4 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนพฤศจิกายน 2564

ใกล้ปีใหม่เข้ามาทุกที พร้อมกับสถานการณ์แพร่ระบาดโควิดที่คลี่คลายมากขึ้น ตอนนี้มีการเปิดประเทศอย่างเป็นทางการเป็นที่เรียบร้อย www.ThaiSMEsCenter.com เชื่อว่าหลายคนเริ่มหันมาสนใจโฟกัสเรื่องการลงทุนมากขึ้น ซึ่งการลงทุนในระบบแฟรนไชส์คือทางลัดที่ช่วยให้เราประสบความสำเร็จได้เร็วที่สุด

ในเดือนพฤศจิกายน 2564 นี้ เรามีอีก 4 แฟรนไชส์มาใหม่ ที่เหมาะกับการเลือกลงทุน โดยแต่ละแฟรนไชส์มีประสบการณ์ มีสินค้าที่โดดเด่นน่าสนใจ รวมถึงมีการดูแลผู้ลงทุนเป็นอย่างดี หากเลือกลงทุนกับ 4 แฟรนไชส์มาใหม่ เหล่านี้การันตีได้ว่ามีโอกาสประสบความสำเร็จสูงมาก

1. ชิกกี้ ชิก

4 แฟรนไชส์มาใหม่

ภาพจาก แฟรนไชส์ ชิกกี้ ชิก

ชิกกี้ชิกเป็นแฟรนไชส์ไก่ทอดที่ก่อตั้งมานานกว่า 15 ปี มีเมนูของทานเล่นเช่นไก่ทอดและมันฝรั่งทอดรวมกว่า 17 รายการ เมนูน่าสนใจเช่น สไปซี่ ป๊อบ , ป๊อบ ป๊อบ , นักเก็ต , คาราเกะ , บาร์บีคิว วิง , สมายลี่ ฟรายส์ เป็นต้น ปัจจุบันมีสาขาทั่วประเทศกว่า 237 แห่ง มีแพคเกจการลงทุนให้เลือก 7 แบบ ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าที่มีพื้นที่แตกต่างกัน

ค่าแฟรนไชส์ในการลงทุน 5,000 บาท ใช้งบในการลงทุนประมาณ 45,000 – 150,000 บาท ขึ้นอยู่กับขนาดของร้าน สิ่งที่ได้รับคือโครงสร้างและการตกแต่งร้าน , อุปกรณ์พร้อมเปิดร้าน ,การฝึกอบรมก่อนเปิดร้าน , การส่งเสริมด้านการตลาด , การพัฒนาสินค้าใหม่ให้อย่างต่อเนื่อง เป็นแฟรนไชส์สินค้าขายง่ายขายดีมีกำไรประมาณ 55-60% จากยอดขาย สามารถคืนทุนได้ประมาณ 4-6 เดือนขึ้นอยู่กับทำเลในการเปิดร้านและกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจเป็นสำคัญด้วย

 ชิกกี้ ชิก

 

 

สนใจลงทุน แฟรนไชส์ คลิก
ชิกกี้ ชิก
โทร.085-9956242, 02-7218180

 


2. มายเซฟ

4 แฟรนไชส์มาใหม่

ภาพจาก แฟรนไชส์ มายเซฟ

เป็นแฟรนไชส์ร้านสารพัดบริการเน้นการสร้างรายได้ให้กับผู้เปิดแฟรนไชส์ไปพร้อมกับการเติบโตของ อี-คอมเมิร์ซ ไม่ว่าจะเป็นการรับส่งพัสดุกับขนส่งชั้นนำในไทย และบริการการเติมเงิน จ่ายบิลต่างๆ รวมทั้งบริการด้านการเงินครบวงจร

จุดเด่นของมายเซฟคือ ลงทุนน้อย ใช้พื้นที่ไม่มาก และ ยังสามารถเปิดธุรกิจเสริมไปกับธุรกิจหลักที่มีอยู่แล้วได้ เช่น ร้านกาแฟ, ร้านชำ หรือ เปิดธุรกิจใหม่ให้กับตัวเอง ปัจจุบันมีสาขา 5,386 แห่ง และยังมีสาขาในต่างประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย, สิงคโปร์, มาเลเซีย และเวียดนามอีกด้วย ค่าแฟรนไชส์ในการลงทุนเพียง 1,990 บาท โดยการลงทุน จะเป็นค่าสัญญาและค่าระบบหลังบ้านที่ใช้ในการดำเนินธุรกิจ เท่านั้น

สำหรับการตกแต่งหน้าร้าน ผู้เปิดแฟรนไชส์สามารถตกแต่งสาขาได้ด้วยตนเองโดยส่งรายละเอียดของสาขามาให้ทางทีม บริษัทจะทำการออกแบบหน้าร้านเพื่อให้ผุ้เปิดแฟรนไชส์สั่งผลิตและติดตั้งได้ด้วยตนเอง

 มายเซฟ

 

 

สนใจลงทุน แฟรนไชส์ คลิก
มายเซฟ
โทร.095-3729924

 


3. เยลสมาร์ทช็อป

4 แฟรนไชส์มาใหม่

ภาพจาก แฟรนไชส์ เยลสมาร์ทช็อป

เยลล์ (Yale) เป็นหนึ่งในแบรนด์สินค้าเพื่อรักษาความปลอดภัยโดยเน้นโซลูกชั่นของระบบการเปิด-ปิด ประตูอย่างครบวงจร ภายใต้การบริหารของบริษัท ASSA ABLOY ที่ก่อตั้งมานานกว่า 25 ปี ถือเป็นธุรกิจระดับโลกที่มีพนักงานรวมกว่า 49,000 คนใน 70 ประเทศทั่วโลก

ค่าแฟรนไชส์ในการลงทุนเพียง 10,000 บาท งบการลงทุนประมาณ 200,000 บาท สำหรับพื้นที่ 8 ตร.ม. ขึ้นไป แถมยังเป็นแฟรนไชส์ที่ไม่มีค่าธรรมเนียมรายปี โดยสิ่งที่ผู้ลงทุนจะได้รับคือ การฝึกอบรมพนักงาน , สินค้าตัวอย่างวางโชว์หน้าร้านและจอทีวีสำหรับประชาสัมพันธ์หน้าร้าน , สื่อการตลาดต่างๆ , การส่งเสริมด้านการตลาดให้กับผู้ลงทุน

โดยผู้สนใจลงทุนไม่จำเป็นต้องสต็อกสินค้า สามารถขายสินค้าได้ทั้งช่องทางออนไลน์และออฟไลน์ผ่านเว็บไซต์ของบริษัท โดยมีทีมงานจากบริษัทไปติดตั้งอุปกรณ์ให้กับลูกค้าอย่างมืออาชีพ ผู้ลงทุนมีส่วนแบ่งกำไรประมาณ 25% จากยอดขาย ถือว่าเป็นอีกหนึ่งแฟรนไชส์ที่น่าสนใจลงทุนมาก

 เยลสมาร์ทช็อป

 

 

สนใจลงทุน แฟรนไชส์ คลิก
เยลสมาร์ทช็อป
โทร. 094-6712999, 087-6685268, 02-7227371

 


4. จินตคณิตอันซัน

4 แฟรนไชส์มาใหม่

ภาพจาก แฟรนไชส์ จินตคณิตอันซัน

การลงทุนในธุรกิจการศึกษายังมีความน่าสนใจมาก โดยแฟรนไชส์จินตคณิตอันซัน เป็นแบรนด์เดียวนประเทศไทย ที่ใช้นิ้วมือในการบวก ลบ คูณ หารเลข แบบครบวงจร ทั้งการบวก การลบ การคูณ และการหาร โดยไม่ใช้อุปกรณ์ใดๆเพิ่ม จึงทำให้สามารถเรียนได้ทุกที่ ทุกเวลา ไม่จำเป็นต้องเรียนเฉพาะในห้องเรียนเท่านั้น

นอกจากนี้โปรแกรมการสอนของจินตคณิตอันซันยังช่วยให้ผู้เรียนมีสมาธิ มีความจำที่ดีขึ้น และยังช่วยฝึกทักษะกระบวนการฟัง การพูด การอ่านเขียน ให้ผู้เรียนมีความกระตือรือร้น พัฒนาผู้เรียนให้มีประสิทธิภาพได้มากขึ้น

ค่าแฟรนไชส์ในการลงทุน 100,000 บาท สามารถใช้อาคารพาณิชย์ บ้าน หรือ ศูนย์การค้าต่างๆก็ใช้เป็นสถานประกอบการได้ และเมื่อเปิดสาขาแล้ว จะไม่มีการเปิดสาขาใหม่ทับซ้อนในบริเวณใกล้กัน ปัจจุบันมีสาขาทั่วประเทศกว่า 57 แห่ง และยังเป็นแฟรนไชส์ที่ได้การรับรองมาตรฐานจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้าอีกด้วย

 จินตคณิตอันซัน

 

 

สนใจลงทุน แฟรนไชส์ คลิก
จินตคณิตอันซัน
โทร. 084-9502491, 052-031462

 


นอกเหนือจาก 4 แฟรนไชส์มาใหม่ และธุรกิจหลายอย่างที่น่าสนใจ ThaiFranchiseCenter.com ยังได้จัดหมวดหมู่แต่ละธุรกิจทั้งที่เป็นแฟรนไชส์ของไทยและต่างประเทศเพื่อนำเสนอแฟรนไชส์ที่เป็น New Arrival Franchise ให้ทุกท่านได้รับทราบอย่างต่อเนื่องทุกเดือนอีกด้วย

ดูรายละเอียดข้อมูลธุรกิจแฟรนไชส์มาใหม่ แบรนด์อื่นๆ ที่น่าสนใจได้ที่ https://bit.ly/3oVRbsy

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3oWft5I

อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise


8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์

1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์

  • กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
  • ชื่อกิจการ (Brand)
  • การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
  • การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
  • การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
  • การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
  • การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
  • การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
  • การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์

2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ

  • ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
  • ระบบการเงิน การบัญชี
  • งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
  • รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
  • ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ

3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
  • แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
  • สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
  • เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
  • มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
  • มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
  • ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี

4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์

  • กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
  • การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
  • สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
  • เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ

5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายแฟรนไชส์
  • ระบบการเงิน
  • ค่าธรรมเนียมต่างๆ
  • ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
  • การจดทะเบียนแฟรนไชส์
  • เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
  • ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
  • การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
  • แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
  • การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
  • การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า

6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น

7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
  • พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
  • ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
  • การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
  • เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
  • จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์

8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์

  • การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
  • กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
  • การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  • การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
  • การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
  • กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
  • กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี

สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด