20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
ทำธุรกิจถ้ามีขนาดใหญ่จำเป็นต้องมี “ หุ้นส่วน ” โดยกฎหมายกำหนดว่า บริษัทจำกัด มีหุ้นส่วนตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป , ห้างหุ้นส่วนจำกัด มีหุ้นส่วนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป , ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล มีหุ้นส่วนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป
ข้อดีของการมี “ หุ้นส่วน ” คือการช่วยการบริหารงาน การแชร์ไอเดีย รวมถึงคอนเนคชันที่จะช่วยขยายกิจการให้เติบโตได้มากขึ้น ซึ่งในประเทศไทยมีธุรกิจขนาดใหญ่ที่น่าสนใจมากมาย และเชื่อว่าทุกคนก็น่าจะรู้จักดีด้วย
1.ธุรกิจร้านอาหาร / ภัตตาคาร
เป็นธุรกิจที่มีขนาดใหญ่มาก ซึ่งถ้าเป็นร้านอาหารขนาดเล็กอาจลงทุนคนเดียวได้ แต่ถ้าถึงขั้นร้านอาหารขนาดใหญ่ ยังไงก็ต้องมีหุ้นส่วน เป็นธุรกิจที่คาดว่าในปี 2567 จะมีมูลค่า 6.69 แสนล้านบาท และถ้าดูข้อมูลจากการจัดอันดับมหาเศรษฐีเมืองไทยก็ชัดเจนว่า เครือเจริญโภคภัณฑ์เป็นผู้นำในธุรกิจอาหารที่ทำธุรกิจด้านนี้อย่างครบวงจรตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำ
2.ธุรกิจเครื่องดื่ม
นี่คือธุรกิจที่มีคู่แข่งในตลาดเยอะมาก โดยอุตสาหกรรมเครื่องดื่มของไทยมีสัดส่วนของปริมาณการผลิตภายในประเทศ 98.3% เน้นผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศเป็นหลัก และมียักษ์ใหญ่ในวงการนี้ที่รู้จักกันดีเช่น บมจ. ไทยเบฟเวอเรจ , บจก.บุญรอดบริวเวอรี่ , บจก. เนสท์เล่ (ไทย), บจก. โคคา-โคลา(ประเทศไทย) เป็นต้น
3.ธุรกิจห้างสรรพสินค้า
เป็นอีกธุรกิจยักษ์ใหญ่ที่ดำเนินกิจการในรูปแบบบริษัทซึ่งก็มีขนาดใหญ่มาก อย่าง “กลุ่มเซ็นทรัล” “เดอะมอลล์กรุ๊ป” ที่ต่างก็มีโปรเจคในการขยายธุรกิจของตัวเองในรูปแบบต่างๆ และทั้งกลุ่มเซ็นทรัล รวมถึงเดอะมอลล์กรุ๊ป ก็ยังติดอันดับในกลุ่มมหาเศรษฐีเมืองไทย 20 อันดับแรกด้วย
4.ธุรกิจพลังงาน
ธุรกิจด้านพลังงานมีอยู่หลายรูปแบบทั้งสถานีบริการน้ำมัน , ธุรกิจน้ำมันไบโอดีเซล , ธุรกิจไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน เป็นต้น รูปแบบของธุรกิจด้านพลังงานไม่สามารถทำคนเดียวได้แน่จำเป็นต้องมีพาร์ทเนอร์และผู้ร่วมลงทุน ซึ่งถ้าพูดถึงยักษ์ใหญ่ในเมืองไทยก็ต้องยกให้ ปตท. ซึ่งเป็นแบรนด์เดียวของไทยที่ได้รับการจัดอันดับติดหนึ่งใน 500 แบรนด์แรกของโลก โดยมีมูลค่าแบรนด์สูงกว่า8,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
5.ธุรกิจโรงพยาบาลเอกชน
ภาพจาก freepik.com
การทำธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนเป็นการลงทุนขนาดใหญ่ มีหุ้นส่วนเยอะมาก เพราะเป็นธุรกิจที่เกี่ยวกับสุขภาพชีวิตของประชาชน จึงมีกฎเกณฑ์ข้อกำหนดที่บังคับใช้อย่างเข้มงวด แต่ก็เป็นธุรกิจที่เติบโตและทำกำไรได้ดี ซึ่งนักธุรกิจที่ทำธุรกิจด้านนี้ก็ติดอันดับมหาเศรษฐีในเมืองไทยด้วย
6.ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
การลงทุนหมู่บ้านจัดสรร , คอนโดมิเนียม หรืออพาร์ทเม้น นับเป็นรูปแบบการลงทุนขนาดใหญ่ ต้องใช้หุ้นส่วนเยอะมาก และเป็นธุรกิจที่มีการแข่งขันสูงสอดคล้องกับศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ที่ระบุว่า กำลังซื้อที่อยู่อาศัยในปี 2567 อยู่ในระดับไม่น้อยกว่า 100,000 หน่วย มูลค่าโดยรวมประมาณ 220,000 ล้านบาท
7.ธุรกิจสินเชื่อ
ภาพจาก freepik.com
ธุรกิจด้านสินเชื่อเป็นการลงทุนที่มีขนาดใหญ่ มีอยู่หลายประเภทเช่น ประกัน, เงินกู้, บัตรกดเงินสด ฯลฯ คาดว่าจะเป็นอีกธุรกิจที่เติบโตได้สูงมาก ถ้าดูจากตัวเลขของแต่ละสถาบันการเงินอัตราสินเชื่อขยับตัวเพิ่มสูงขึ้นมาก ไม่นับรวมด้านสินเชื่อที่แตกไลน์ออกมาเป็นบริษัทย่อยๆ ในเครือสถาบันการเงินต่างๆ ที่ตอนนี้มีเยอะมาก
8.ธุรกิจขนส่งมวลชน
ภาพจาก
ธุรกิจนี้เป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่มีความเกี่ยวข้องกับภาครัฐ การขนส่งมวลชนไม่ใช่สิ่งที่ใครก็ทำได้ จะต้องได้รับอนุญาติ อีกทั้งยังต้องมีความรู้ที่มากพอในรูปแบบการขนส่งนั้นๆ อีกด้วย และแน่นอนว่าเป็นธุรกิจที่มีหุ้นส่วนเยอะมาก และเป็นธุรกิจที่สร้างรายได้มหาศาล
9.ธุรกิจสื่อโทรทัศน์วิทยุ
แม้ในปัจจุบันสื่อโซเชี่ยลจะมีบทบาทมากขึ้นแต่ธุรกิจสื่อโทรทัศน์ก็ยังเติบโต โดยมีกลุ่มลูกค้าแตกต่างกันไปตามช่องทาง ในแต่ละสถานีโทรทัศน์หรือวิทยุ และเป็นธุรกิจทำคนเดียว รวยคนเดียวไม่ได้แน่ ต้องมีหุ้นส่วนที่ต้องช่วยกันบริหารจัดการ เพราะมีเงื่อนไขและข้อจำกัดที่บังคับใช้เยอะมาก คนทำธุรกิจนี้จำเป็นต้องมีทักษะมีประสบการณ์ที่สูงมาก
10.ธุรกิจผลิตภัณฑ์ทั่วไป
ในที่นี้หมายถึงสินค้าทั่วไปที่ใช้งานกันในชีวิตประจำวันอาจเป็นได้หลายอย่างเช่น นำยาล้างจาน, ไม้ถูพื้น, เสื้อผ้า ฯลฯ เป็นธุรกิจที่มีการแข่งแข่งขันทางการตลาดสูงมาก การทำธุรกิจนี้จึงต้องอาศัยหุ้นส่วนที่มีความรู้ความสามารถในการช่วยกันสร้างธุรกิจให้เติบโต
11.ธุรกิจด้านการท่องเที่ยว
ธุรกิจด้านการท่องเที่ยวมีหลายรูปแบบทั้งบริษัททัวร์ , โรงแรมที่พัก ฯลฯ คาดการณ์ว่าในปี 2567 รายได้ของธุรกิจโรงแรมและที่พักน่าจะมีมูลค่าประมาณ 9.5 แสนล้านบาท ซึ่งธุรกิจนี้ภาครัฐให้ความสำคัญและเป็นรายได้สำคัญของประเทศ การลงทุนจึงต้องมีความชำนาญมีวิสัยทัศน์ เป็นธุรกิจขนาดใหญ่ที่ต้องมีหุ้นส่วนที่มีความรู้ความสามารถเพื่อสร้างธุรกิจให้เติบโตได้มากที่สุด
12.ธุรกิจ E-Commerce
ภาพจาก https://shopee.co.th
ธุรกิจ E-commerce เป็นธุรกิจการค้าปลีกออนไลน์ ผ่านช่องทางการค้าต่างๆ เช่น Shopee, Lazada และ Kaidee เป็นต้น อัตราการเติบโตในธุรกิจสูงมาก และเนื่องจากเป็นธุรกิจที่มีความซับซ้อนจึงไม่อาจลงทุนคนเดียวแต่ต้องมีพาร์ทเนอร์ในการลงทุนที่เยอะมาก โดยคาดว่าในปี 2567 ธุรกิจ E-commerce จะมีมูลค่าแตะ 7 แสนล้านบาท
13.ธุรกิจโลจิสติกส์ (Logistics)
ภาพจาก freepik.com
ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับระบบการจัดส่งสินค้ารวมไปถึงการบริหารสินค้าในคลัง และการจัดการบรรจุภัณฑ์ เป็นธุรกิจที่เติบโตสอดคล้องกับธุรกิจ E-commerce ที่คนหันมาซื้อ-ขายออนไลน์กันมากขึ้น ซึ่งต้องอาศัยการส่งสินค้าผ่านระบบขนส่งต่างๆ ทำให้ธุรกิจโลจิสติกส์ถือเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่น่าลงทุนในอนาคต และธุรกิจนี้มีขนาดใหญ่จำเป็นต้องใช้หุ้นส่วนเยอะเช่นกัน
14.ธุรกิจด้านการผลิตรถยนต์
ภาพจาก freepik.com
ปัจจุบันธุรกิจด้านยานยนต์ยังเติบโตแม้จะมีเทรนด์รถอีวีที่มาแรง แต่ธุรกิจนี้ก็มีการพัฒนาตัวเองให้รับมือได้ และด้วยการเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ที่ต้องใช้กำลังคน ใช้ทักษะ และประสบการณ์ เป็นตลาดแข่งขันที่ใหญ่มาก คนที่จะทำธุรกิจนี้ไม่สามารถเริ่มต้นได้ด้วยตัวคนเดียว ต้องใช้พาร์ทเนอร์และหุ้นส่วนที่ร่วมกันทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ
15.ธุรกิจร้านทอง
ราคาทองคำที่พุ่งสูงขึ้นต่อเนื่อง ใครๆก็อยากเปิดร้านทอง แต่ใช่ว่าใครนึกจะทำก็ทำได้ เนื่องจากเป็นการลงทุนที่สูงและมีความเสี่ยงสูง รวมถึงราคาทองในตลาดก็มีความผันผวน ต้องมีทักษะในการลงทุนสูงมาก คนที่ต้องการทำธุรกิจนี้จึงจำเป็นต้องมีหุ้นส่วนเพื่อสนับสนุนในการทำกิจการให้เติบได้อย่างมีประสิทธิภาพ
16.ธุรกิจด้านจัดทำคอนเทนต์ / อีเว้นท์
สิ่งสำคัญของธุรกิจนี้คือคอนเนคชันที่ต้องมีพาร์ทเนอร์เยอะมาก เป็นธุรกิจที่ต้องมีหุ้นส่วนร่วมด้วยแน่นอน ซึ่งปัจจุบันรูปแบบของการจัดทำคอนเทนต์หรืออีเว้นท์ ก็ต้องให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วโดยธุรกิจคาดว่าในปี 2567 จะมีมูลค่ากว่า 15,000 ล้านบาท
17.ธุรกิจตลาดนัด
การทำตลาดนัดสักแห่งต้องมีพาร์ทเนอร์และหุ้นส่วนมากพอสมควร รวมถึงเงินทุนก็ค่อนข้างสูง ยิ่งเป็นตลาดนัดขนาดใหญ่ พื้นที่ตลาดกว้างขวาง ต้องมีระบบบริหารจัดการในตลาด การรักษาความปลอดภัย รวมถึงยังเป็นธุรกิจที่รู้จักการส่งเสริมด้านการตลาดเป็นอย่างดีให้ดึงดูดทั้งพ่อค้าแม่ค้าและคนที่จะเข้ามาจับจ่ายใช้สอย
18.ธุรกิจด้านความงามและการดูแลสุขภาพ
ตลาดสินค้าความงามในประเทศปี 2567 คาดว่ามีมูลค่ากว่า 32,551 ล้านบาท และเป็นธุรกิจที่มีการแข่งขันสูง ผู้ประกอบการต้องมีหุ้นส่วนและพาร์ทเนอร์ในการร่วมกันบริหารจัดการ ซึ่งมีปัจจัยที่เกี่ยวเนื่องกับความสำเร็จหลายประการ ทั้งเรื่องคุณภาพสินค้า / บริการ การส่งเสริมด้านการตลาด เป็นต้น
19.ธุรกิจโรงงาน
ภาพจาก freepik.com
การลงทุนทำธุรกิจโรงงานเพื่อผลิตสินค้าต่างๆ ในไตรมาสแรกของปี 2567 มีมูลค่าการจัดตั้งรวมกว่า 70,000 ล้านบาทสะท้อนถึงการลงทุนในภาคอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่การทำธุรกิจโรงงานก็ต้องมีหุ้นส่วนจำนวนมาก รวมถึงต้องมีระบบการบริหารจัดการ มีประสบการณ์ในธุรกิจนี้มากพอ เพื่อให้แข่งขันกับคู่แข่งที่มีจำนวนมากได้
20.ธุรกิจแฟรนไชส์ (ขนาดใหญ่)
การลงทุนแฟรนไชส์มีหลากหลายรูปแบบ การลงทุนที่ต้องมีหุ้นส่วนอาจเป็นการลงทุนแฟรนไชส์ขนาดใหญ่ใช้เงินทุนหลักล้านขึ้นไป ข้อดีของการลงทุนแฟรนไชส์คือมีระบบบริหารจัดการมาให้พร้อม มีฐานลูกค้า มีทีมงานคอยให้คำปรึกษา ซึ่งก็มีหลายแฟรนไชส์ให้เลือกได้ตามต้องการทั้งแฟรนไชส์อาหาร เครื่องดื่ม บริการ การศึกษา ค้าปลีก เป็นต้น
การลงทุนในธุรกิจขนาดใหญ่ เงินลงทุนก็ต้องมากตาม การบริหารงานก็ต้องมีความซับซ้อนมากขึ้น ไม่สามารถทำคนเดียวได้ การมีหุ้นส่วนก็เพื่อให้การทำธุรกิจเติบโตได้รวดเร็ว เหนือสิ่งอื่นใด การลงทุนธุรกิจขนาดใหญ่ก็จำเป็นต้องมีแผนสำรองเผื่อในกรณีฉุกเฉินไว้ด้วย
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
อ้างอิงจาก คลิกที่นี่
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)