3 วงจรปัญหารากเหง้าระบบแฟรนไชส์ไทย

คุณผู้อ่านรู้หรือไม่ว่า ธุรกิจในระบบแฟรนไชส์ในเมืองไทย ส่วนใหญ่แล้วจะอยู่ในระยะที่ 1 (เป็นช่วงระยะเริ่มต้นระบบธุรกิจแฟรนไชส์) และอยู่ในระยะที่ 2 (เป็นระยะของการสร้างระบบธุรกิจ ที่เกิดจากธุรกิจขนาดกลาง เข้ามาพัฒนาระบบแฟรนไชส์ เพื่อสร้างร้านจำหน่ายของตนขึ้นในตลาด) ซึ่งธุรกิจแฟรนไชส์เหล่านี้ เกิดง่าย ตายเร็ว

วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะขอนำเสนอปัญหาที่กำลังเกิดขึ้นกับระบบแฟรนไชส์ในเมืองไทย ซึ่งแตกต่างจากในต่างประเทศ โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา ที่ระบบธุรกิจแฟรนไชส์ส่วนใหญ่เป็นธุรกิจขนาดใหญ่ มีตราสินค้าที่แข็งแกร่ง และได้มีการพัฒนาระบบแฟรนไชส์ต่างๆ สู่ความเป็นสากลมาแล้ว มาดูพร้อมกันเลย ปัญหารากเหง้าของไทยอยู่ตรงไหน

1.การเริ่มต้นของธุรกิจเข้าสู่ระบบแฟรนไชส์ไม่ถูกต้อง

0

มาจากเจ้าของธุรกิจมีทัศนคติไม่ถูกต้องในเรื่องระบบแฟรนไชส์ การมีแนวคิดทางธุรกิจไม่ชัดเจน รวมถึงลักษณะของธุรกิจไม่เหมาะสมกับระบบแฟรนไชส์ และพื้นฐานทางธุรกิจไม่แข็งแรงพอ
อันเนื่องมาจาก การขาดการประเมินความพร้อม และความเหมาะสมของธุรกิจก่อนเข้าสู่ระบบแฟรนไชส์ อีกทั้งเจ้าของธุรกิจส่วนใหญ่นิยมทำตามคนอื่น โดยเห็นคนอื่นทำแฟรนไชส์แล้วดี จึงทำตาม ซึ่งรากเหง้าหลักของปัญหา ก็คือ “การขาดความรู้ความเข้าใจ” และ “การไม่มีวิสัยทัศน์ (Vision) ในการทำธุรกิจเชิงกลยุทธ์ในระยะยาว”

2. ระบบการบริหารจัดการไม่มีประสิทธิภาพ

1

โดยเฉพาะการจัดการตลาดไม่มีประสิทธิผล การบริหารงานสาขาบกพร่อง การจัดการแฟรนไชส์ซีไม่ดี และขาดความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศให้เป็นประโยชน์ และความสามารถทางทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งรากเหง้าหลักของปัญหาก็คือ “การขาดความรู้ความเข้าใจ” “การขาดการปฏิบัติ (Practice) และวิทยาการ (Know-how) ที่ดี” รวมถึง “การไม่มีการพัฒนาบุคลากรและทีมงาน” และ “การไม่มีวิสัยทัศน์ (Vision) ในการทำธุรกิจเชิงกลยุทธ์ในระยะยาว”

3. การแบบและวางระบบแฟรนไชส์ไม่เป็นระบบ

2

เจ้าของธุรกิจมีการออกแบบและวางระบบแฟรนไชส์ ขาดความละเอียดรอบคอบ และไม่ทีมงานที่จะประสานงานระหว่างผู้ขายกับผู้ซื้อ จึงทำให้ขาดการสื่อสารที่ชัดเจน ไม่สามารถถ่ายทอดถึงแนวคิดและการปฏิบัติที่ถูกต้องได้ ซึ่งรากเหง้าหลักของปัญหาก็คือ “การขาดความรู้ความเข้าใจ” “การขาดการปฏิบัติ (Practice) และวิทยาการ (Know-how) ที่ดี” รวมถึง “การไม่มีการพัฒนาบุคลากรและทีมงาน” และ “การไม่มีวิสัยทัศน์ (Vision) ในการทำธุรกิจเชิงกลยุทธ์ในระยะยาว”

4

สรุปก็คือ จากการวิเคราะห์วงจรปัญหาทั้ง 3 ข้างต้น ที่เป็นเหตุให้ธุรกิจแฟรนไชส์ไทยไม่เข้มแข็ง และสะท้อนให้เห็นได้จากการที่ธุรกิจแฟรนไชส์ไทยส่วนใหญ่ยังอยู่ในระยะที่ 1 (เป็นช่วงระยะเริ่มต้นระบบธุรกิจแฟรนไชส์) และ ระยะที่ 2 (เป็นระยะของการสร้างระบบธุรกิจ ที่เกิดจากธุรกิจขนาดกลางเข้ามาพัฒนาระบบแฟรนไชส์ เพื่อสร้างร้านจำหน่ายของตนขึ้นในตลาด) พบว่าวงจรทั้ง 3 มีความเกี่ยวพันและเชื่อมโยงรากเหง้าแห่งปัญหาถึงกัน สรุปได้ คือ

  1.  การขาดความรู้ ความเข้าใจด้านแฟรนไชส์
  2.  การขาดการปฏิบัติ (Practice) และวิทยาการ (Know-how) ด้านแฟรนไชส์
  3.  การขาดการพัฒนาทีมงานและบุคลากรเพื่อรองรับระบบแฟรนไชส์
  4. การไม่มีวิสัยทัศน์ (Vision) ในการทำธุรกิจเชิงกลยุทธ์ในระยะยาว

อ่านบทความอื่นๆ จากไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ http://www.thaifranchisecenter.com/home.php
สนใจซื้อแฟรนไชส์แบรนด์ดัง http://www.thaifranchisecenter.com/directory/index.php


SMEs Tip

  1. การเริ่มต้นของธุรกิจเข้าสู่ระบบแฟรนไชส์ไม่ถูกต้อง
  2. ระบบการบริหารจัดการไม่มีประสิทธิภาพ
  3. การแบบและวางระบบแฟรนไชส์ไม่เป็นระบบ

 

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3mMkmLx

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช