25 คำศัพท์ A-Z ในระบบแฟรนไชส์ที่คุณต้องรู้
เชื่อว่าหลายๆ คน กำลังให้ความสนใจในเรื่องของธุรกิจแฟรนไชส์ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างธุรกิจตัวเองเข้าสู่แฟรนไชส์ รวมถึงคนที่อยากประสบความสำเร็จในธุรกิจเร็ว
ด้วยการซื้อธุรกิจแฟรนไชส์แบรนด์ดังๆ มีชื่อเสียงในตลาดมาบริหาร แต่ทั้งนี้ก่อนที่ใครๆ จะสร้างธุรกิจตัวเองให้เป็นแฟรนไชส์ รวมถึงเลือกซื้อแฟรนไชส์แบรนด์ดังๆ มาบริหาร
วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะนำเสนอคำศัพท์ A-Z ในระบบแฟรนไชส์ เพื่อให้เจ้าของธุรกิจที่จะทำแฟรนไชส์ รวมถึงนักลงทุน และผู้สนใจจะซื้อธุรกิจแฟรนไชส์แบรนด์ดังๆ มาบริหาร นำไปศึกษาให้เข้าใจอย่างลึกซึ่ง เพื่อเอาไปเป็นแนวทางในการขับเคลื่อนธุรกิจแฟรนไชส์ของตัวเองให้เติบโตและประสบความสำเร็จครับ
1. Area Franchisee (สิทธิแฟรนไชส์พัฒนาพื้นที่)
เป็นสิทธิแฟรนไชส์แบบการพัฒนาอาณาเขต โดยแฟรนไชส์ซอร์ หรือเจ้าของแบรนด์แฟรนไชส์จะให้สิทธิแฟรนไชส์ซี ในการขยายกิจการ ขยายสาขา ภายในอาณาเขต หรือภายในพื้นที่ ภายในระยะเวลาที่กำหนด อาจจะ 10-15 ปี
2. Breakeven (จุดคุ้มทุน)
ระยะเวลาคืนทุน หรือจุดคุ้มทุนในระบบแฟรนไชส์ ที่ผู้ประกอบการแฟรนไชส์ดำเนินธุรกิจไปแล้ว ถึงจุดที่รายได้เท่ากับรายจ่าย (งบการลงทุน) พอดี หากผู้ประกอบการแฟรนไชส์มีรายได้มากว่าจุดคุ้มทุน ส่วนที่เกินคือกำไร
3. Company Owned Units (สาขาแฟรนไชส์ของบริษัทแม่)
สาขาธุรกิจแฟรนไชส์ ที่ดำเนินงานโดยบริษัทแม่แฟรนไชส์ แทนแฟรนไชส์ซี
4. Disclosure Document (เอกสารข้อมูลแฟรนไชส์)
เอกสารที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลการลงทุนแฟรนไชส์ของแต่ละแบรนด์ ที่สามารถเปิดเผยต่อสาธารณชนได้ เป็นการระบุเกี่ยวกับข้อมูลแฟรนไชส์ รายละเอียดการลงทุนแฟรนไชส์ที่สำคัญๆ ทั้งหมดของแบรนด์แฟรนไชส์นั้นๆ ซึ่งเอกสารเปิดเผยข้อมูลแฟรนไชส์ดังกล่าว ส่วนใหญ่จะนิยมใช้กันในสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นต้นแบบของระบบแฟรนไชส์
5. Evaluation (การประเมินผล)
การประเมินธุรกิจแฟรนไชส์ เป็นขั้นตอนที่สำคัญมาก ก่อนที่จะเซ็นสัญญาแฟรนไชส์ ผู้ซื้อแฟรนไชส์ควรประเมินว่าคอนเซ็ปต์ของแฟรนไชส์ ตรงกับความต้องการของตนเองหรือไม่ ทั้งนี้ต้องทำภายในระยะเวลาช่วงก่อนเซ็นสัญญาแฟรนไชส์
6. Franchise Fee (ค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์)
ค่าตอบแทน ที่เป็นจำนวนเงินที่แน่นอน จะจ่ายก่อนเริ่มดำเนินงาน หรือเรียกว่าค่าธรรมเนียมแรกเข้า ซึ่งถือว่าเป็นการจ่ายค่าสิทธิต่างๆ ให้แก่บริษัทแม่แฟรนส์ไชส์ ตัวอย่างการเรียกเก็บ Franchise Fee (ค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์) เช่น
- แฟรนไชส์ N&B เก็บค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ 450,000 บาท ดูรายละเอียดได้ที่ goo.gl/ipWaKq
- แฟรนไชส์ FRESH MART เก็บค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ 790,000 บาท ดูรายละเอียดได้ที่ goo.gl/eTBMjh
7. Growth (การเจริญเติบโต)
ก่อนที่ผู้ซื้อแฟรนไชส์จะเซ็นสัญญาแฟรนไชส์ จะต้องมีการวิเคราะห์และตรวจสอบบริษัทแฟรนไชส์ เกี่ยวกับการเติบโต และยอดขาย กำไร มีจำนวนสาขามากน้อยแค่ไหน เพราะปัจจัยเหล่านี้บ่งบอกถึงการเจริญเติบโตของแฟรนไชส์
8. Hand-holding (การสนับสนุนแฟรนไชส์)
ถือว่ามีความสำคัญมากที่สุดก็ว่าได้ เพราะก่อนจะซื้อแฟรนไชส์ ต้องศึกษาและสอบถามดูว่า บริษัทแม่แฟรนไชส์จะให้ได้การสนับสนุนและดูแลในเรื่องอะไรบ้าง ตั้งแต่การเปิดร้าน การดำเนินธุรกิจ จนกระทั่งการขอคำปรึกษา แนะนำต่างๆ
9. Invariability (ความสม่ำเสมอ)
ความสม่ำเสมอหรือความไม่เปลี่ยน มีความน่าสนใจอย่างมากสำหรับแฟรนไชส์ซอร์ เพราะจะมีส่วนช่วยสร้างเครือข่ายระบบแฟรนไชส์ให้มีความแข็งแกร่ง เติบโตได้อย่างยืน โดยเฉพาะการให้การช่วยเหลือ สนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
10. Joint Venture Partnership (กิจการร่วมค้า)
การทำธุรกิจแบบกิจกรรมร่วมค้า ตั้งแต่สองธุรกิจขึ้นไปมาจับมือร่วมกันทำธุรกิจ โดยสิ่งที่นำมาร่วมลงทุนอาจจะเป็นเงินทุน ที่ดิน อาคาร เทคโนโลยี หรือ บุคลากร ซึ่งต้องจัดตั้งเป็นนิติบุคคลใหม่โดยใช้ชื่อว่า “กิจการร่วมค้า”
11. Kiosk (ซุ้ม-เคาน์เตอร์ร้านขนาดเล็ก)
ธุรกิจในระบบแฟรนไชส์จะมีการดำเนินธุรกิจ ทั้งแบบร้านสาขาขนาดใหญ่ และร้านขนาดเล็ก หรือ Kiosk ตั้งอยู่ตามตรอก ซอก ซอย หัวมุม ตามตลาดทั่วไป เป็นลักษณะเป็นซุ้มหรือเคาน์เตอร์ร้านค้าขายของเล็กๆ ออกแบบโดดเด่น สวยงาม
12. Location (ทำเลที่ตั้ง)
หนึ่งในปัจจัยของการทำธุรกิจแฟรนไชส์ให้ประสบความสำเร็จ ก็คือ ทำเลที่ตั้ง เพราะถ้าทำเลดีก็มีชัยไปกว่าครึ่ง และที่สำคัญธุรกิจแฟรนไชส์แต่ละประเภท เหมาะกับการอยู่ในทำเลที่แตกต่างกัน ทั้งในห้าง นอกห้าง กลางแจ้ง ในร่ม
13. Master Franchise (ผู้รับสิทธิจากบริษัทแม่รายแรกในประเทศหนึ่ง)
ผู้ที่ได้รับสิทธิจากบริษัทแม่ให้ดำเนินธุรกิจเป็นรายแรกในประเทศหนึ่ง และมักจะเป็นรายใหญ่ ที่จะต้องทำการขยายสาขาออกไปให้ทั่วประเทศ ผู้ที่เป็นมาสเตอร์แฟรนไชส์ นี้ จะได้รับการถ่ายทอดในเรื่องการบริหารในระดับที่สูงขึ้น
14. Net Worth (มูลค่าทรัพย์สุทธิ)
มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ คือ การนำเอาทรัพย์สินทั้งหมดลบด้วยหนี้สิน ซึ่งจะบอกได้ทันทีว่าคุณ หรือแบรนด์แฟรนไชส์แต่ละแบรนด์มีมูลค่าทรัพย์มากแค่ไหน ถือเป็นอีกปัจจัยหนึ่งในการช่วยผู้ซื้อแฟรนไชส์ตัดสินใจได้ถูกต้อง
15. Opening (การเปิดกิจการ)
แฟรนไชส์ซอร์และแฟรนไชส์ซี ถือเป็นหัวใจสำคัญในการเปิดกิจการ หรือสาขาแฟรนไชส์ เพราะฉะนั้น ทั้งสองฝ่ายจะต้องมีการประสานงานกันซึ่งกันและกัน เพื่อให้สาขาแฟรนไชส์บรรลุผลสำเร็จ
16. Payment (การชำระเงิน)
นอกเหนือจากค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์แรกเข้า (Franchise Fee) แฟรนไชส์ซี (ผู้ซื้อแฟรนไชส์) จะต้องจ่ายเงินเป็นประจำเป็นรายเดือนให้กับแฟรนไชส์ซอร์ (Royalty Fee) ประมาณ 5-10% จากยอดขายในแต่ละเดือน เป็นค่าการสนับสนุนของแฟรนไชส์ ทั้งการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ และอื่นๆ ตลอดอายุสัญญาแฟรนไชส์
17. Question (คำถาม)
ก่อนจะซื้อแฟรนไชส์แบรนด์ใดแบรนด์แบรนด์หนึ่ง ผู้ซื้อแฟรนไชส์ต้องตั้งคำถามกับตัวเองก่อนว่า พร้อมที่จะเป็นเจ้าของกิจการหรือไม่ ถามตัวเองก่อนว่าชอบธุรกิจแบบไหน ตัวเองมีทักษะการทำอะไรบ้าง รวมถึงมีความพร้อมด้านเงินทุนหรือเปล่า เพื่อที่จะค้นหาธุรกิจแฟรนไชส์ที่มีความเหมาะสมกับตัวเองมากสุด
18. Relationship (การสร้างความสัมพันธ์)
ในระบบแฟรนไชส์ที่แข็งแกร่ง และเติบโตได้อย่างยั่งยืน แฟรนไชส์ซอร์และแฟรนไชส์ซีจะต้องมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน เพราะเปรียบเป็นการร่วมลงทุนทำธุรกิจด้วยกัน ให้การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เพื่อขับเคลื่อนธุรกิจไปสู่เป้าหมายตั้งไว้
19. Supplier (ซัพพลายเออร์)
ผู้ปลิตและจัดจำหน่ายสินค้าหรือบริการให้แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ (แฟรนไชส์ซี) โดยแฟรนไชส์วอร์จะพยายามสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ผลิตและจัดหน่ายเหล่านี้ เพื่อเจรจาต่อรองในการซื้อสินค้าลับริการในราคาที่ถูกลง
20. Trademark (เครื่องหมายการค้า)
เครื่องหมายการค้ามีความสำคัญอย่างมากในระบบแฟรนไชส์ เพราะเมื่อไหร่ที่แฟรนไชส์ขายแฟรนไชส์ หรือให้สิทธิกับแฟรนไชส์ซีแล้ว ก็จะต้องอนุญาตให้แฟรนไชส์ซีได้ใช้เครื่องหมายการค้าและบริการของแฟรนไชส์ซอร์ด้วย ดังนั้น ก่อนสร้างธุรกิจเข้าสู่ระบบแฟรนไชส์ เจ้าของธุรกิจจะต้องจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า / บริการ ด้วย
21. Uniqueness (ความเป็นเอกลักษณ์)
การเป็นคนมีเอกลักษณ์ของผู้ซื้อแฟรนไชส์ จะมีส่วนให้เจ้าของแบรนด์แฟรนไชส์ ตัดสินใจเลือกเข้ามาเป็นแฟรนไชส์ซี หรือให้รับสิทธิแบรนด์แฟรนไชส์ไปบริหารด้วยเช่นเดียวกัน เพราะแฟรนไชส์ซีจะสามารถสะท้อนถึงแบรนด์แฟรนไชส์ได้ด้วย
22. Validation (การตรวจสอบ)
ถือเป็นหัวใจสำคัญของระบบแฟรนไชส์ เพราะก่อนซื้อแฟรนไชส์ นักลงทุนจะต้องมีการตรวจสอบความถูกต้อง และความน่าเชื่อถือของธุรกิจแฟรนไชส์นั้นๆ ทั้งจากตัวเจ้าของแบรนด์แฟรนไขส์ รวมถึงแฟรนไชส์อื่นๆ ที่ทำแฟรนไชส์นั้นอยู่
23. Wealth (ความมั่งคั่ง)
ถ้าแฟรนไชส์ซอร์ไม่สามารถแสดงความมั่งคั่งให้แก่นักลงทุน หรือผู้สนใจซื้อแฟรนไชส์ไปประกอบธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นยอดขายของธุรกิจ กำไร รายได้ เรียกได้ว่าเป็นผลประกอบการที่ชัดเจน ก็อาจจะไม่ดึงดูดให้นักลงทุนมาซื้อแฟรนไชส์ได้
24. Younger Franchisees (แฟรนไชส์คนรุ่นใหม่)
ปัจจุบันเห็นได้ว่า คนรุ่นใหม่ที่พึ่งเรียนจบการศึกษามาใหม่ๆ ให้ความสนใจทำธุรกิจแฟรนไชส์มากขึ้น ทั้งการสร้างธุรกิจตัวเองเข้าสู่ระบบแฟรนไชส์ รวมถึงการซื้อแฟรนไชส์แบรนด์ดังๆ มาบริหาร โดยคนรุ่นใหม่เหล่านี้มักจะมีความกระตือรือร้น มีความคิดสร้างสรรค์ ถือเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจแฟรนไชส์ให้ประสบความสำเร็จ
25. Zero Royalty (ไม่เก็บค่า Royalty Fee, ไม่หักเปอร์เซ็นต์จากยอดขาย)
ในระบบแฟรนไชส์มีทั้งธุรกิจแฟรนไชส์ที่เรียกเก็บค่าสิทธิ (Royalty Fee) จากแฟรนไชส์ซี และธุรกิจแฟรนไชศที่ไม่เรียกเก็บค่าสิทธิ หรือหักเปอร์เซ็นต์จากยอดขายจากแฟรนไชส์ซี ซึ่งถ้าธุรกิจแฟรนไชส์แบรนด์ไหนไม่เรียกเก็บค่าสิทธิรายเดือน ส่วนใหญ่มักจะมีรายได้จากการขายส่งวัตถุดิบให้กับแฟรนไชส์ซีนั่นเอง
ทั้งหมดเป็นคำศัพท์ A-Z ที่เกี่ยวข้องกับระบบแฟรนไชส์ ที่เจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์และผู้สนใจซื้อแฟรนไชส์ จำเป็นจะต้องรู้เอาไว้ เพราะแต่ละคำศัพท์ล้วนแต่เกี่ยวข้องกับเจ้าของแบรนด์แฟรนไชส์และผู้ซื้อแฟรนไชส์ ที่สำคัญคำศัพท์ข้างต้น ถ้าศึกษาให้ดี ศึกษาให้เข้าใจ จะมีส่วนให้การทำธุรกิจแฟรนไชส์ของคุณประสบความสำเร็จได้ง่ายขึ้นคับ
คุณผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
อ่านบทความอื่นๆ จากไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ goo.gl/qPfWug
เลือกซื้อแฟรนไชส์ไทยขายดี เริ่มต้นธุรกิจ goo.gl/Ln4QfS
อ้างอิงข้อมูลจาก goo.gl/ynEVr4
ท่านใดสนใจอยากให้สร้างระบบแฟรนไชส์ แจ้งความประสงค์ได้ที่
โทร : 02-1019187, Line : @thaifranchise