3 ข้อคิด Marketing online จากคลิปไวรัล DMKT

Digital Marketing เป็นการตลาดในธุรกิจยุคใหม่ที่กำลังตื่นตัวและเติบโต หากย้อนกลับไปเมื่อสัก 10-15 ปีก่อน กับการเข้ามาของเทคโนโลยีและโซเชียลมีเดีย ซึ่งยังคงเป็นเรื่องใหม่สำหรับหลายๆ คน

แต่ปัจจุบันธุรกิจทุกแขนงแม้แต่องค์กรของภาครัฐเองก็เห็นคุณค่าในตลาดดิจิตอลเพิ่มมากขึ้น ก่อให้เกิดธุรกิจการทำสื่อออนไลน์ที่มีการพัฒนาความรู้เทคโนโลยีให้ก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำด้านนี้โดยเร็วที่สุด

แต่อย่างไรก็ตามความสับสนในการใช้ดิจิตอลมาเก็ตติ้งนั้นก็ยังมีความสับสนในตัวเองอยู่ไม่น้อย หลายคนใช้การตลาดแนวนี้แต่พบว่าไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่คิด จึงเกิดคำถามว่าสาเหตุที่แท้จริงนั้นเป็นเพราะอะไรในครั้งนี้นั้น

www.ThaiSMEsCenter.com ในฐานะที่เป็นเว็บไซต์ทางธุรกิจเช่นกันได้นำข้อคิดจากคลิปไวรัล DMKT ที่ถูกจัดทำขึ้นมาเพื่อบอกเล่าการทำตลาดยุคดิจิตอลได้อย่างเห็นภาพว่าประมวลเป็น 3 ข้อคิดที่จำเป็นต้องทำเพื่อให้การตลาดในโลกดิจิตอลได้ผลคุ้มค่ามากที่สุด

DMKT คลิปไวรัลจาก Fame Line Agency

Marketing online

คลิปนี้จัดทำโดย Fame Line Agency แม้ว่าเป้าหมายส่วนหนึ่งจะเป็นการประชาสัมพันธ์ตัวเอง แต่เนื้อหาที่คลิปสื่อนั้นสามารถถ่ายทอดแง่มุมการทำงาน Digital Marketing ได้อย่างดีทีเดียว ไม่ว่าจะเป็น การสร้างแบรนด์ที่จะต้องแม่นเรื่องกลุ่มเป้าหมาย หรือการที่มียอดไลค์บน Facebook มากมายแต่ไม่สามารถต่อยอดอะไรได้เลย

และโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเรียกความสนใจคนดูต้องเอาให้อยู่ภายใน 5 วินาที ไม่งั้นโดน skip skip skip …#DMKT ซึ่งทั้งหมดต่างเป็นความท้าทายที่เอเจนซี่ส่วนใหญ่จะต้องทำให้ได้ เรียกได้ว่า ตีแผ่วงการ Digital Marketing ได้อย่างตรงประเด็น

และทำออกมาได้อรรถรสทีเดียว และสิ่งสำคัญหลังจากดูคลิปความยาว 2 นาทีนี้จบก็ทำให้เราพบมุมมองสำคัญในการทำตลาดดิจิตอลอย่างไรให้ได้ผลดีที่สุด

1.การสร้างแบรนด์ที่จะต้องแม่นเรื่องกลุ่มเป้าหมาย

nn32

กลุ่มเป้าหมายในข้อนี้ ก็คือ คนๆ เดียวกับกลุ่มเป้าหมายที่ได้ออกแบบและกำหนดไว้ในขั้นตอนการ Planning โดยขั้นตอนนี้ ต้องค้นหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มเป้าหมายในด้านสำคัญต่างๆ ซึ่งขึ้นอยู่กับว่าเรากำลังทำสินค้าหรือว่าธุรกิจบริการอย่างใดอยู่ เมื่อรู้ตัวสินค้ารู้ข้อมูลของธุรกิจตัวเองก็ต้องสร้างเรื่องราวมาตอบโจทย์ให้ผู้บริโภคที่เป็นกลุ่มเป้าหมายสนใจ

ซึ่งมีวิธีการมากมายโดยเหล่าเอเยนซี่ที่ทำธุรกิจด้านนี้หากมีความเป็นมืออาชีพแท้จริงจะช่วยแนะนำและสร้างคอนเทนต์ที่น่าสนใจได้เป็นอย่างมาก วิธีการนำเสนอให้กลุ่มเป้าหมายเกิดความสนใจนั้นทำได้หลากหลาย

โดยเฉพาะการใช้เหล่า influencer มาช่วยในการนำเสนอก็ทำให้คนสนใจสินค้าเราได้มากขึ้น หรือการสร้างคอนเทนต์ที่แปลกและแตกต่างก็ทำให้คนสนใจได้ดีเหล่านี้ขึ้นอยู่กับความคิดสร้างสรรค์และฝีมือทางการตลาดของเอเยนซี่เป็นหลักด้วย

2.การต่อยอดคนกดไลน์ กดแชร์ บนโซเชี่ยล

nn33

ในคลิปเองก็มีการพูดถึงเรื่องของยอดไลน์ หรือการกดแชร์ที่มีจำนวนมากแต่ดูเหมือนว่าตัวเลขในเชิงปริมาณเหล่านั้นจะไม่มีประโยชน์อันใดหากไม่สามารถต่อยอดให้ตัวเลขกดไลน์กดแชร์กลายเป็นยอดขายที่ดีขึ้นมาได้

การที่จะทำให้ยอดไลน์ยอดแชร์นั้นกลายเป็นตัวเลขที่มีมูลค่าก็ขึ้นอยู่กับการเลือกใช้เครื่องมือในโซเชี่ยลให้เกิดประโยชน์รวมถึงการดูแลและติดตามฐานคนที่สนใจโดยห้ามปล่อยปละละเลยอย่างเด็ดขาด

ตัวอย่างเช่น Pomelo แบรนด์เสื้อผ้าสตรีแนวเกาหลี ที่เริ่มสร้างธุรกิจด้วยการทำแฟนเพจบนเฟสบุ๊ค โดยทุ่มงบประมาณการตลาดไปที่ส่วนนี้กว่า 75 % โดย Pomelo มั่นใจในข้อดีคือสามารถเลือกกลุ่มเป้าหมายของโฆษณาได้

เช่น ถ้ามีสินค้าที่เหมาะกับเชิ้ตสีขาวก็ระบุได้ว่าให้โฆษณาไปถึงกลุ่มที่กดไลก์ เสื้อเชิ้ตสีขาวได้ ซึ่งการวางโฆษณาแบบนี้ช่วยเพิ่มยอดขายได้มากขึ้น 3-4 เท่า1 ปีหลังเปิดเพจ Pomelo มี 190,000 ไลก์ และปัจจุบันก็กำลังขยายธุรกิจไปจับกลุ่มลูกค้าสิงคโปร์ ถือเป็นธุรกิจหนึ่งที่ประสบความสำเร็จในการใช้เฟซบุ๊กได้เป็นอย่างดีทีเดียว

3.การเรียกความสนใจคนดูต้องเอาให้อยู่ภายใน 5 วินาทีไม่งั้นโดน skip

nn34

แต่หากเป็น agency หรือนักการตลาดที่เข้าใจผู้บริโภคแล้ว จะเข้าใจว่าการทำคลิปที่ดี นั้นเป็นวิทยาศาสตร์และศิลปะที่เข้ากันอย่างดี การเข้าใจว่ากลุ่มเป้าหมายคือใคร และอยากฟังเรื่องราวอะไรจากสินค้าที่จะขายหรือแบรนด์ที่จะโปรโมท ให้พอดีกับสิ่งที่แบรนด์อยากบอกนั้นสำคัญ การเข้าใจเรื่องจิตวิทยาของคนดูว่าชอบอะไร ไม่ชอบอะไร

และอยากเห็นอะไรนั้นคือเรื่องที่ต้องทำการบ้านก่อนที่จะลงมือนำเสนอแผน Concept board และ Storyboard ต่อไปกับลูกค้า วิธีการน่าสนใจที่ Google ได้ทดลองทำจาก Youtube 16 ประเทศใน 11 หมวดสินค้า

สรุปได้ว่าการทำคลิปที่น่าสนใจต้องให้คนอยากดูและติดตามไปจนถึงวินาทีที่ 6 ซึ่งสำคัญที่รูปแบบและก็มีเทคนิคมากมายที่ใช้ได้ทั้งการใช้คอนเทนต์ เสียงเพลง หรือว่าลูกเล่นใดๆก็ตามขึ้นอยู่กับความสามารถของเหล่าเอเยนซี่ที่ต้องทำเรื่องนี้ให้ได้ผลและคนติดใจภายใน 5 วินาที

เครื่องมือการตลาดอย่างโซเชี่ยลนับวันจะยิ่งมีประโยชน์มากขึ้นแต่ผู้ประกอบการเองก็ต้องรู้จักเลือกใช้ให้เหมาะสม ลำพังการลงภาพใส่ข้อความให้คนกดไลน์กดแชร์แล้วรอให้คนสั่งซื้อสินค้าดูจะเป็นความคิดที่ผิดจำเป็นต้องมีกระบวนการที่สามารถเชื่อมต่อสิ่งเหล่านั้นให้เกิดขึ้นได้ หากเราเข้าใจและปฏิบัติได้ดีก็เท่ากับเป็นการใช้เครื่องมือได้อย่างถูกต้องและทำให้เราเพิ่มยอดขายได้ดีเกินกว่าที่คาดคิดไว้อย่างแน่นอน


SMEs Tips (วิธีทำตลาดออนไลน์เพิ่มยอดขายได้มากขึ้น)

  • หาจุดเด่นในธุรกิจตัวเองพร้อมสร้างคอนเทนต์ที่น่าสนใจ
  • เลือกสื่อออนไลน์ที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายสินค้าเราได้มากที่สุด
  • ศึกษาเครื่องมือดิจิตอลที่เสริมประสิทธิภาพให้คนรู้จักสินค้าเรามากขึ้น
  • พัฒนารูปแบบด้วยความคิดสร้างสรรค์ดันยอดขายได้อย่างดี

ทั้งนี้หากกำลังสนใจเรื่องการทำตลาดในโลกดิจิตอลแต่ยังมองหาช่องทางดีๆไม่เจอหรือไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นแบบไหนอย่างไรเรามีรวบรวบบทความทางธุรกิจไว้หลากหลายเรื่องราว เลือกดูได้ตามความเหมาะสม ดูรายละเอียดที่ goo.gl/uvkxye

ขอบคุณรูปภาพจากคลิป goo.gl/Hmyzw7

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise


8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์

1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์

  • กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
  • ชื่อกิจการ (Brand)
  • การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
  • การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
  • การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
  • การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
  • การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
  • การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
  • การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์

2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ

  • ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
  • ระบบการเงิน การบัญชี
  • งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
  • รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
  • ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ

3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
  • แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
  • สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
  • เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
  • มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
  • มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
  • ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี

4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์

  • กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
  • การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
  • สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
  • เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ

5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายแฟรนไชส์
  • ระบบการเงิน
  • ค่าธรรมเนียมต่างๆ
  • ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
  • การจดทะเบียนแฟรนไชส์
  • เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
  • ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
  • การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
  • แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
  • การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
  • การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า

6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น

7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
  • พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
  • ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
  • การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
  • เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
  • จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์

8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์

  • การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
  • กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
  • การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  • การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
  • การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
  • กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
  • กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี

สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด