3 เปลี่ยน! สื่อสิ่งพิมพ์ในยุคดิจิตอล
ในโลกยุคใหม่เราอาจไม่รู้สึกถึงการเปลี่ยนแปลงเนื่องจากการรับเอา เทคโนโลยี เข้ามานั้นค่อยๆแทรกซึมมาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันจนบางครั้งทำให้เราลืมนึกถึงสิ่งที่เราเคยทำในอดีตโดยเฉพาะกับนิตยสารและสื่อสิ่งพิมพ์ ต่างได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงนี้อย่างชัดเจน
www.ThaiSMEsCenter.com แม้จะเป็นสื่อด้านดิจิตอลแต่ก็มองเห็นความสำคัญของสื่อสิ่งพิมพ์ที่ทรงคุณค่าจึงสะท้อนมุมองและบอกถึงทางเลือกน่าสนใจที่สิ่งพิมพ์ในโลกยุคดิจิตอลควรปรับตัวเพื่อสอดรับกับกระแสการเปลี่ยนแปลงนี้ให้มากขึ้น
การเปลี่ยนแปลงสื่อสิ่งพิมพ์หลังการเข้ามาของยุคดิจิตอล
ภาพจาก goo.gl/v7JTgt
ปี 2558 ถือเป็นจุดเริ่มที่อุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์ไทยเข้าขั้นวิกฤติอย่างแท้จริง ทั้งจากพฤติกรรมผู้อ่านที่เลิกพลิกอ่านข้อมูลบนหน้ากระดาษหันมาสไลด์จอดูสิ่งที่สนใจผ่านโลกออนไลน์
และจากภาวะเศรษฐกิจโดยรวมที่ทรุดตัวพร้อมกันทั่วโลก ส่งผลกระทบเงินโฆษณาซึ่งเป็น “ท่อน้ำเลี้ยงหลัก” ของธุรกิจสิ่งพิมพ์หลายๆ แขนง ทำให้นิตยสารจำนวนหนึ่งต้องประกาศปิดตัวลง
หลังเม็ดเงินโฆษณาในช่วง 10 ปีหลังลดลงถึงกว่า 1 ใน 3 ขณะที่หนังสือพิมพ์แม้จะยังเปิดดำเนินการได้แต่ก็มีมาตรการรัดเข็มขัดด้วยการประกาศไม่รับคนเพิ่ม
แน่นอนว่าผลกระทบนี้เกี่ยวเนื่องกันเป็นลูกโซ่ตั้งแต่สายส่ง ร้านหนังสือ สำนักพิมพ์ ฯลฯ ไปจนถึงตัวนักเขียนเองด้วยและถ้าเราติดตามข่าวสารกันมาตั้งแต่ต้นปีจะพบว่าในปี 2559 มีนิตยสารหลายฉบับในเมืองไทยทยอยปิดตัวกันอย่างต่อเนื่องที่ยังพออยู่รอดได้ก็ต้องมีมาตรการในการรัดเข็มขัดหรือว่าปรับตัวกันขนานใหญ่ทีเดียว
รายชื่อสื่อสิ่งพิมพ์ที่ต้องปิดตัวในปี 2559
- นิตยสารพลอยแกมเพชร ที่วางแผงมานานกว่า 25 ปี โดยฉบับสุดท้ายคือฉบับที่ 598 วางแผง 16 ธันวาคม 2559
- นิตยสารสกุลไทยรายสัปดาห์ ที่อยู่คู่คนไทยมากว่า 61 ปี วางแผงฉบับสุดท้ายคือวันที่ 31 ตุลาคม 2559
- นิตยสารเปรียว ที่อยู่คู่คนไทยมานานกว่า 35 ปี ตีพิมพ์ฉบับสุดท้ายในเดือนธันวาคม 2559
- นิตยสารเกม Play ที่ประกาศยุติการพิมพ์มาตั้งแต่ต้นปี 2559 โดยมีเป้าหมายมุ่งหน้าสู่โลกดิจิตอลเต็มตัว
- การ์ตูนรายสัปดาห์อย่าง Boom และ C-Kid จากสำนักพิมพ์วิบูลย์กิจ ปิดตัวอย่างถาวรเพราะคนหันไปอ่านออนไลน์
- นิตยสาร Cosmopolitan Thailand นิตยสารหัวนอกสัญชาติอเมริกันฉบับภาษาไทยที่มีอายุยาวนานเกือบ 20 ปี ปิดตัวลงเมื่อเมษายน 2559
- นิตยสารแนววัยรุ่น Candy ของค่ายโมโน กรุ๊ป ตีพิมพ์ฉบับสุดท้ายเมื่อเดือนมกราคม 2559
- นิตยสารแฟชั่น Volume จากค่ายของโมโน กรุ๊ป เช่นกัน ตีพิมพ์ฉบับสุดท้ายเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2559
ส่วนสื่อสิ่งพิมพ์รายใหญ่ระดับประเทศอีกจำนวนหนึ่งก็ใช่ว่าจะไม่ได้รับผลกระทบจากปัญหาใหญ่ครั้งนี้โดยบริษัท เดอะนีลเส็นคอมปะนี (ประเทศไทย) จำกัด ได้เปิดเผยว่าเม็ดเงินโฆษณาในธุรกิจสิ่งพิมพ์ลดลงอย่างมาก
โดยหนังสือพิมพ์ลดลงกว่า6.45% ส่วนนิตยสารหนักกว่า ลดลงถึง 14.28% แน่นอนบริษัทรายใหญ่ในวงการนี้เช่น บริษัท โพสต์ พับลิชชิ่ง จำกัด , บริษัท มติชน จำกัด (มหาชน) , บริษัท สยามสปอร์ต ซินดิเคท จำกัด (มหาชน) ต่างก็เจอมรสุมกันไปเต็มๆ ทุกบริษัทมีตัวเลขขาดทุนสะสมกันไม่ต่ำกว่า 10 ล้านบาทเลยทีเดียว
มองกลยุทธ์สื่อสิ่งพิมพ์ต่างชาติปรับตัวอย่างไรในยุคดิจิตอล
ภาพจาก goo.gl/jNxVBZ
แม้ว่าสื่อในบ้านเราเรียกว่าแตกกระเจิงกันไปไม่ใช่น้อยมุมกลับกันในสื่อสิ่งพิมพ์ต่างประเทศที่ถือว่าโลกดิจิตอลเข้ามามีบทบาทไม่แพ้ในประเทศไทยแต่สื่อสิ่งพิมพ์กลับยังอยู่รอดได้ซึ่งกลยุทธ์สำคัญ 3 ประการที่ควรเรียนรู้ไว้และน่าจะนำมาปรับใช้ในบ้านเราได้คือ
1.สร้าง Content ที่น่าสนใจและไม่สามารถหาอ่านได้ที่ไหนขึ้นมา
ภาพจาก goo.gl/FfCMsM
อย่าง The Guardian ซึ่งมีผู้อ่านไม่ต่ำกว่า 300,000 คน/สัปดาห์ โดย Content ของ The Guardian คือเมนูดึงดูดที่ทำให้คนอังกฤษรู้สึกว่าสิ่งเหล่านี้ไม่มีในสื่อดิจิตอลไม่ว่าจะเป็นบทวิเคราะห์ที่เจาะลึกแบบเห็นภาพ มีการกลั่นกรองก่อนนำเสนอ
รวมถึงการนำเสนอที่เข้าใจได้ง่าย และมีการตีพิมพ์รูปภาพที่บางครั้งสามารถตัดเก็บไว้ได้เป็นอย่างดี รวมไปถึงหนังสือพิมพ์อย่าง The Sun ที่เรียกว่าเป็นวาไรตี้แห่งการนำเสนอและเกาะติดสถานการณ์ยิ่งกว่าสื่อดิจิตอล ทำให้คนมองหาการอัพเดทข่าวสารต่างรอคอยจะอ่านความจริงในหนังสือพิมพ์มากกว่าจะเสพข่าวจากสื่อดิจิตอล
2.มองโมเดลใหม่ๆในการขายสื่อโฆษณา
ภาพจาก goo.gl/rydJ1h
การปรับตัวเรื่องนี้สำคัญมากสื่อสิ่งพิมพ์ในอังกฤษทำให้เห็นเป็นตัวอย่างว่าการเปลี่ยนแปลงแบบถูกทางสร้างให้ธุรกิจเดินหน้าแบบไม่มีสะดุดโดยเฉพาะการเพิ่มรูปแบบใหม่ให้กับเหล่าสปอร์นเซอร์สนใจมาเลือกลงโฆษณษ โดย
ที่ The Gurdian เองก็มีรูปแบบโฆษณาแบบใหม่ที่เรียกว่า ‘barndoor format’ ที่จะเป็นหน้าที่เชื่อมไปก่อนสู่หนัาแรกของหนังสือพิมพ์ ซึ่งสามารถสร้างกระแสและหลาย ๆ แบรนด์ก็ซื้อแล้วได้ผลดี เช่นเป็น Heineken หรือใน The Sun เองก็มี รูปแบบ ใหม่ ๆ เช่นการขายโฆษณาที่สามารถกางออกมาเป็นขนาด Poster 6 แผ่นได้
ซึ่งจะเหมาะกับแบรนด์ที่อยากจะประกาศความยิ่งใหญ่ของตัวแบรนด์หรือโฆษณาอีเว้นท์ใหญ่ ๆ ได้ นอกจากนี้ยังมีรูปแบบเป็นโปร่งใส ที่สามารถให้แบรนด์มาซื้อได้อย่างเช่น Oreo เป็นต้น
3.ร่วมมือสร้างสัมพันกับสื่อดิจิตอล
ภาพจาก goo.gl/i3TcY9
ที่อังกฤษเองนั้นมีข้อมูลว่าการส่งเสริมภาพลักษณ์เพื่อให้ได้ประโยชน์ทั้งสื่อสิ่งพิมพ์และดิจิตอลนั้นมีความสำคัญมาก หลายอย่างที่ดิจิตอลทำไม่ได้และจุดแข็งของดิจิตอลหลายอย่างที่สื่อสิ่งพิมพ์ควรยึดไว้เพื่อให้ทำงานร่วมกันโดยพบว่าถ้าทั้งสื่อดิจิตอลและสิ่งพิมพ์ส่งเสริมกันและกันได้ประสิทธิภาพในการนำเสนอจะเพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่า
ในประเทศเยอรมันนีเองก็พบว่าสิ่งพิมพ์นั้นมีความสำคัญอย่างมาก เพราะ Print นั้นสามารถทำให้เข้าถึงกลุ่มคนใหญ่ที่มีปฏิสัมพันธ์อย่างมาก ในช่วงเวลาที่ต้องการ นอกจากนี้การใช้เวลากับสื่อสิ่งพิมพ์นั้นยังเป็นการใช้เวลาที่คุณภาพมากกว่าสื่ออื่น ๆ ที่ขาดความตั้งใจในเรื่องการนำเสนอเหล่านี้
การเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นอยู่เสมอเป็นหน้าที่ของธุรกิจเองที่จำเป็นต้องเดินตามกระแสเหล่านั้นให้ทัน การเรียนรู้จุดแข็งตัวเองและเสริมในจุดที่ตัวเองด้อย
พร้อมกับมองหาช่องทางใหม่ๆ น่าจะเป็นกลยุทธ์ที่ดีสำหรับการประคองตัวให้อยู่รอดปลอดภัยในเวทีธุรกิจยุคใหม่ สิ่งสำคัญคือห้ามหยุดเรียนรู้ และต้องกระตือรือร้นหาช่องทางรายได้ใหม่ๆอยู่เสมอๆ ทั้งนี้เพื่อผลประโยชน์ในการทำธุรกิจของตัวเองโดยเฉพาะ