงนี้ได้

ดังนั้นก่อนซื้อแฟรนไชส์แม้จะเป็นแบรนด์ที่มีชื่อเสียง สินค้าขายดี แต่ให้นึกไว้เสมอว่านั้นคือการลงทุนของคนอื่นไม่ใช่ตัวเรา หากเราเป็นคนลงทุนเองเปิดร้านเอง การจะให้ธุรกิจประสบความสำเร็จได้ก็ต้องมีการทำงานที่มุ่งมั่น ไม่ใช่จะสามารถสร้างลูกค้าให้ฮอตฮิตได้ในทันที หากคิดว่าซื้อแฟรนไชส์แล้วจะรวยแน่ๆ แบบนี้คิดผิดตั้งแต่ยังไม่เริ่ม

4.หาข้อมูลของแฟรนไชส์ที่ต้องการลงทุนให้ละเอียด

12

เป็นการเตรียมข้อมูลเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับตัวเองในเบื้องต้น นอกจากข้อมูลเรื่องราคา สิ่งที่จะได้รับ การดูแลหลังการขาย สิ่งที่เราควรพิจารณาด้วยคือ โอกาสในการเติบโตโดยคาดเดาถึงประสิทธิภาพและคุณภาพที่จะเกิดในอนาคต เราอาจจะต้องมีการศึกษาเรื่องแผนการตลาดของแฟรนไชส์นั้นๆให้ลึกซึ้ง หากเป็นไปได้มีโอกาสได้พูดคุยกับเจ้าของแฟรนไชส์ด้วยตัวเองก็จะเป็นการดีที่จะทำให้เราสามารถสอบถามในข้อมูลต่างๆ ที่จะเป็นประโยชน์ใช้ในการตัดสินใจซื้อแฟรนไชส์มาลงทุนได้

5.ควรจะมีทำเลลงทุนที่ดีมากพอ

ทุกการลงทุนสำคัญคือทำเล ปัจจุบันเรื่องทำเลก็ดูจะเป็นปัญหาใหญ่ที่ทำให้หลายคนยังไม่กล้าเสี่ยงซื้อแฟรนไชส์ หลายคนแก้ปัญหาด้วยการซื้อชุดแฟรนไชส์ที่เป็นรถเข็น รถพ่วงข้าง เพื่อให้สามารถเคลื่อนที่เข้าไปหาลูกค้าในแหล่งชุมชนต่าง ๆได้ แต่อย่างไรก็ตาม หากเป็นไปได้เราก็คงอยากจะเลือกทำเลดีๆ ที่ให้ลูกค้าวิ่งเข้ามาหาเรามากกว่า

14

ซึ่งแต่ละแฟรนไชส์ก็มีระบบในการช่วยวิเคราะห์ทำเลว่าดีหรือไม่ดี บางแฟรนไชส์ก็มีการแนะนำทำเลให้กับผู้ลงทุน แต่เราก็ควรวิเคราะห์ต่อถึงรายจ่ายด้านค่าเช่า กับรายได้ที่ต้องให้สมเหตุสมผลกัน ให้คิดไว้เสมอว่าเราคือผู้ลงทุนเม็ดเงินทุกบาทเป็นของเราดังนั้นต้องชัดเจนว่าจะไม่ทำให้เราเดือดร้อนในภายหลัง

เชื่อได้ว่าหากมีโอกาสเราทุกคนก็อยากมีแฟรนไชส์เป็นของตัวเอง แต่ปัญหาสำคัญ ณ ตอนนี้อาจไม่ใช่เรื่องเงิน เพราะบางแฟรนไชส์ให้เราเริ่มต้นลงทุนด้วยเงินแค่หลักพัน แต่ปัญหาที่สำคัญคือไม่มีเวลา ไม่มีสถานที่ ด้วยเหตุนี้ก่อนคิดลงทุนกับแฟรนไชส์ก็ควรพิจารณาในทุกด้านในถี่ถ้วนจะทำให้เราได้ชื่อว่าเป็นผู้ลงทุนแฟรนไชส์ที่อยู่รอดปลอดภัยได้


SMEs Tips

  1. พื้นฐานของผู้ลงทุนในด้านอาชีพและความสนใจ
  2. สายป่านทางการเงินที่ดี
  3. การลงทุนคือความเสี่ยง ดังนั้นห้ามเพ้อฝันเด็ดขาด
  4. หาข้อมูลของแฟรนไชส์ที่ต้องการลงทุนให้ละเอียด
  5. ควรจะมีทำเลลงทุนที่ดีมากพอ

สำหรับท่านใดที่ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจเรามีรวบรวมบทความมากมาย ติดตามได้ที่ goo.gl/Io5k2S

 

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3nPr1WJ

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด