3 เทคนิคซื้อแฟรนไชส์ให้ปัง ให้รวย!

หลายคน อาจจะคิดอยากทำธุรกิจเป็นของตัวเองหรือไม่ก็อาจจะอยากเริ่มต้นมีร้านเป็นของตัวเองง่ายๆ ด้วยการซื้อแฟรนไชส์ แต่ถึงแม้ว่าการซื้อแฟรนไชส์จะง่ายกว่าการตั้งแบรนด์เอง

มันก็ยังมีความเสี่ยงอยู่เช่นกันหากเจอเจ้าของแฟรนไชส์ที่ไม่ดี หรือบริหารจัดการไม่ดี ดังนั้นแล้ว นี่คือ 3 ปัจจัยที่คุณควรพิจารณาหากอยากซื้อแฟรนไชส์และไปได้ด้วยดี

เลือกเจ้าของแฟรนไชส์ที่ดี

หลายคน

Darrell Johnson
ภาพจาก bit.ly/2MR93TI

นักวิเคราะห์ได้แนะนำว่าคุณควรดูให้ดีซะก่อนว่าธุรกิจนั้นๆ กำลังเติบโตอยู่หรือไม่ แต่ถึงแม้ว่าเศรษฐกิจจะอยู่ในช่วงขาขึ้น ก็ไม่ได้หมายความว่าทุกแฟรนไชส์จะเติบโต โดยแฟรนไชส์นั้นมีความเหมือนกับระบบเศรษฐกิจตรงที่ว่ามันมีวงจร มีทั้งขาขึ้นและขาลง โดยผู้ที่จะซื้อแฟรนไชส์ควรศึกษาดูรายละเอียดของแฟรนไชส์นั้นๆ ดูให้ดีโดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านของผลตอบแทน

และอีกประการหนึ่งที่สำคัญที่ควรพิจารณาก็คือ การสร้างแบรนด์ของแฟรนไชส์นั้นๆ มีประสิทธิภาพมากน้อยแค่ไหน โดย ดาร์เรล จอห์นสัน ผู้บริหารบริษัท FRANdata ได้กล่าวเปรียบเทียบธุรกิจแฟรนไชส์ว่ามันเหมือนเวลาไปหาหมอ โดยในเวลาที่คุณเจ็บป่วยสิ่งที่คุณนึกถึงคือโรงพยาบาลหรือแผนกในโรงพยาบาลที่คุณต้องการจะเข้ารับการรักษา และอาจไม่ได้จดจำชื่อของแพทย์เป็นรายคนโดยตรง

แฟรนไชส์ก็เช่นเดียวกัน ผู้คนส่วนมากจดจำเกี่ยวกับประเภทของแฟรนไชส์ก่อนที่จะนึกชื่อของแบรนด์แฟรนไชส์ และแน่นอนว่าการจะขายดีได้ ทางแบรนด์แฟรนไชส์ก็ต้องมีการโปรโมท และสร้างแบรนด์ให้ผู้บริโภคได้รู้จักแฟรนไชส์แบรนด์นั้นๆ ดังนั้นแล้ว การสร้างแบรนด์เพื่อให้เป็นที่รู้จักในหมู่ผู้บริโภคจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ควรจะพิจารณาเพราะมันมีผลต่อยอดขายและผลกำไรที่ผู้ซื้อแฟรนไชส์จะได้รับโดยตรง

แฟรนไชส์นั้นมีการพัฒนาและมีความเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง

5

John Carter CEO “Vonigo”
ภาพจาก bit.ly/2MTt8J5

จอห์น คาร์เตอร์ CEO ของบริษัทซอฟท์แวร์ “Vonigo” ได้กล่าวไว้ว่าแฟรนไชส์ที่ประสบความสำเร็จนั้นส่วนหนึ่งคือการรู้จักนำเอาเทคโนโลยีมาใช้และมีระบบการทำงานที่สามารถทำให้ลูกค้ากลับมาใช้บริการอีกได้

4

ซอฟท์แวร์ Vonigo
ภาพจาก bit.ly/2NnAeV0

“มันมีความแตกต่างอยู่ในเล็กในทางเทคนิค ระหว่างคนที่มีความสามารถไปเฉพาะด้าน กับคนที่มีความสามารถในการดำเนินธุรกิจ” เขากล่าว “คนที่มีความเคลื่อนไหวที่ดีอาจไม่ได้หมายความว่าเขาจะสามารถทำให้แฟรนไชส์ของเขามีความเคลื่อนไหวที่ดีได้”

และในทางที่ดี ก่อนที่จะเริ่มซื้อแฟรนไชส์ผู้ลงทุนควรจะมีประสบการณ์ในการดำเนินธุรกิจซะก่อน และควรจะใส่ใจกับองค์ประกอบที่สำคัญทางธุรกิจ เช่น การขาย การตลาด การเงิน เทคโนโลยี ทรัพยากรมนุษย์ และคนในทีม

3

ภาพจาก bit.ly/345BeE4

นอกจากนี้ คาร์เตอร์ยังได้ยกตัวอย่างหนึ่งในลูกค้าของเขา “Velofix” ที่เป็นบริษัทรับซ่อมจักรยานถึงบ้าน โดยเขากล่าวถึงลูกค้ารายนี้ว่าเป็นบริษัทที่สามารถขยายการดำเนินงานแฟรนไชส์ด้วยการให้บริการทางโทรศัพท์โดยมีพนักงานอยู่แค่ไม่กี่คน และตอนนี้ พวกเขากำลังผลักดันให้ลูกค้าส่วนใหญ่จองการใช้บริการทางออนไลน์อีกด้วย

ทำความเข้าใจกับความเสี่ยง

2

Jeff Rahn
ภาพจาก bit.ly/2Jso6km

เป็นเรื่องธรรมดาที่การทำธุรกิจหรือการทำแฟรนไชส์จะต้องมีความเสี่ยงหรือช่วงขาลงบ้าง ซึ่งวงจรขาลงของธุรกิจก็ถือเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรจะละเลย เจฟฟ์ จอห์นสัน ผู้บริหารบริษัท Franchise Research ได้กล่าวว่าก่อนหน้านี้เขาเคยทำงานเกี่ยวกับการพัฒนาให้กับ Schlotzsky’s Deli ซึ่งเป็นธุรกิจที่เติบโตเร็วมากจนมีสาขากว่า 750 สาขาก่อนที่จะถูกฟ้องล้มละลายในปี 2004 และแฟรนไชส์ดังกล่าวนี้ก็สูญเสียมูลค่าทรัพย์สินแทบจะทั้งหมดในพริบตา

1

ภาพจาก bit.ly/2qQV6fV

และเพื่อหลีกเลี่ยงความเสียหายในรูปแบบดังกล่าวนี้ เขากล่าวว่านักลงทุนควรตั้งข้อสงสัยไว้ก่อนว่า แฟรนไชส์นั้นๆ จะมีการเติบโตหรือไม่ท่ามกลางการแข่งขัน , สภาพเศรษฐกิจ และพฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป” ทั้งนี้เขายังกล่าวโดยยกตัวอย่างถึงธุรกิจฟ้าสต์ฟู้ดชื่อดังอย่าง “แมคโดนัล” อีกว่าหลายคนอาจไม่คิดว่าแฮมเบอร์เกอร์ของแม็คโดนัลนั้นดีที่สุด

แต่แม็คโดนัลมีการบริหารงานที่ดีและสม่ำเสมอ ทำให้ลูกค้าได้รับประสบการณ์ คุณภาพของสินค้าและบริการในมาตรฐานเดียวกันในทุกสาขา จึงทำให้ร้านฟาสต์ฟู้ดชื่อดังนี้สามารถยืนหยัดอยู่ได้ในวงการร้านอาหารฟ้าสต์ฟู้ด

ทั้งนี้ความเสี่ยงอีกอย่างหนึ่งที่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ควรจะนึกถึงก็คือการกระจายสาขาแฟรนไชส์จะต้องไม่หนาแน่น หรือมีความกระจุกตัวมากจนเกินในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง เช่น ธุรกิจร้านโยเกิร์ตที่มีถึงสี่สาขาในเมืองเล็กๆ แค่เมืองเดียว ถึงแม้ว่าร้านเหล่านั้นจะสามารถดำเนินธุรกิจไปได้ด้วยดี แต่ท้ายที่สุดก็อาจเกิดการแย่งลูกค้ากันเองและอาจทำให้แฟรนไชส์นั้นมีปัญหาในภายหลังได้

ทางหนึ่งที่จะลดความเสี่ยงของธุรกิจแฟรนไชส์ ก็คือการกระจายธุรกิจให้มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น เช่น Jeff Rahn ลงทุนแฟรนไชส์ในพื้นที่ Minneapolis ที่มุ่งเน้นการบริการที่จำเป็นต่าง ๆ อย่างดูแลเกี่ยวกับเครื่องทำความร้อนและเครื่องปรับอากาศ, ระบบไฟฟ้าและการทำความสะอาดบ้าน เมื่อรวมกันแล้วรายรับต่อปีของพวกเขามีมูลค่าสูงถึง 12 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 362.4 ล้านบาท) เลยทีเดียว

“ทั้งนี้คุณไม่ควรจะฝากความหวังอย่างเต็มที่ว่าเจ้าของแฟรนไชส์จะมาทำทุกอย่างให้คุณ” คาร์เตอร์ แห่งบริษัท Vonigo กล่าว “ในท้ายที่สุดแล้วคุณก็ต้องเป็นอิสระและบริหารแฟรนไชส์นั้นๆ ด้วยตัวของคุณเอง”

ทั้งหมดนี้สรุปได้ว่าถึงแม้การซื้อแฟรนไชส์จะเป็นเรื่องง่าย แต่ก็ควรจะคำนึงถึงปัจจัยหลายๆ อย่างเพื่อให้ประสบความสำเร็จในการทำแฟรนไชส์นั้นๆ ทั้งการเอาใจใส่ของเจ้าของแฟรนไชส์ในการพัฒนาและสร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จัก ,

ความเสี่ยงในการลงทุนซื้อแฟรนไชส์นั้นๆ รวมไปถึงผลกำไรที่จะตามมา และลงทุนแฟรนไชส์อย่างมีสติ มีการพิจารณารายละเอียดอย่างถี่ถ้วน รวมไปถึงมีความตั้งใจในการลงทุนแฟรนไชส์นั้น ไม่ว่าจะอย่างไรก็ย่อมประสบผลสำเร็จแน่นอน


ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ bit.ly/2E885O9

แหล่งที่มา
https://nyti.ms/2Whuctl

กองบรรณาธิการเว็บไซต์

ยินดีสนับสนุน SMEs ไทยทุกแบรนด์ ที่ต้องการสร้างความเข้มแข็ง อยากเรียนรู้ พัฒนาธุรกิจ ส่งเสริมความเข้าใจในการตลาด มีความคิดสร้างสรรค์ แบ่งปันเพื่อสังคม ต่อยอดธุรกิจ ให้ประสบความสำเร็จในอนาคต