3 คำถาม! ถ้าตอบได้ขายอะไรก็รวย!

สมัยนี้คิดอะไรไม่ออก ไม่รู้จะทำอะไรส่วนใหญ่ตัดสินใจหาของมาขาย ไม่ว่าจะขายแบบเปิดหน้าร้าน ขายของออนไลน์ บางคนก็ขายดี บางคนก็ขายไม่ได้

เรื่องนี้ www.ThaiSMEsCenter.com มองว่าหลายคนมองข้ามขั้นตอนสำคัญ คนส่วนใหญ่โฟกัสแค่ว่าจะขายอะไรดี และพยายามสรรหาสินค้าที่คิดว่าดีและมั่นใจว่าจะขายดี

แต่ไม่เคยตั้งคำถามกับตัวเอง ว่า “ทำไมลูกค้าต้องซื้อ” , “ทำไมลูกค้าต้องซื้อจากเรา” และ “ทำไมลูกค้าต้องซื้อสินค้าของเราตอนนี้” แค่เพียง 3 คำถาม นี้เราเชื่ออย่างยิ่งว่าพ่อค้าแม่ค้าคนไหนตอบได้จะ ขายอะไรก็รวย รวย แน่นอน

1.ทำไมลูกค้าต้องซื้อ??

3 คำถาม

ถ้าเรามีสินค้าที่เราคิดว่าดี ที่เราคิดว่ามั่นใจ ถ้าเปิดตลาดออกไปต้องขายดีแน่ แต่ความจริงนั่นอาจจะเป็นแค่ความคิดของเราคนเดียว ตามทฤษฏีการขายคนส่วนใหญ่จะซื้อสินค้าใดๆ ก็เพราะเขารู้สึกพอใจ , เขารู้สึกว่าได้กำไร ลูกค้าจะซื้อของจากผู้ขายที่สามารถแก้ปัญหาให้กับลูกค้าได้ ในราคาที่ลูกค้าสามารถยอมรับได้ กลยุทธ์การขายและการตลาดที่ดีก็คือการเพิ่มปัจจัยที่ทำให้ลูกค้าอยากซื้อ และลดปัจจัยที่ลูกค้าไม่อยากซื้อให้มากที่สุด

ดังนั้นถ้าคิดจะขายของต้องตอบคำถามให้ได้ก่อนว่าสินค้าที่เรามีอยู่นี้ดีพอให้ลูกค้าซื้อหรือไม่?? หากมั่นใจว่าดีแน่ ให้โหมทำการตลาดหนักๆไปเลยเพื่อดึงให้คนรู้จักเรามากที่สุด

ซึ่งเรื่องนี้ Joe Girard ซึ่งเป็นสุดยอดนักขายอันดับต้นๆ ของโลก พูดถึง กฎ 250 (Rule of 250) ว่าทุกคนจะมีคนรู้จัก 250 คนในชีวิตของเรา อย่างแรกเราต้องพยายามหาทางนำเสนอกับคนกลุ่มนี้ให้ได้ ถ้าใครคนใดคนหนึ่งตกลงซื้อกับเรา ต้องคิดต่อทันทีว่าคนนั้นก็ต้องมีอีก 250 คนที่อยู่ในวงจรชีวิตของเค้าเช่นกัน ซึ่งเราสามารถให้เค้าช่วยแนะนำหรือบอกต่อได้อีก

2.ทำไมลูกค้าต้องซื้อจากเรา??

51

ถ้าเราตอบคำถามได้ว่า “ทำไมลูกค้าต้องซื้อ” ก็มาถึงอีกคำถามที่สำคัญกว่าคือ “ทำไมต้องซื้อสินค้าจากเรา” เพราะทุกวันนี้คู่แข่งทางการค้ามีเยอะมาก สินค้าแบบเดียวกัน ชนิดเดียวกัน ลูกค้ามีสิทธิ์ที่จะเลือกซื้อสินค้าจากที่ไหนก็ได้ ทำไมเขาจะต้องมาซื้อสินค้าชนิดนี้กับเรา สิ่งที่ซ่อนเร้นในคำถามนี้ แสดงให้เห็นว่า “ลูกค้าต้องการความมั่นใจ” เพราะตามหลักจิตวิทยาแล้ว คนเราต้องการสิ่งที่ดีที่สุดให้ตัวเอง

กลยุทธ์การพูดการขายต่าง ๆ ไม่ว่าจะการอธิบายถึงคุณสมบัติ , อธิบายข้อดีข้อเสีย , พูดถึงสิทธิประโยชน์ที่ลูกค้าจะได้รับ , การยกสินค้าของเราไปเปรียบกับคู่แข่ง หรือแม้แต่การพูดให้ลูกค้าเชื่อใจว่าสินค้าของเรานั้นดีที่สุด ล้วนแต่เป็น แนวทางการสร้างความพึงพอใจให้ลูกค้า ซึ่งก่อนที่เราจะไปถึงวิธีเหล่านี้ได้ตัวเราเองต่างหากที่ต้องถามและตอบให้ได้ ว่าถ้าเราเป็นลูกค้าเราจะเลือกซื้อสินค้าแบบนี้จากที่ไหน ทำไม และเพราะเหตุใด

อย่างไรก็ดีการตอบคำถามให้ตัวเองต้องมีความเป็นกลาง อ้างอิงจากข้อเท็จจริง ไม่ใช่การตอบแบบเข้าข้างตัวเอง เช่น ถ้าเราเปิดร้านอาหาร ซึ่งโดยรอบก็มีคู่แข่งมากมาย แต่จุดเด่นที่ตอบคำถามได้ว่าลูกค้าต้องมาซื้อสินค้าจากเรา เพราะของเราเป็นเมนูสุขภาพ ราคาไม่แพง ร้านเราบรรยากาศดี มีบริการที่ดี เหล่านี้ เป็นต้น

3.ทำไมลูกค้าต้องซื้อตอนนี้??

50

บางครั้งสินค้าเราอาจดีจริง ลูกค้าอาจอยากได้จริง แต่ถ้าลูกค้าคิดว่าสินค้าที่เราขายยังไมสำคัญ ส่วนใหญ่เขาก็มักจะไม่ตัดสินใจซื้อในทันที คำถามว่าทำไมลูกค้าต้องซื้อตอนนี้ เป็นการถามตัวเองเพื่อนำไปสู่การเลือกกลุ่มเป้าหมายได้อย่างถูกต้อง

ยกตัวอย่างให้เห็นภาพ เช่น Apple ออกสินค้ารุ่นใหม่เมื่อไหร่ก็ตามทำไมคนต้องไปแห่ซื้อ ทั้งที่รออีกหน่อยก็ได้ แต่ที่คนส่วนใหญ่ไม่รอ “ต้องซื้อตอนนี้” เพราะจะได้ไม่ตกเทรนด์ ได้ชื่อว่าเป็นผู้นำแฟชั่น

นั่นคือการตอบคำถามที่ชัดเจนของสินค้าว่าทำไม “ต้องซื้อตอนนี้” หรือยกตัวอย่างที่ใกล้ตัวสักหน่อย บรรดาบริษัทประกันทั้งหลาย จะแสดงข้อเท็จจริงให้ลูกค้าทราบว่า การซื้อประกันมีประโยชน์ในระยะยาวอย่างไร เพื่อลบความกังวลที่เชื่อว่า คนซื้อไม่ได้ใช้ คนใช้ไม่ได้ซื้อ

โดยจะพูดให้ลูกค้ามองเห็นถึงปัญหาที่ควรมีประกันสัก 1 ฉบับจะได้เป็นหลักประกันทั้งสุขภาพและชีวิตในอนาคต ซึ่งสินค้าใดๆก็ตาม ต้องมีคำตอบให้ลูกค้าว่าทำไมควรซื้อตอนนี้ แม้ว่าบางทีเราอาจจะเป็นร้านริมทาง หรือขายของออนไลน์ทั่วไป แต่ถ้าแสดงเหตุผลให้ลูกค้าตระหนักถึงความเร่งด่วนที่ต้องมีสินค้านี้ ก็จะทำให้เรามีโอกาสในการขายได้เพิ่มมากขึ้น

อย่างไรก็ดีความกังวลใจของลูกค้าก่อนซื้อสินค้าใดๆ ก็ตามมักมีคำถามในใจเสมอ เช่น ฉันต้องการมันจริงหรือ? , จะมีที่อื่นที่ถูกกว่าหรือเปล่า? แต่เมื่อใดก็ตามที่ลูกค้ามั่นใจว่าสินค้านี้ดีแน่ ใช่แน่ และที่แห่งนี้คือแหล่งสินค้าที่ดีที่สุดเขาจะไม่ลังเลในการจ่ายเงินซื้อสินค้า ซึ่งกว่าจะถึงจุดนี้ได้ก็ขึ้นอยู่กับตัวพ่อค้าแม่ค้าว่าจะสร้างความมั่นใจให้ลูกค้าได้มากน้อยแค่ไหน

ขอบคุณข้อมูล https://bit.ly/2ZPB8UD , https://bit.ly/3nNDBqG , https://bit.ly/3pZ3O8u , https://bit.ly/2Y50FrY

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3BHvCjO

อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise


8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์

1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์

  • กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
  • ชื่อกิจการ (Brand)
  • การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
  • การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
  • การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
  • การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
  • การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
  • การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
  • การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์

2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ

  • ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
  • ระบบการเงิน การบัญชี
  • งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
  • รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
  • ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ

3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
  • แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
  • สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
  • เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
  • มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
  • มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
  • ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี

4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์

  • กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
  • การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
  • สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
  • เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ

5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายแฟรนไชส์
  • ระบบการเงิน
  • ค่าธรรมเนียมต่างๆ
  • ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
  • การจดทะเบียนแฟรนไชส์
  • เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
  • ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
  • การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
  • แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
  • การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
  • การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า

6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น

7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
  • พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
  • ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
  • การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
  • เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
  • จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์

8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์

  • การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
  • กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
  • การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  • การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
  • การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
  • กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
  • กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี

สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

 

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด