2024 ปีอาถรรพ์ คนดัง แห่เลิกทำช่อง YouTube
อาชีพในฝันของใครหลายคนคือการเป็น “YouTuber” เพราะเห็นว่า “รายได้ดี” “เป็นงานอิสระ” วิธีหาเงินจาก YouTube มีอยู่ 6 วิธี ได้แก่ รายได้จากโฆษณา, การเป็นสมาชิกของช่อง, Super Chat และ Super Stickers, Super Thanks, รายได้จาก YouTube Premium และ Shopping
ยกตัวอย่างให้เห็นภาพ เช่น รายได้จากโฆษณาจะเป็นวิธีการหาเงินที่สะดวกที่สุดบน YouTube โฆษณาพวกนี้จะมาในรูปแบบวิดีโอที่ขึ้นมาในช่วงก่อนวิดีโอ กลางวิดีโอ หรือหลังวิดีโอ รวมไปถึงโฆษณาที่ขึ้นใน Shorts ด้วย รายได้ในการแสดงผลโฆษณาในหน้าวิดีโอปกติจะถูกแบ่งให้เรา 55% ที่เหลือ 45% จะเป็นของ YouTube ส่วนรายได้โฆษณาในหน้าวิดีโอ Shorts จะถูกแบ่งให้เรา 45% ที่เหลือ 55% จะเป็นของ YouTube เป็นต้น
ภาพจาก https://elements.envato.com/
แต่การสร้างรายได้เหล่านี้ก็มีเงื่อนไขเช่นกัน เช่น รายได้จากโฆษณา / รายได้จาก YouTube Premium ต้องมีผู้ติดตามอย่างน้อย 1,000 คน และต้องบรรลุเป้าหมายอีกหนึ่งอย่าง ระหว่าง
- มียอดชมวิดีโอสูงถึง 4,000 ชั่วโมง ใน 365 วัน
- ยอดดู Shorts 10 ล้านครั้ง ในช่วง 90 วัน เป็นต้น
เหตุผลที่คนอยากเป็น YouTuber สำคัญสุดก็คือ “รายได้” ซึ่งหากวิเคราะห์ลึกลงไปจะพบว่า
- YouTuber ที่มีผู้ติดตาม 100,000 คนสามารถสร้างรายได้ระหว่าง 600-1,000 ดอลลาร์ต่อสัปดาห์ โดยมีรายได้ระหว่าง 2,400-4,000 ดอลลาร์ต่อเดือน (ประมาณ 85,000 – 142,000 บาท)
- YouTuber ที่มีผู้ติดตาม 1 ล้านคน สามารถสร้างรายได้ระหว่าง 14,600-54,600 ดอลลาร์ต่อเดือน หรือราว 518,000 – 1.9 ล้านบาท
ซึ่งถ้าดูตัวเลขแบบเพียวๆ แค่นี้คือ “ว้าวมาก” แต่คนที่ประสบความสำเร็จในการเป็น YouTuber ก็จำเป็นต้องแลกด้วย
การใช้แรงกายและแรงใจมากเป็นพิเศษถึงกับมีกระแสแรงในช่วงนี้ที่มี YouTuber หลายคนประกาศ “เลิกทำช่อง” มีใครบ้างลองไปดู
ภาพจาก YT @TomScottGo/videos
- DSLR Video Shooter ยอดคนติดตาม 727,000 คน
- Tom Scott ยอดคนติดตาม 6,420,000
- Cinecom.net ยอดคนติดตาม 2,670,000
- The Game Theorists ยอดคนติดตาม 19,000,000
- Vanessa Lau ยอดคนติดตาม 710,000
- Matti Haapoja ยอดคนติดตาม 1,260,000
- MOJIKO ยอดติดตาม 3,410,000
ภาพจาก YT @mojiko.official
อะไรคือเหตุผล? ที่ทำให้ YouTuber เหล่านี้ “ไม่อยากไปต่อ” ซึ่งก็มีการวิเคราะห์เหตุผลไว้หลายแง่มุมได้แก่
1.หมดไฟ (Burnout)
ภาพจาก freepik.com
“รักมันในชั่วเวลาหนึ่งและเปลี่ยนผ่านไปอีกช่วงเวลาหนึ่ง” คือคำอธิบายที่บอกว่า YouTuber ที่เลิกทำช่องเพราะรู้สึก“หมดไฟ” (Burnout) มันก็เป็นเรื่องที่เข้าใจได้ว่าในตอนแรกที่เข้ามาทำคือมาด้วยใจ พร้อมใส่ไอเดียเต็มที่ แต่เมื่อเวลาผ่านไป อายุตัวเองที่มากขึ้น สภาพสังคม วิถีชีวิต และเทรนด์อะไรใหม่ๆ ที่เข้ามา ทำให้ YouTuber เหล่านี้รู้สึกว่าเหนื่อยแล้ว พอแล้ว ไม่อยากสู้ต่อแล้ว
2.สภาวะเศรษฐกิจ
ภาพจาก freepik.com
จากช่องเล็กๆที่เคยทำด้วยตัวคนเดียว ต่อมาเมื่อมันเริ่มใหญ่ ก็ต้องมีการขยายกิจการ รับงานเพิ่มขึ้น ต้องมีลูกน้อง มีทีมงาน จากที่เคยเป็นแค่ครีเอเตอร์ก็ต้องกลายมาเป็นผู้บริหาร นั่นหมายถึงค่าใช้จ่ายในทุกด้านที่ต้องมากขึ้น ถ้ายังไม่ชัดเจนลองดูเหตุผลของช่อง MOJIKO ที่ให้เหตุผลในการเลิกทำช่อง YouTube ว่า “ในฐานะที่เราเป็นหัวหน้าบริษัท เราอยากให้ทีมงานได้พัฒนาศักยภาพ และมีรายได้มากขึ้น แต่เมื่อรายได้ของการเป็นอินฟลูฯ มันเท่าเดิมและลดลง ถ้าเรายังฝืนทำต่อ เราจะหาเงินที่ไหนมาขึ้นเงินเดือนให้พนักงาน เรารักทีมมาก ไม่อยากให้ทีมนี้มาล้มเหลวเพราะเรา”
3.อยากมีเวลาให้ตัวเองมากขึ้น
ภาพจาก freepik.com
ต้องยอมรับว่าการเป็นครีเอเตอร์ต้องคิดไอเดียในการนำเสนอให้ตอบสนองคนดูได้มากที่สุด และต้องรักษามาตรฐานให้ได้ต่อเนื่อง ซึ่งมันเหนื่อยมาก บางคนทำช่องมาหลายสิบปี ทุกวันคือทำแต่งาน แม้หน้ากล้องจะดูสนุกสนานแต่เบื้องหลังกว่าจะมาเป็นคลิปลงช่องได้ต้องใช้พลังเยอะมาก จนถึงจุดหนึ่งคือไม่อยากไปต่อ อยากมีเวลาให้ตัวเอง ไม่อยากตื่นมาแล้วต้องคิดถึงแต่เรื่องงาน อยากใช้ชีวิตอิสระได้อย่างแท้จริง
มุมมองตรงนี้เราพูดถึงในส่วนของ YouTuber ที่ประสบความสำเร็จแล้ว “เลิกทำช่อง” ซึ่งก็มีอีกเยอะมากที่ตั้งใจเข้ามาเป็น YouTuber ได้ไม่นานก็ต้องเลิกราไปอาจจะด้วยอัลกอรึทึมที่ยากขึ้น การสร้างรายได้จึงไม่ง่าย บางคนก็ท้อแท้และเลิกไป
แต่ในอีกมุมหนึ่ง YouTube ก็ยังเป็นแพลตฟอร์มที่น่าสนใจ มีข้อมูลที่ชี้ชัดว่า ในปี 2024 จำนวนผู้ใช้บน YouTube คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 7.5% เป็น 933.4 ล้านคน ก่อนที่จะเพิ่มขึ้นอีก 6.8% เป็น 996.4 ล้านคนในปี 2025 ในปี 2026 จำนวนผู้ใช้ YouTube จะแตะตัวเลข 1.05 พันล้านคน และการเติบโตจะดำเนินต่อไปในปี 2027-2028 โดยเพิ่มขึ้น 4.4% และ 3.5% เป็น 1.09 พันล้านคน และ 1.13 พันล้านคน ตามลำดับ
และแน่นอนว่า YouTuber ที่แท้จริงต้องทำใจยอมรับด้วยว่าเมื่อถึงจุดหนึ่งที่ช่องเติบโต เราอาจต้องสูญเสียความเป็นตัวเองไปบ้าง เพื่อทำตามKeyword ของเหล่าสปอนเซอร์ที่จะเริ่มเข้ามา นอกจากนี้ยังต้องมีทักษะในการบริหารคน บริหารทีมงาน ซึ่งถ้าหากยอมรับในสิ่งเหล่านี้ได้การเป็น YouTuber ก็พร้อมเดินหน้าต่อได้เช่นกัน
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
อ้างอิงจาก คลิกที่นี่
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)