16 แฟรนไชส์ทำกำไรมากที่สุดในอเมริกา น่าลงทุน ปี 2567

หนึ่งในปัจจัยสำคัญในการเลือกซื้อหรือลงทุนแฟรนไชส์ คือ ยอดขายและผลกำไร มีหลักการพิจารณาจากหลายองค์ประกอบ อาทิ ค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์และงบลงทุนเริ่มต้น ชื่อเสียงแบรนด์ ยอดขายและกำไร ระบบการช่วยเหลือและสนับสนุน เทรนด์และความต้องการของตลาด ทำเลที่ตั้งร้าน การแข่งขันและโอกาสของธุรกิจแฟรนไชส์ มาดูกันว่าในสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นต้นกำเนิดแฟรนไชส์โลก มีธุรกิจแฟรนไชส์แบรนด์ไหนบ้างน่าลงทุน และมีโอกาสทำกำไรมากที่สุด

1. Anytime Fitness

ภาพจาก facebook.com/anytimefitness

แฟรนไชส์ฟิตเนสยอดนิยมในสหรัฐอเมริกา ใช้เงินลงทุนต่ำ แต่มีศักยภาพในการสร้างรายได้สูง ที่ผ่านมาสามารถสร้างรายได้หลายพันล้านดอลลาร์สหรัฐทั่วโลก รายได้ส่วนใหญ่มาจากค่าสมาชิกรายเดือน รวมถึงรายได้จากการ Training ส่วนบุคคล เงินลงทุนแฟรนไชส์เริ่มแรกอยู่ที่ 381,575-783,897 ดอลลาร์สหรัฐ

2. McDonald’s

ภาพจาก https://citly.me/70u25

แฟรนไชส์ฟาสต์ฟู้ดที่มีสาขาทั่วโลกมากกว่า 3 หมื่นสาขา เป็นที่ยอมรับของนักลงทุนมากที่สุดในธุรกิจแฟรนไชส์ฟาสต์ฟู้ด มีชื่อเสียงโด่งดัง และมีฐานกลุ่มลูกค้าเหนียวแน่น มีโอกาสที่จะสร้างรายได้อันดับต้นๆ ลงทุนเปิดร้านแล้วมีฐานลูกค้ารองรับ เพราะแบรนด์มีระบบการสนับสนุนที่ดี ใช้เงินลงทุนเริ่มแรกอยู่ที่ 464,500-2,306,500 ดอลลาร์สหรัฐ

3. UPS Store

ภาพจาก theupsstore.com

แฟรนไชส์ค้าปลีกให้บริการจัดส่งพัสดุ งานพิมพ์ และบริการรับชำระค่าใช้บริการสาธารณูปโภคต่างๆ ในชุมชน เป็นลักษณะให้บริการครบวงจรในที่เดียวเหมือนในไทย เป็นแฟรนไชส์ใช้พื้นที่และพนักงานน้อย ทำให้ต้นทุนค่าใช้จ่ายต่างๆ ต่ำ มีโอกาสที่จะสร้างกำไรได้รวดเร็ว ใช้เงินลงทุนเริ่มต้น 240,956 ดอลลาร์สหรัฐ

4. Jersey Mike’s Subs

ภาพจาก https://citly.me/vBGge

แฟรนไชส์ขายแซนด์วิชที่มีลักษณะเดียวกับ Subway สามารถร้านด้วยโมเดลร้านที่ไม่ใหญ่มากก็ได้ ใช้พื้นที่ขนาดเล็ก ทำให้ต้นทุนการดำเนินธุรกิจต่ำ เป็นหนึ่งในแฟรนไชส์อาหารที่เติบโตเร็วที่สุดในอเมริกา ใช้พนักงานน้อย ทำให้มีโอกาสสร้างกำไรได้รวดเร็ว ใช้เงินลงทุนเริ่มแรก 144,668-786,233 ดอลลาร์สหรัฐ

5. Dunkin’

ภาพจาก https://citly.me/TWliy

แฟรนไชส์โดนัทและกาแฟ รวมถึงอาหารเช้าหลากหลายในอเมริกา ขยายสาขาไปทั่วโลก แต่ละเมนูมีต้นทุนค่อนข้างต่ำ ช่วยให้มีอัตรากำไรสูง ใช้พื้นที่ขนาดเล็กในการตั้งร้าน หรือเปิดรวมกับแบรนด์อื่นได้ ใช้เงินลงทุนเริ่มแรก 526,900-1,800,000 ดอลลาร์สหรัฐ

6. Sport Clips

ภาพจาก facebook.com/SportClipsHaircuts

แฟรนไชส์ร้านตัดผมสำหรับผู้ชาย ถือเป็นแบรนด์ชั้นนำมีชื่อเสียงและได้รับความนิยมในอเมริกา รูปแบบของร้านมีขนาดเล็ก ใช้พื้นที่น้อย ไม่ต้องใช้อุปกรณ์ขนาดใหญ่ ลูกค้าใช้บริการบ่อย เป็นธุรกิจที่มีการใช้บริการหรือซื้อซ้ำอยู่บ่อยๆ ช่วยให้มีรายได้ค่อนข้างดี ใช้เงินลงทุนเริ่มแรก 266,300-439,500 ดอลลาร์สหรัฐ

7. 7-Eleven

ภาพจาก https://citly.me/fLOND

แฟรนไชส์ค้าปลีกร้านสะดวกซื้อที่มีชื่อเสียงทั่วโลก จำหน่ายสินค้าและบริการหลากหลาย ทั้งสินค้าอุปโภค-บริการ บริการทางเงิน และอื่นๆ สอดคล้องกับการใช้ชีวิตประจำวันของผู้บริโภค เป็นธุรกิจแฟรนไชส์ที่สร้างกำไรให้กับผู้ลงทุนได้เร็ว ถ้าตั้งอยู่แหล่งคนพลุกพล่านที่อยู่อาศัยของผู้คน ใช้เงินลงทุนเริ่มแรก 139,000 – 1,400,000 ดอลลาร์สหรัฐ

8. Papa John’s

ภาพจาก https://citly.me/OgeAl

แฟรนไชส์ฟาสต์ฟู้ดในกลุ่มพิซซ่าที่ได้รับความนิยมในสหรัฐอเมริกา ประสบความสำเร็จอย่างมาก มีสาขามากกว่า 5,968 แห่งทั่วโลก ผู้ลงทุนสามารถเปิดร้านในพื้นที่ขาดเล็กได้ ใช้พนักงานน้อย ทำให้อัตรากำไรสูง ใช้เงินลงทุนเริ่มแรก 130,120-844,420 ดอลลาร์สหรัฐ

9. Mathnasium

ภาพจาก www.mathnasium.com

แฟรนไชส์การศึกษา สถาบันกวดวิชาสำหรับเด็ก มีความเชี่ยวชาญด้านการสอนคณิตศาสตร์ ได้รับความนิยมอย่างมากในช่วงไม่กี่ที่ผ่านมา มีโอกาสสร้างรายได้อย่างรวดเร็ว ใช้เงินลงทุนเริ่มแรก 112,860-148,655 ดอลลาร์สหรัฐ

10. JAN-PRO

ภาพจาก facebook.com/JANPROinternational

แฟรนไชส์ทำความสะอาดบ้าน อาคารสำนักงานออฟฟิศ ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องในสหรัฐอเมริกา เป็นอีกหนึ่งแฟรนไชส์ที่ทำกำไรได้ดีในช่วงการระบาดโควิด-19 และมีแนวโน้มจะได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นทุกๆ ปี ประชาชนให้ความสำคัญในเรื่องสุขภาพและอนามัยมากขึ้น ใช้เงินลงทุนเริ่มแรกต่ำ 1,250-50,000 ดอลลาร์สหรัฐ

11. Dream Vacations

ภาพจาก facebook.com/OfficialDreamVacations

แฟรนไชส์ตัวแทนการท่องเที่ยว รับจองตั๋วเครื่องบิน ที่พักโรงแรม แม้ดูเหมือนว่าจะเป็นธุรกิจที่ได้รับผลกระทบอย่างมากในช่วงการระบาดโควิด-19 แต่หลังจากวิกฤตคลี่คลายลง ธุรกิจด้านการท่องเที่ยวกลับมาบูมอีกครั้ง ส่งผลให้การเดินทางท่องเที่ยวมีเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง แฟรนไชส์นี้จึงมีโอกาสทำกำไรได้อีกมาก ใช้เงินลงทุนเริ่มแรก 10,000 ดอลลาร์สหรัฐ

12. Jazzercise

ภาพจาก facebook.com/Jazzercise

แฟรนไชส์ฟิตเนสออกกำลังกายในลักษณะของการเต้น กำลังได้รับความนิยมอย่างมากในอเมริกา หลายๆ คนให้ความสำคัญกับสุขภาพร่างกายมากขึ้น หันมาทานอาหารเกี่ยวกับสุขภาพ พร้อมกับออกกำลังกายมากขึ้น ทำให้แฟรนไชส์นี้มีโอกาสเติบโต ได้รับความนิยมในหมู่วัยหนุ่มสาวมากขึ้น ค่าแฟรนไชส์แรกเข้า 1,250 ดอลลาร์สหรัฐ

13. uBreakiFix

ภาพจาก https://citly.me/wYmSs

แฟรนไชส์จำหน่ายและซ่อมอุปกรณ์โทรศัพท์มือถือ เป็นธุรกิจที่เติบโตอย่างมากในสหรัฐอเมริกา และมีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง เงินลงทุนเริ่มต้นและรายได้จึงแตกต่างกันไปตามประเภทของร้านค้า เบื้องต้นลงทุนตั้งแต่ 98,350-303,000 ดอลลาร์สหรัฐ

14. Taco Bell

ภาพจาก https://citly.me/NkWj7

แฟรนไชส์ฟาสต์ฟู้ด เป็นแฟรนไชส์อาหารสไตล์อเมริกัน ปัจจุบันมีจำนวนสาขามากกว่า 8,320 แห่งทั่วโลก ได้รับความนิยมอย่างมากในกลุ่มผู้บริโภคคนรุ่นใหม่อเมริกา เหมาะสำหรับลงทุนสร้างรายได้ในระยะยาว ลงทุนเริ่มต้น 575,600 – 3,370,100 ดอลลาร์สหรัฐ

15. Merry Maids

ภาพจาก facebook.com/MerryMaids

แฟรนไชส์บริการทำความสะอาดบ้าน สำนักงานออฟฟิศ โรงงาน อีกหนึ่งแฟรนไชส์เหมาะสำหรับสร้างรายได้ในสหรัฐอเมริกา กำลังได้รับความนิยมในบรรดาประชาชนอเมริกัน ทั้งผู้อยู่อาศัยที่บ้าน และผู้ประกอบการธุรกิจต่างๆ จึงเป็นธุรกิจที่มีโอกาสเติบโตสูงมากในอเมริกา ใช้เงินลงทุนเริ่มแรก 94,480 ดอลลาร์สหรัฐ

16. Mac Tools

ภาพจาก facebook.com/MacTools38

แฟรนไชส์จำหน่ายเครื่องมือและอุปกรณ์ช่างจากหน่วยรถบรรทุกเคลื่อนที่ เป็นอีกหนึ่งแฟรนไชส์ที่ได้รับความนิยมอย่างมากในอเมริกา งบการลงทุนและค่าใช้จ่ายเริ่มต้นค่อนข้างต่ำ เปิดโอกาสให้ผู้ลงทุนได้อัตรากำไรสูง บริษัทยังให้การสนับสนุนระบบธุรกิจต่างๆ ช่วยให้ง่ายต่อการดำเนินงาน ตั้งแต่สินค้าคงคลังไปจนถึงถึงเทคโนโลยี ค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ 8,000 ดอลลาร์สหรัฐ ส่วนงบการลงทุนเริ่มแรก 109,000-250,000 ดอลลาร์สหรัฐ

นั่นคือ 16 แฟรนไชส์ทำกำไรมากที่สุดในอเมริกา เป็นแฟรนไชส์น่าลงทุนในปี 2567 ซึ่งใช้หลักการพิจารณาจากชื่อเสียงของแบรนด์ สินค้าและบริการได้รับความนิยมจากผู้บริโภค ระบบบริหารจัดการธุรกิจดีมีมาตรฐาน ช่วยลดความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจได้ การฝึกอบรมและการสนับสนุนแฟรนไชส์ การประหยัดต้นทุนค่าใช้จ่ายในการดำเนินธุรกิจ แนวโน้มและโอกาสของธุรกิจในตลาด และค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์และงบลงทุน

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

แหล่งข้อมูล

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช