26 คำศัพท์ต้องรู้! ยกระดับผู้ประกอบการ
ในวันนี้เชื่อว่าผู้ประกอบการหลายๆ คน โดยเฉพาะผู้ประกอบการรุ่นใหม่ รวมถึงบรรดา Start Up ทั้งหลาย ยังไม่รู้ว่าคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกิจ มีอะไรบ้าง และมีความสำคัญอย่างไร
วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com ก็เลยอยากจะนำเสนอคำศัพท์ตั้งแต่ A-Z ที่ผู้ประกอบการรุ่นใหม่ควรรู้ไว้ เพื่อยกระดับความสามารถให้กับตัวเองครับ
1. Angel Investor (นักลงทุนนางฟ้า)
ภาพจาก https://goo.gl/sBYyVe
นักลงทุนใจดีนั่นเอง ในโลกของ Startup สิ่งที่มาคู่กันกับทีมที่ลงมือคิด ลงมือทำ นั่นก็คือเงินทุน ซึ่งเงินก้อนแรกโดยส่วนใหญ่จะมาจากการควักกระเป๋าตัวเองบ้าง หรือเงินจากญาติพี่น้องบ้าง และเมื่อเติบโตถึงจุดหนึ่ง สิ่งที่ Startup ควรทำก็คือ การขายไอเดียแก่คนนอกอื่น ๆ บ้าง ซึ่งนอกจากจะเป็นการหาเงินทุนมาเติมเป็นเชื้อเพลิงเพื่อเดินหน้าต่อ ยังจะได้ทบทวนธุรกิจผ่านทั้งตนเองและได้ฟังความเห็นของคนอื่นบ้างมาเป็นฟีดแบค
2. Business plan (แผนธุรกิจ)
ภาพจาก https://goo.gl/PNUmRa
แผนการดำเนินงานของธุรกิจ หรือโครงการหนึ่งๆ ที่จัดทำขึ้น เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินธุรกิจทั้งในระยะสั้น 1-3 ปี และในระยะยาว 3-5 ปี แผนธุรกิจที่ดีต้องสามารถวิเคราะห์ธุรกิจของโครงการในแง่มุมต่างๆ ทั้งทางด้านการตลาด ทางด้านการดำเนินงาน ทีมผู้บริหาร และทางด้านการเงิน เพื่อเป็นการประเมินความเป็นไปได้ของโครงการ และเป็นกรอบในการดำเนินธุรกิจ แนวทางการพัฒนาธุรกิจในอนาคต
3. Caffeine (คาเฟอีน)
กระตุ้นให้เกิดความตื่นตัว ลดอาการง่วงนอน เป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่ต้องการทำงานต่อเนื่อง เช่น ทำงานรอบดึก ควบคุมเครื่องจักรกล รวมถึงผู้ขับขี่รถยนต์ระยะทางไกลๆ ระบบประสาทส่วนกลางถูกกระตุ้นมากขึ้น ส่งผลให้ร่างกายตื่นตัว
4. Debt (หนี้)
ภาพจาก https://goo.gl/JkiLpt
การเป็นหนี้จากการ “กู้ยืม” เงินจากธนาคารต่างๆ เพื่อมาลงทุนทำธุรกิจ หรือสร้างการเติบโตให้กับธุรกิจ ถือเป็นเรื่องดีในโลกของนักธุรกิจ ผู้ประกอบการที่อยากเติบโต ต้องยอมเป็นหนี้ เพื่อสร้างเครดิตให้กับธุรกิจตัวเอง
5. Equipment (อุปกรณ์)
ในโลกของธุรกิจ อุปกรณ์ เครื่องจักร รวมถึงเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ ถือว่ามีความสำคัญอย่างมาก ช่วยให้ผู้ประกอบการทำงานได้ง่ายขึ้น มีความสะดวก รวดเร็ว และช่วยให้ธุรกิจประสบความสำเร็จได้เร็วขึ้นด้วย
6. Financial statements (งบการเงิน)
ภาพจาก https://goo.gl/9M2MkR
รายงานข้อมูลทางการเงินที่ได้จัดทำขึ้นจากข้อมูลทางการเงินที่กิจการได้จดบันทึกไว้ในรอบระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งสามารถแสดงให้เห็นถึงผลการดำเนินการ ฐานะการเงินหรือการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงินของกิจการในรอบระยะเวลานั้นๆ
7. Growth (การเจริญเติบโต)
หนึ่งในเป้าหมายหลัก ที่เจ้าของธุรกิจทุกคนต้องการจะทำให้สำเร็จนั้น ก็คือการทำให้บริษัท “เติบโต” อย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็น การเติบโตด้านขนาดองค์กร หรือการเติบโตทางด้านส่วนแบ่งของตลาด แต่การ “เติบโต” นี้ก็มีหลายรูปแบบและทิศทางที่จะเป็นไปได้ แล้วแต่กลยุทธ์หรือสถานการณ์ที่พาไป
8. Human capital (ทุนมนุษย์)
ภาพจาก https://goo.gl/f7M3Di
ทรัพยากรมนุษย์ อันประกอบไปด้วย ทักษะที่สะสมมา ความรู้ความชำนาญ ประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญ ความคิดสร้างสรรค์ ตลอดจนบุคลิกภาพ และทรัพย์สิน ส่วนบุคคลอื่นที่จับต้องไม่ได้ อาทิ สัมพันธภาพส่วนบุคคลในสังคม การได้รับการยอมรับในแวดวง ฯลฯ ที่จะทำให้บุคคลนั้นสามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้แก่ตนเอง องค์กร และสังคมได้
9. Ideas (ไอเดีย)
การทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ จำเป็นอย่างที่เจ้าของธุรกิจจะต้องมีไอเดียที่เป็นเลิศ เพราะสามารถสร้างความแตกต่างให้กับธุรกิจ หรือสินค้าและบริการ รวมถึงต้องมีการสร้างสรรค์ไอเดียในการทำตลาด ออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ
10. Joint venture (กิจการร่วมค้า)
ภาพจาก https://goo.gl/maqDk3
การร่วมประกอบธุรกิจของบุคคลหรือกิจการตั้งแต่สองคนขึ้นไป โดยมีการร่วมลงทุนไม่ว่าจะเป็นเงินทุน ทรัพย์สิน แรงงาน เทคโนโลยี ที่ดิน บุคลากร หรืออื่นๆ ภายใต้ข้อตกลงหรือสัญญาร่วมค้าเพื่อประกอบกิจการร่วมกัน และจะมีการกำหนดวัตถุประสงค์รวมถึงเป้าหมายการดำเนินงานไว้อย่างชัดเจน ถ้าโครงการนั้นทำเสร็จสิ้นลงก็จะถือว่าการร่วมค้านั้นยุติลง
11. Knowledge (ความรู้)
การประกอบกิจการหรือดำเนินการใดๆความรู้ คือ ปัจจัยสำคัญที่จะทำให้สิ่งที่ลงมือกระทำนั้นประสบความสำเร็จได้รวดเร็วยิ่งขึ้น เช่น ถ้าไม่มีความรู้เรื่องระบบแฟรนไชส์ ก็ไม่สามารถสร้างธุรกิจแล้ว ก็ขายแฟรนไชส์ได้
12. Lenders (ผู้ให้ยืม)
ภาพจาก https://goo.gl/pNjrWR
ผู้ให้ยืม (Lender) โอนหลักทรัพย์ ให้แก่ผู้ยืม ณ วันที่ตกลงกันและจะได้รับหลักทรัพย์ คืนเมื่อถึงวันครบกำหนด โดยจะได้รับค่าธรรมเนียมการยืมจากผู้ยืม หลักทรัพย์ ในอัตราที่ได้ตกลงกันไว้ตั้งแต่วันที่ทำการยืมจนครบกำหนด
13. Marketing (การตลาด)
ภาพจาก https://goo.gl/jPpiRc
การทำธุรกิจโดยเฉพาะกิจการร้านค้า ร้านขายของ เมื่อถึงเวลาหนึ่งที่ลูกค้าไม่เข้าร้าน เจ้าของร้านจำเป็นต้องหันมาใช้กลยุทธ์ทางการตลาดเข้ามาช่วย ลด แลก แจก แถม เพื่อดึงดูดลูกค้าเข้าใช้บริการ
14. Name (ชื่อ)
สิ่งที่จะทำให้ลูกค้ารู้จักธุรกิจของคุณ ก็คือ “ชื่อ” ดังนั้นการตั้งชื่อธุรกิจ ชื่อบริษัท ต้องให้ง่ายต่อการจดจำ และการค้นหาทางอินเตอร์เน็ต และต้องเป็นชื่อที่ถูกต้อง มีความหมายที่ดีงาม และชื่อจะต้องบ่งบอกถึงสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ของคุณด้วย
15. Operations (การดำเนินงาน)
ภาพจาก https://goo.gl/VW3n5T
เป็นกระบวนการภายในองค์กร ที่ใช้ปัจจัยนำเข้า (Input) เช่น คน เงินทุน วัตถุดิบ และแปรรูปให้กลายเป็นปัจจัยนำออก (Output) ในรูปของสินค้าและบริการ. การบริหารการผลิต (Production Management) เป็นการวางแผนและการตัดสินใจเพื่อการผลิตสินค้า
16. Profit margins (อัตรากำไร)
Profit Margin เป็นตัวเลขที่บอกส่วนต่างระหว่างราคาขายและต้นทุน เช่น นาย A เปิดร้านส้มตำ ราคาต้นทุนเฉลี่ย (รวมค่าแรง วัตถุดิบ ฯลฯ) ส้มตำจานละ 20 บาท ขายในราคา 30 บาท ร้านส้มตำนี้จะมีกำไร 10 บาทต่อจาน มี Profit Margin 10/30 = 33.33% ขณะที่นาย B เปิดร้านซูชิ ราคาต้นทุนเฉลี่ย (รวมค่าแรง วัตถุดิบ ฯลฯ) ซูชิโอโทโร่คำละ 150 บาท ขายในราคา 450 บาท ร้านซูชิจะมีกำไร 300 บาทต่อคำ มี Profit Margin 300/450 = 66.67%
17. Quick restaurant delivery (จัดส่งอาหารด่วน)
ภาพจาก https://goo.gl/czMbQ4
เมื่อนั่งทำงานในออฟฟิศ หรือนั่งทำงานที่บ้าน ด้วยความที่เวลาเร่งรัด มีจำนวนจำกัด อีกทั้งหลีกเลี่ยงปัญหาการจราจรติดขัดข้างนอก สิ่งที่คนส่วนใหญ่นึกถึง คือ โทรสั่งอาหารให้มาส่งถึงบ้าน หรือ Delivery
18. Regulations (กฎระเบียบ)
กฎระเบียบในการทำธุรกิจในแต่ละประเทศแตกต่างกัน ทั้งการขอใบอนุญาตในการจัดตั้งธุรกิจ ค่าเช่าพื้นที่ ผ็ประกอบการจึงจำเป็นต้องศึกษาข้อกฎหมายและกฎระเบียบในการทำธุรกิจในแต่ละพื้นที่ให้ดี เพราะบางครั้งมีผลต่อการเติบโตกิจการ
19. Sales channels (ช่องทางการขาย)
ช่องทางการขายที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นออนไลน์ และออฟไลน์ จะช่วยให้เจ้าของธุรกิจ เจ้าของสินค้ามีโอกาสขายของได้มากขึ้น เข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้หลากหลาย นั่นก็เท่ากับว่า สามารถทำกำไรได้เพิ่มขึ้น
20. Taxes (ภาษี)
ภาพจาก https://goo.gl/5e4rSy
เรื่องของภาษี ถือเป็นเรื่องสำคัญมากสำหรับธุรกิจ SMEs และ Start Up ไม่ว่าจะเป็น ภาษีเงินได้นิติบุคคล, ภาษีหัก ณ ที่จ่าย, ภาษีมูลค่าเพิ่ม, ภาษีธุรกิจเฉพาะ, อากรแสตมป์ เป็นต้น
21. Unplug (ถอดปลั๊ก)
การทำงานโดยไม่มีวันหยุด หรือทำงานจนไม่ได้พักผ่อน ใช่เรื่องดีนักสำหรับผู้ประกอบการรุ่นใหม่ การได้หยุดพักผ่อน หรือเดินทางท่องเที่ยวตามสถานที่ต่างๆ ที่คุณอยากจะไป จะสามารถช่วยให้ผู้ประกอบการได้ใช้สมอง ทำให้เกิดไอเดียใหม่ๆ
22. Venture capital (การร่วมลงทุน)
ภาพจาก https://goo.gl/SfaSFR
เป็นการนำเงินลงทุนเข้าไปร่วมถือหุ้นในบริษัท เปรียบเสมือนกับการที่นึกอยากจะเปิดบริษัทอีกบริษัท หรืออาจต้องการเงินทุนเพิ่มเติมในการดำเนินธุรกิจ แต่เงินตัวเองอาจจะมีไม่พอจึงจะต้องไปชวนเพื่อนๆ ญาติๆ หรือนักลงทุนอื่นๆ เอาเงินมาลงทุนด้วยและคนเหล่านี้ก็จะได้เป็นหุ้นของบริษัทที่ลงทุนไว้ เมื่อถึงเวลาที่บริษัทมีกำไรก็แบ่งกันตามสัดส่วนการถือหุ้น
23. Website (เว็บไซต์)
เว็บไซต์มีความสำคัญอย่างมากในการทำธุรกิจในยุคปัจจุบัน เพราะนอกจากจะช่วยประชาสัมพันธ์ธุรกิจ และสินค้าของคุณได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ยังสามารถสร้างความรู้ความเข้าใจเรื่องของสินค้าให้กับลูกค้าได้ด้วย
24. X marks the spot (ทำเลที่ตั้ง)
ภาพจาก https://goo.gl/jgPnK8
สถานที่หรือทำเลที่ตั้ง คือ หัวใจสำคัญของการทำธุรกิจ โดยเฉพาะธุรกิจค้าขาย ค้าปลีก ที่ต้องอยู่ใกล้กับแหล่งผู้คนพลุกพล่าน และเดินทางสัญจรผ่านไปมาได้สะดวก ดังนั้น ทำเลที่ตั้งดี จึงมีชัยไปกว่าครึ่ง
25. Yes (ใช่)
เป็นการสะท้อนถึงทัศนะคติในเชิงบวกของแต่ละคน โดยเฉพาะผู้ประกอบการที่กำลังจดจ่ออยู่กับการขายขงตัวเอง หรือกำลังหาวิธีที่จะทำให้สินค้าของตัวเองขายออกได้เร็วขึ้น คำว่า ใช่ เป็นสิ่งสำคัญของผู้ประกอบการ
26. Zeal (ความกระตือรือร้น)
ภาพจาก https://goo.gl/FC1rmy
ความกระตือรือร้นเป็นองค์ประกอบสำคัญของผู้ประกอบการที่จะประสบความสำเร็จ นักธุรกิจคนไหนที่มีแต่ความรัก หรือความชอบในสิ่งที่ทำ แต่ไม่มีความกระตือรือร้น หรือความกระหายอยากจะทำให้สำเร็จ บางครั้งก็ไม่อาจประสบความสำเร็จในธุรกิจได้ เพราะความกระตือรือร้นจะช่วยให้ผู้ประกอบการมีความตั้งใจ มีความอยากจะทำ
ทั้งหมดเป็น 26 คำศัพท์ที่ผู้ประกอบการ SMEs รวมถึงบรรดา Start Up ทั้งหลายต้องรู้ เพราะแต่ละคำศัพท์เป็นองค์ประกอบสำคัญในการดำเนินธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ บางคำศัพท์หมายถึงผลกำไรและการเติบโตของธุรกิจ
อ่านบทความอื่นๆ จากไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ http://www.thaifranchisecenter.com/home.php
สนใจซื้อแฟรนไชส์ไปทำธุรกิจ http://www.thaifranchisecenter.com/directory/index.php
อ้างอิงข้อมูล https://www.entrepreneur.com/article/200602
ท่านใดสนใจอยากให้ร่างสัญญาแฟรนไชส์โดยถูกต้องตามหลักกฎหมายแจ้งความประสงค์ได้ที่
โทร : 02-1019187, Line : @thaifranchise