20 คุณสมบัติของธุรกิจที่น่าทำแฟรนไชส์
เจ้าของธุรกิจที่อยากรวยด้วยการขายแฟรนไชส์ ก่อนอื่นต้องทำการเช็คลิสต์ธุรกิจของตัวเองอย่างละเอียดว่ามีคุณสมบัติข้อใดข้อหนึ่งขาดตกไปหรือไม่ หากขาดต้องทำการปรุงแก้ไข เพื่อให้ธุรกิจที่ขายแฟรนไชส์ไปมีการดำเนินงานที่ราบรื่น สร้างความสำเร็จให้ทั้งเจ้าของแบรนด์แฟรนไชส์และผู้ซื้อแฟรนไชส์
ถ้าถามว่าธุรกิจที่เหมาะสำหรับขายแฟรนไชส์ควรมีคุณสมบัติอย่างไร วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com มีข้อมูลมานำเสนอให้ทราบ
1.ธุรกิจยังดำเนินกิจการอยู่
ธุรกิจที่ไม่มีตัวตน ไม่มีสินค้าและบริการ รวมถึงไม่มีที่อยู่และสถานที่ตั้งแน่นอน ไม่เหมาะที่จะขายแฟรนไชส์ เพราะอาจเป็นการเข้าข่ายหลอกลวง หรือแชร์ลูกโซ่ ธุรกิจที่จะขายแฟรนไชส์ต้องมีหน้าร้าน มีสินค้า และดำเนินกิจการอยู่จริงๆ
2.ธุรกิจมีสินค้าและบริการดี
สินค้าและบริการดี มีคุณภาพมาตรฐาน รสชาติอร่อย ตอบโจทย์ลูกค้าในวงกว้าง จะได้รับความสนใจจากผู้ซื้อแฟรนไชส์ เหมือนแฟรนไชส์ธุรกิจห้าดาว หรือ 7-Eleven แม้จะเปิดสาขาต่างพื้นที่แต่สินค้าตอบโจทย์ จึงทำให้มีคนสนใจแฟรนไชส์
3.ธุรกิจมีตราสินค้าและบริการ
ธุรกิจที่ไม่มีโลกโก้หรือตราสินค้าไม่ควรที่จะนำมาขายแฟรนไชส์ เพราะหากสินค้าและบริการของคุณขายดี ธุรกิจมีการเติบโต อาจถูกคนอื่นลอกเลียนแบบได้ หรือนำตราสินค้าไปจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าก่อน ทำให้คุณเสียเปรียบได้
4.ธุรกิจมียอดขายและกำไร
ธุรกิจที่มียอดขายดี กำไรงาม ไม่ขาดทุน จะดึงดูดให้คนสนใจซื้อแฟรนไชส์ได้มากขึ้น ซึ่งกำไรอย่างน้อยต้องมากกว่า 2-3 หมื่นบาทต่อเดือน หากกำไรต่ำกว่า 1 หมื่นบาท ธุรกิจอาจไปไม่รอด เพราะผู้ซื้อแฟรนไชส์ไปอาจรู้สึกว่าไม่เจริญก้าวหน้า
5.ธุรกิจไม่เป็นกระแส วงจรสั้น
ธุรกิจที่เป็นกระแส หรือสินค้ากระแส วงจรสั้นๆ มาเร็วมักจะไปไว เหมือนเช่นกรณีของโรตีบอยถือเป็นสินค้ากระแสในช่วงแรกๆ คนอยากกินต้องต่อคิวเป็นชั่วโมง แต่เวลาผ่านไปไม่นาน ไปไม่รอด เพราะมีแบรนด์อื่นๆ ทำออกมาได้ดีกว่า
6.ธุรกิจดำเนินกิจการหลายปี
ธุรกิจที่เหมาะสำหรับทำแฟรนไชส์ต้องมีการดำเนินงานมาไม่น้อยกว่า 4-5 ปี เพราะจะทำให้คุณมีประสบการณ์ในการแก้ปัญหาและมีความแม่นยำในระบบการจัดการธุรกิจ อีกทั้งยังทำให้รู้ว่าการดำเนินธุรกิจที่ผ่านมามีข้อผิดพลาดอะไรบ้าง
7.ธุรกิจมีระบบการจัดการดี
ไม่ว่าระบบบัญชี การชำระเงิน ระบบจัดซื้อ ระบบการขาย ระบบสต็อกสินค้า ระบบวางแผนการผลิต ระบบการขนส่ง ซึ่งระบบการทำงานเหล่านี้จะต้องไม่ซับซ้อน ล่าช้า และเกิดความผิดพลาดน้อยที่สุด แต่ละสาขาต้องมีมาตรฐานเดียวกัน
8.ธุรกิจมีสาขามากกว่า 1 แห่ง
ธุรกิจที่มีสาขามากกว่า 1 แห่งจะช่วยให้คุณได้รู้ว่ายอดขายและกำไรของแต่ละสาขามีมากน้อยแค่ไหน ยิ่งขยายสาขาเองเยอะยิ่งดี ถ้าแต่ละสาขามียอดขายและกำไรไม่ต่างกันมาก คุณก็จะการันตีกับผู้ซื้อแฟรนไชส์ได้ว่าซื้อไปแล้วสำเร็จแน่นอน
9.ธุรกิจเปิดสาขาพื้นที่ต่างกัน
หากธุรกิจคุณมี 3 สาขา แต่ละสาขาจะต้องเปิดร้านในพื้นที่ต่างกัน เช่น สาขาแรกใต้ตึก สาขาที่สองปั้มน้ำมัน สาขาที่สามหน้าหมู่บ้าน เพื่อจะดูว่าแต่ละสาขามีปัญหาอะไรเกิดขึ้นบ้าง ซึ่งจะทำให้คุณมีประสบการณ์และทักษะในการหามาตรการแก้ปัญหาและบริการจัดการร้านในแต่ละพื้นที่ที่ไม่เหมือนกัน เพื่อถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์ได้ปฏิบัติตาม
10.ธุรกิจถ่ายทอดระบบได้ง่าย
ธุรกิจที่จะขายแฟรนไชส์จะต้องถ่ายทอดระบบ ขั้นตอนการทำงาน ขั้นตอนการผลิตต่างๆ ให้กับผู้ซื้อแฟรนไชส์ได้ ไม่ใช่ธุรกิจที่เจ้าของแฟรนไชส์ทำเป็นแต่เพียงผู้เดียว หากคิดว่าธุรกิจสอนให้คนทำแบบตัวเองไม่ได้ก็ไม่เหมาะทำแฟรนไชส์
11.ธุรกิจไม่ได้ใช้พรสวรรค์
ธุรกิจที่เป็นพรสวรรค์สำหรับเจ้าของกิจการ หรือธุรกิจที่เจ้าของกิจการทำได้เพียงคนเดียว ไม่เหมาะสำหรับทำแฟรนไชส์อย่างแน่นอน เพราะระบบแฟรนไชส์ต้องถ่ายทอดการทำงานหรือระบบธุรกิจที่ประสบความสำเร็จให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์ได้
12.ธุรกิจลอกเลียนแบบได้ยาก
แม้ว่าธุรกิจของคุณจะขายดิบขายดี ได้รับความนิยมจากลูกค้า แต่อยู่มาวันหนึ่งลูกค้าที่มาซื้อจากร้านของคุณ กลับไปทำแบบเดียวกัน และมาเปิดร้านใกล้ๆ กัน หากรสชาติดีกว่าหรือไม่ต่างกัน คุณก็จะต้องมีคู่แข่ง และธุรกิจอาจอยู่ได้ไม่นาน
13.ธุรกิจมีจุดเด่นและแตกต่าง
ถ้าคุณเปิดร้านขายข้าวมันไก่อยู่ในพื้นที่ที่มีคู่แข่งอีก 2-3 ร้าน หากร้านของคุณขายดีกว่า 3 ร้านในพื้นที่เดียวกัน แสดงว่าร้านของคุณมีจุดเด่นและแตกต่างจากคู่แข่งแล้ว อาจเป็นเพราะรสชาติอร่อยที่ไม่เหมือนใคร อีกทั้งราคาไม่แพง
14.ธุรกิจมีรูปแบบหรือโมเดลร้าน
ธุรกิจที่จะทำแฟรนไชส์ต้องมีระบบแฟรนไชส์ที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยเฉพาะรูปแบบหรือโมเดลของร้านจะต้องเหมือนกัน ตกแต่งเหมือนกัน ขนาดเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นคีออส เคาน์เตอร์ รถเข็น หรือร้านเต็มรูปแบบ
15.ธุรกิจมีฐานกลุ่มลูกค้าชัดเจน
ธุรกิจที่เหมาะทำแฟรนไชส์ควรมีฐานกลุ่มลุกค้าแน่นอน ไม่ว่าจะเป็นนักเรียน นักศึกษา วัยรุ่น วัยทำงาน หรือจะเป็นเด็ก ผู้หญิง ผู้ชาย หรือธุรกิจนั้นสามารถใช้บริการได้ทุกเพศทุกวัย หรือจะเป็นกลุ่มลูกค้าคนไทย หรือต่างชาติ
16.ธุรกิจมีแบรนด์เป็นที่รู้จัก
นอกจากตราสินค้าจะเป็นที่รู้จักแล้ว ก่อนทำแฟรนไชส์แบรนด์ธุรกิจก็จะต้องมีความแข็งแกร่งเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย ยิ่งแบรนด์ไหนคนรู้จักทั้งในประเทศและต่างประเทศ เหมาะสมอย่างยิ่งที่จะขายแฟรนไชส์ เหมือนกรณี เคเอฟซี แมคโดนัลด์
17.ธุรกิจมีการแข่งขันไม่สูง
ธุรกิจที่มีคู่แข่งน้อย สินค้าและบริการได้รับความนิยมจากผู้บริโภค เหมาะสำหรับการทำแฟรนไชส์ แต่ถ้าธุรกิจของคุณมีร้านค้าประเภทเดียวกันจำนวนมาก ไม่เหมาะทำแฟรนไชส์ เพราะอาจอยู่ได้ไม่ยืนยาว ถ้าร้านของคุณไม่มีจุดเด่นและแตกต่างจากคู่แข่งในธุรกิจเดียวกัน สังเกตหรือไม่ว่าในตอนนี้ร้านชาราคาเดียว 25 บาท แทบจะไม่มีให้เห็นเกลื่อนตาแล้ว
18.ธุรกิจมีทีมงานและบุคลากร
ธุรกิจของคุณหากจะทำแฟรนไชส์ควรมีทีมงานหรือบุคลากรอย่างน้อย 2-3 คนในช่วงเริ่มแรก เพราะทีมงานเหล่านี้อาจจำเป็นต้องเข้าคอร์สอบรมเรื่องแฟรนไชส์พร้อมๆ กับคุณ เพื่อที่จะสามารถทำงานหรือบริการจัดการภายในร้านแทนคุณได้ รวมถึงเมื่อขายแฟรไชส์ได้แล้วอาจจะต้องใช้ทีมงานเหล่านี้ ออกไปฝึกอบรมการทำงานให้กับผู้ซื้อแฟรนไชส์
19.ธุรกิจมีระบบจัดส่งแข็งแกร่ง
ถือว่ามีความสำคัญอยู่ไม่น้อยหากคุณคิดจะนำธุรกิจเข้าสู่ระบบแฟรนไชส์ เพราะคุณจะต้องจัดส่งสินค้าหรือวัตถุดิบให้กับสาขาแฟรนไชส์แต่ละสาขา หากธุรกิจคุณขายดีมีสาขาทั่วประเทศ ยิ่งจะต้องมีระบบการขนส่งที่แข็งแกร่งมีประสิทธิภาพ สามารถจัดส่งสินค้าหรือวัตถุดิบให้กับแฟรนไชส์ซีแต่ละสาขาทั่วประเทศได้ทันเวลา
20.ธุรกิจลงทุนไม่สูงเกินไป
ธุรกิจแฟรนไชส์แบรนด์ไทยแท้ในปัจจุบันส่วนใหญ่จะใช้เงินลงทุนทั้งหมดไม่เกิน 2-3 ล้านบาท ซึ่งรวมค่าแฟรนไขส์แรกเข้า ค่าออกแบบตกแต่งร้าน และอื่นๆ ซึ่งธุรกิจแฟรนไชส์เหล่านี้จะมีระบบต่างๆ ที่เป็นมาตรฐาน ผู้ซื้อแฟรนไชส์จะได้รับการช่วยเหลือและสนับสนุนการดำเนินธุรกิจจากเจ้าของแฟรนไชส์ตลอดอายุสัญญา ส่วนแฟรนไชส์ลงทุนต่ำหลักพัน หลักหมื่น คืนทุนเร็ว พอซื้อแฟรนไชส์ไปทำได้สักพักก็ไปไม่รอด เพราะได้กำไรน้อย บางครั้งสินค้าและบริการมีคู่แข่งมากมาย
นั่นคือ 20 คุณสมบัติ ของธุรกิจที่เหมาะสำหรับทำแฟรนไชส์ ใครที่อยากจะขายแฟรนไชส์ลองเช็คลิสต์ธุรกิจของตัวเองให้ดีก่อนว่า มีคุณสมบัติขาดไปข้อไหนบ้าง หากขาดต้องรีบแก้ไขจัดการ หรืออาจหาที่ปรึกษามาช่วยเหลือก็ได้ครับ
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/335phDi
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter
Franchise Tips
- ธุรกิจยังดำเนินกิจการอยู่
- ธุรกิจมีสินค้าและบริการดี
- ธุรกิจมีตราสินค้าและบริการ
- ธุรกิจมียอดขายและกำไร
- ธุรกิจไม่เป็นกระแส วงจรสั้น
- ธุรกิจดำเนินกิจการหลายปี
- ธุรกิจมีระบบการจัดการดี
- ธุรกิจมีสาขามากกว่า 1 แห่ง
- ธุรกิจเปิดสาขาพื้นที่ต่างกัน
- ธุรกิจถ่ายทอดระบบได้ง่าย
- ธุรกิจไม่ได้ใช้พรสวรรค์
- ธุรกิจลอกเลียนแบบได้ยาก
- ธุรกิจมีจุดเด่นและแตกต่าง
- ธุรกิจมีรูปแบบหรือโมเดลร้าน
- ธุรกิจมีฐานกลุ่มลูกค้าชัดเจน
- ธุรกิจมีแบรนด์เป็นที่รู้จัก
- ธุรกิจมีการแข่งขันไม่สูง
- ธุรกิจมีทีมงานและบุคลากร
- ธุรกิจมีระบบจัดส่งแข็งแกร่ง
- ธุรกิจลงทุนไม่สูงเกินไป
อ้างอิงจาก https://bit.ly/3Pf72ys
8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์
1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์
- กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
- ชื่อกิจการ (Brand)
- การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
- การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
- การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
- การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
- การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
- การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
- การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์
2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ
- ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
- ระบบการเงิน การบัญชี
- งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
- รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
- ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
- กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ
3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์
- ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
- แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
- สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
- เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
- มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
- มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
- ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
- แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี
4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์
- กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
- การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
- สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
- การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
- เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ
5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายแฟรนไชส์
- ระบบการเงิน
- ค่าธรรมเนียมต่างๆ
- ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
- การจดทะเบียนแฟรนไชส์
- เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
- ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
- การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
- แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
- การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
- การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า
6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น
7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
- พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
- ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
- การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
- เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
- จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์
8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์
- การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
- กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
- กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
- การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
- การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
- การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
- กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
- กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้